svasdssvasds
เนชั่นทีวี

พระราชสำนัก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

05 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ในหลวง รัชกาลที่ 9 เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันพ่อแห่งชาติ และวันชาติ วันที่ 5 ธันวาคม 2564

วันนี้ 5 ธ.ค.64 เวลา 16.35 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเจ้าคุณพระสินีนาฎ พิลาสกัลยาณี ออกจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต เพื่อทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

 

โดยมีคณะกรรมการโครงการอุทยานเฉลิมพระเกียรติ ฯ และประชาชน เฝ้า ฯ รับเสด็จ

 

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัยทรงกราบประทับพระราชอาสน์ทรงศีล(สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกถวายศีล) 

 

จากนั้น เสด็จไปยังมณฑลพิธีวางศิลาฤกษ์ เสด็จ ฯ ไปยังโต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนทอง เทียนเงิน และธูป ที่โต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย แล้วทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวย ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐานถวายเครื่องราชสักการะ ทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ ที่โต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย ทรงคม ทรงพระดำเนินไปยังแท่นวางศิลาฤกษ์ ฯ พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมแผ่นอิฐทอง นาก เงิน และแผ่นศิลาฤกษ์แล้วทรงวางแผ่นอิฐทอง นาก เงินและแผ่นศิลาฤกษ์ ลงในหลุมศิลาฤกษ์  

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

 

 

โดยพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่9 มีสัดส่วนสูง 5.19 เมตร มีขนาดเป็นสามเท่าของพระองค์จริง ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ มีความสูง 18.7 เมตร จากระดับถนนครีอยุธยา ตั้งอยู่ในลานรูปไข่ มีพื้นที่2,173 ตารางเมตร บนเนินสูง 7 เมตร โอบล้อมด้วยสวนป่าผสมผสาน โดยแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่บนผังแปดเหลี่ยม ตามคติพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันเป็นสัญลักษณ์เบื้องแรกแห่งการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

 

 

ต่อมาเสด็จเข้าพลับพลาพิธีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก (พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก) เสด็จ ฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการทรงลาพระสงฆ์

 

เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ไปทอดพระเนตรจัดแสดงผังแม่บทโครงการ แนวคิดหลักการออกแบบโครงการ การจัดเส้นทางการสัญจรในโครงการ และทัศนียภาพในโครงกานิทรรศการอุทยานเฉลิมพระเกียรติ 

 

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

 

 

แล้วเสด็จ ฯ ไปยังบริเวณที่ทรงปลูกต้นไม้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกต้นรวงผึ้งเป็นปฐมฤกษ์ (จำนวน 1 ต้น)อันมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศไทย (พบมากทางภาคเหนือ) ฤดูการออกดอกเดือน ก.ค. – ส.ค. เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 8 เมตร ใบรูปมนรีหรือขอบขนานปลายแหลมขอบใบเรียบ ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตาม ซอกใบ สีเหลืองสด ขนาด 1.3–1.5 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลกลมเป็นแบบแห้งไม่แตก ขนาด 0.5–1 เซนติเมตรใช้ปลูกเป็นไม้ประดับให้กลิ่นหอม

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

 

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงปลูกต้นคำมอกหลวง (จำนวน 1 ต้น) เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ มีความสูง 7-15 เมตรเรือนยอดกลม โปร่ง หรือแผ่กว้าง มีดอกขนาดใหญ่สีขาวนวล แล้วเปลี่ยนเป็นดอก สีเหลืองทอง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีกลิ่นหอม เส้นผ่าศูนย์กลาง ของดอก 5.5-7 เซนติเมตร ปลูกเป็นไม้ประดับใหก้ลิ่นหอม ใช้เมล็ดต้มเคี่ยวกับน้ำผสมเป็นยาสระผมฆ่าเหา

 

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดีกรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงปลูกต้นโมกหลวง (จำนวน 1 ต้น) โมกหลวงเป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนของต้นมีน้ำยาง สีขาว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปรีหรือขอบ ขนาน ปลูกเป็นไม้ประดับใหก้ลิ่นหอม เนื้อไม้สีขาวใช้ทำของใช้ได้เปลือกต้นมีรสขมฝาด มีสารแอลคาลอยด์ที่สำคัญคือ คอเนสซีน (conessine) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้ท้องร่วง

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

 

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงปลูกต้นรัตนพฤกษ์ (คูนสายรุ้ง) (จำนวน 1ต้น) เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร ใบประกอบมี 8-10 คู่ ผลัดใบช่วงสั้น ๆ ในหน้าแล้งและออกดอกทั้งต้นพร้อมผลิใบอ่อน ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อเป็นพวงห้อยลง ดอกขนาด 3.5 -4.5 เซนติเมตร ฝักคล้ายฝักคูน ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้กลิ่นหอม

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

 

และเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ปลูกต้นสุพรรณิการ์ (จำนวน 1  ต้น) เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจแผ่น ใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจาย ที่ปลายกิ่งบานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลมเมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ใบอ่อน นำมาต้มเอาน้ำสระผมและโรคบิด ดอกแห้งและใบแห้งใช้เป็นยาบ้ารุงกำลัง

 

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเจ้าคุณพระสินีนาฎ พิลาสกัลยาณี ไปยังรถยนต์พระที่นั่งประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินออกจากอุทยานเฉลิมพระเกียรติ ฯไปยัง พระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

 

 

อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 9  จากพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ซึ่งทรงตั้งพระราชหฤทัยเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานอุทยานเฉลิมพระเกียรติแห่งนี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แนวตามพระราชดำริของทั้งสองพระองค์ ผ่านองค์ความรู้เรื่อง “ป่าและน้ำ” ซึ่งนำมาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบสวนแห่งนี้ ปอดแห่งใหม่ขนาดใหญ่ใจกลางกรุง

 

อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 9 มีพื้นที่ 279 ไร่ ถือเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่อีกแห่งในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในรองจากสวนลุมพินี และสวนเบญจกิติ โดยพัฒนาแบบตั้งแต่ พ.ศ. 2561 คาดว่าแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2567

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

 

logoline