svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

เบลารุสจะขอให้รัสเซียนำอาวุธนิวเคลียร์มาติดตั้งในประเทศ

01 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้นำเบลารุสออกมาขู่ว่าจะขอให้รัสเซียนำอาวุธนิวเคลียร์กลับเข้ามาในประเทศ หากนาโต้ขออาวุธนิวเคลียร์เข้ามาที่โปแลนด์ ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นกับชาติตะวันตก

ท่ามกลางความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นกับตะวันตก ประธานาธิบดีเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ผู้นำเบลารุสบอกว่ารัสเซียควรนำหัวรบนิวเคลียร์เข้ามาภายในพรมแดนประเทศของเขา หากอาวุธนิวเคลียร์ของกลุ่มนาโต้เคลื่อนตัวมาทางตะวันออก โดยผ่านมาทางโปแลนด์ 

 

ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว อาร์ไอเอ โนวัสติ ของรัสเซียเมื่อวันอังคาร ( 30 พฤศจิกา ยน )  ลูกาเชนโก ขู่ว่าจะเพิ่มอาวุธอันตรายสำหรับการเผชิญหน้าข้ามพรมแดน หากนิวเคลียร์ที่ทำในอเมริกาถูกขยับมายังยุโรปตะวันออกเพิ่มเติม

 

หากเป็นเช่นนั้น ลูกาเชนโกบอกว่า " ผมจะแนะนำให้ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย เอาอาวุธนิวเคลียร์กลับมายังเบลารุส " 

เบลารุสจะขอให้รัสเซียนำอาวุธนิวเคลียร์มาติดตั้งในประเทศ

เขาบอกว่า การฟื้นฟูวิธีการยับยั้งนิวเคลียร์เหนือดินแดนแบบยุคโซเวียตโดยใช้ " อาวุธนิวเคลียร์เหล่านี้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในกรณีเช่นนี้ "

" ผมไม่ได้พูดแบบนี้โดยไม่มีเหตุผล เราพร้อมแล้วสำหรับเรื่องนี้ในดินแดนเบลารุส "

อย่างไรก็ตาม ผู้นำเบลารุส ไม่ได้ระบุประเภทของระบบที่เขาต้องการใช้ และอ้างว่าสิ่งนี้จะเป็นการ "ตกลง" จากทั้งสองฝ่าย

 

คำพูดของผู้นำเบลารุสที่อยู่ในตำแหน่งมาอย่างยาวนาน มีขึ้นหลังจากนายเจนส์ สตอลเทนเบิร์ก ผู้นำกลุ่มทางทหารอย่างนาโต้ ที่นำโดยสหรัฐฯ ได้ออกมาแสดงความกังวลเมื่อต้นเดือนนี้ว่ารัฐบาลใหม่ของเยอรมนีอาจปฏิเสธที่จะซื้อฝูงบินใหม่ที่มีความสามารถในการยิงอาวุธนิวเคลียร์ เมื่อนายกรัฐมนตรีแองเกลา แมร์เคิล ลงจากตำแหน่ง

 

สตอลเทนเบิร์ก บอกว่านิวเคลียร์ของนาโต้ " ทำให้พันธมิตรยุโรปมีร่มป้องกันนิวเคลียร์ที่มีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าสิ่งนี้รวมถึงพันธมิตรทางตะวันออกของเราด้วย และพวกมันเป็นสัญญาณที่สำคัญของความสามัคคีของพันธมิตรในการต่อต้านศัตรูที่ติดอาวุธนิวเคลียร์ " เขาบอกว่าแผนการส่งอาวุธเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากการคุกคามจากรัสเซีย

 

ข้อเสนอของสตอลเทนเบิร์กก่อให้เกิดความโกรธเคืองในเครมลิน อเล็กซานเดอร์ กรุชโก รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซียบอกว่าคำพูดของผู้นำนาโต้คุกคามข้อตกลงสันติภาพที่ลงนามระหว่างทั้งสองฝ่าย อย่างข้อตกลงพื้นฐานว่าด้วยความสัมพันธ์ ความร่วมมือและความมั่นคงร่วมกัน ซึ่งลงนามระหว่างรัสเซียและกลุ่มที่นำโดยสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540 

เบลารุสจะขอให้รัสเซียนำอาวุธนิวเคลียร์มาติดตั้งในประเทศ

 

ภายใต้ข้อตกลงนี้ มอสโกและนาโต้ไม่ถือว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามของกันและกัน ขณะที่เอกสารที่แยกต่างหาก มีการสัญญาว่าจะไม่ตั้งสถานีอาวุธนิวเคลียร์ในอาณาเขตของสมาชิกใหม่ของกลุ่มนาโต้ นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป

 

ความเป็นไปได้ของกลุ่มนาโต้ ที่จะนำหัวรบนิวเคลียร์เข้ามาใกล้กับรัสเซียนั้นเป็นประเด็นความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาอำนาจมาช้านาน  อย่างปีที่แล้ว เซรเก เรียบกอฟ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซียก็บอกว่ามอสโกหวังว่าสหรัฐฯ จะหยุด " แบ่งปัน " อาวุธนิวเคลียร์กับพันธมิตรของสหรัฐ 

 

ปัจจุบัน เบลารุสถูกล็อคอยู่ในการทะเลาะเบาะแว้งที่เลวร้ายยิ่งขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างโปแลนด์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางจำนวนผู้อพยพที่พยายามจะข้ามพรมแดนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สหภาพยุโรปกล่าวหาว่ามินสค์ขนผู้คนจากประเทศที่มีปัญหา เช่น อิรักและซีเรีย ก่อนที่จะบังคับให้ผู้คนที่สิ้นหวัง โจมตีรั้วที่พรมแดน เพื่อกดดันสหภาพยุโรปที่ทำการคว่ำบาตรเบลารุส

 

เมื่อต้นเดือนนี้ ลูกาเชนโกยอมรับว่า เป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ของเขาบางคนได้ช่วยให้ผู้ลี้ภัยข้ามผ่านแดน แต่บอกว่ามันไม่คุ้มค่าที่จะพิจารณาปัญหา มินสค์กล่าวหาว่ากลุ่มสหภาพยุโรปเตรียมทำ "สงครามลูกผสม" โดยเป็นเจ้าภาพรับรองฝ่ายค้านเบลารุสที่ถูกเนรเทศและสื่อในเบลารุสที่ถูกแบน 

เบลารุสจะขอให้รัสเซียนำอาวุธนิวเคลียร์มาติดตั้งในประเทศ

 

logoline