svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

30 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยังไม่ชี้ชัด วายร้ายโควิดสายพันธุ์ใหม่ อย่าง "โอไมครอน" ตัวนี้ว่า สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายหรือก่อให้เกิดอาการป่วยหนักมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงเดลตาหรือไม่ ให้รออัปเดตข้อมูลความคืบหน้าอีกระยะ

เกาะติดสถานการณ์โควิดสายพันธุ์ใหม่ หรือที่นิยมเรียกกันตอนนี้ว่า โควิดโอไมครอน ตามรหัสชื่อ บี.1.1.529 (B.1.1.529) ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ณ ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายหรือก่อให้เกิดอาการป่วยหนักมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งรวมถึง เดลตา หรือไม่

 

รายงานล่าสุด ทางองค์การอนามัยโลกเผยเพียงว่า

"ยังไม่มีความชัดเจนว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ "โอไมครอน" แพร่กระจายจากคนสู่คนได้กว่าสายพันธุ์อื่น ๆ หรือไม่ แม้ยอดผู้มีผลตรวจโรคเป็นบวกพุ่งขึ้นในแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบการอุบัติของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ใหม่นี้"

 

ขณะเดียวกัน ยังไม่มีความชัดเจนว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์โอไมครอน จะก่อให้เกิดอาการป่วยรุนแรงหรือไม่ แต่ข้อมูลเบื้องต้นบ่งชี้ว่าอัตราการการรักษาตัวโรงพยาบาลในพื้นที่แอฟริกาใต้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุอาจมาจากยอดผู้ติดเชื้อโดยรวมเพิ่มขึ้น

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

องค์การอนามัยโลก (WHO) เพียงแต่ยืนยันว่า ในขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ว่าอาการป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์โอไมครอน แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ เนื่องจากการทำความเข้าใจระดับความรุนแรงของสายพันธุ์โอไมครอนยังต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์

 

ปัจจุบันโรคโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์ ทุกสายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์เดลตา สามารถก่อให้เกิดอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงสุด ดังนั้น การป้องกันตนเองและครอบครัวจึงเป็นกุญแจที่สำคัญที่สุดในขณะนี้

 

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยรายละเอียดอีกว่า หลักฐานเบื้องต้นบ่งชี้ ความเสี่ยงติดเชื้อซ้ำด้วยสายพันธุ์โอไมครอน แต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นนี้ยังมีอยู่จำกัด ซึ่งคาดว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมในอีกไม่กี่วันและสัปดาห์

 

ในส่วนการตรวจโรคโควิด-19 แบบพีซีอาร์ (PCR) ยังคงสามารถตรวจจับสายพันธุ์โอไมครอน และมีการวิจัยเพิ่มเติมว่าสายพันธุ์โอไมครอนจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนและวิธีการรักษาโรคโควิด-19 ที่มีอยู่อย่างไร ??

 

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์โอไมครอน หรือ บี.1.1.529 (B.1.1.529) เป็น “สายพันธุ์ที่น่ากังวล” (VOC) เมื่อวันศุกร์ (26 พฤศจิกายน 2564) ที่ผ่านมา

 

คณะนักวิทยาศาสตร์ของโรงพยาบาล แบมบิโน จีซัส พีดิอะทริก ในกรุงโรมของอิตาลี เผยแพร่ภาพแรกของโปรตีนหนามจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ "โอไมครอน" เป็นครั้งแรกในโลกเมื่อวันเสาร์ โดยหนังสือพิมพ์ กอร์เรีย เดลลา เซรา ของอิตาลีได้เผยแพร่ภาพนี้ทางทวิตเตอร์

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

ภาพนี้สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์หลากหลายรูปแบบ โดยมีการเปรียบเทียบระหว่างไวรัสสายพันธุ์ โอไมครอน กับ ไวรัสสายพันธุ์ เดลตา แสดงให้เห็นว่า โอไมครอนมีการกลายพันธุ์ที่โปรตีนหนามมากถึง 43 ตำแหน่ง แตกต่างจากเดลตา ที่มีเพียง 18 ตำแหน่ง

 

แต่คณะนักวิจัย มองว่า ไม่จำเป็นที่การกลายพันธุ์มากขึ้นหลายจุดจะทำให้อันตรายยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันมันสะท้อนว่าไวรัสปรับตัวมากขึ้นเพื่อให้เข้ากับมนุษย์ และยังต้องทำการศึกษาต่อว่า การปรับตัวของไวรัสจะทำให้มันเป็นกลาง อันตรายน้อยลง หรืออันตรายมากขึ้น

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

องค์การอนามัยโลก เพิ่งจัดให้ไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ที่มีการพบรหัสพันธุกรรมครั้งแรกในแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2564  เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล และตั้งชื่อใหม่เป็น "โอไมครอน" ในการประชุมเมื่อวันศุกร์

 

ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ถูกพบระบาดในประเทศ

  • แอฟริกาใต้
  • บอตสวานา  
  • ฮ่องกง
  • อิสราเอล
  • เบลเยียม
  • อังกฤษ
  • เยอรมนี
  • อิตาลี
  • สาธารณรัฐเช็ก

และหลายประเทศทั่วโลกทยอยประกาศระงับเที่ยวบินจากหลายประเทศในทวีปแอฟริกาชั่วคราว ขณะที่อิสราเอลประกาศปิดประเทศไม่ต้อนนับชาวต่างชาติจากทุกชาติเป็นเวลา 14 วันตั้งแต่คืนวานนี้ (28 พ.ย.2564)

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

“สายพันธุ์ที่น่ากังวล” บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ล่าสุด มีการเปลี่ยนแปลงหนึ่งประการหรือมากกว่าในระดับที่มีนัยสำคัญต่อสาธารณสุขโลก ได้แก่ มีศักยภาพการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาที่เป็นอันตราย มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงทางอาการของโรค มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของมาตรการสาธารณสุข - สังคม หรือการวินิจฉัย วัคซีน การรักษาที่มีอยู่

 

 องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องนานาประเทศขยับขยายการเฝ้าระวังและการตรวจลำดับพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ชนิดกลายพันธุ์ที่แพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงจัดส่งผลการลำดับพันธุกรรมและคำอธิบายเข้าฐานข้อมูลที่สาธารณชนเข้าถึงได้ และรายงานการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ที่น่ากังวลแก่องค์การอนามัยโลก (WHO)

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

นอกจากนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้มีการลงพื้นที่สืบสวนสอบสวนและการประเมินในห้องปฏิบัติการ เพื่อความเข้าใจผลกระทบของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ที่น่ากังวล ต่อการระบาดวิทยาของโรคโควิด-19 ประสิทธิภาพของมาตรการสาธารณสุข - สังคม และการสร้างภูมิคุ้มกันโรคระบาด

 

เผยที่มาของชื่อ

ความคืบหน้ามาจาก เว็บไซต์ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า ตั้งแต่เดือน พ.ค. องค์การอนามัยโลก (WHO) ใช้ตัวอักษรกรีกเรียกสายพันธุ์โควิด-19 เรียงตามลำดับ โดยสายพันธุ์เดลตาโดดเด่นที่สุด ตามด้วยสายพันธุ์อื่นๆ อีก 8 ชื่อ เช่น เอปซิลอน ไอโอตา และแลมบ์ดา ที่ถึงขณะนี้ส่วนใหญ่อ่อนแรงกันไปแล้ว

 

เมื่อพบสายพันธุ์ล่าสุด B.1.1.529 ที่แอฟริกาใต้ในสัปดาห์ก่อน นักสังเกตการณ์คาดว่า ตัวอักษรกรีกลำดับต่อไปที่ต้องใช้ตั้งชื่อคือ “Nu” (นิว) แต่กลายเป็นว่าชื่อนิวถูกข้ามไปเช่นเดียวกับ Xi (ไซ) ข้ามมาใช้ โอมิครอน อักษรตัวที่ 15 เลย ซึ่ง WHO ได้อธิบายกับซีเอ็นเอ็นผ่านทางอีเมล

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

“Nu (นิว) อาจไปสับสนกับคำว่า new ได้ง่าย ๆส่วน Xi ไม่ใช้เพราะเป็นนามสกุล หลักการตั้งชื่อของ WHO แนะให้หลีกเลี่ยงสร้างความขุ่นเคืองให้กับกลุ่มวัฒนธรรม สังคม ประชาชาติ ภูมิภาค อาชีพ หรือเชื้อชาติใดๆ”

 

WHO ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น รอสรุปอีกครั้ง

สำหรับตัวอักษร Xi แม้ออกเสียงแตกต่างแต่ก็เขียนเหมือนกับแซ่สี ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จนทำให้เกิดการคาดการณ์กันมากว่า ประธานาธิบดีสีอาจมีส่วนทำให้ WHO ต้องข้ามอักษรตัวนี้ไป

 

จีน พยายามแยกตัวเองออกจากการระบาดของโควิด-19 และตอบโต้ข้อกล่าวหาที่ว่าไวรัสถือกำเนิดที่เมืองอู่ฮั่น

 

แต่เมื่อเดือน พ.ค. WHO เคยอธิบายว่า การใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกยาก จำยาก เสี่ยงรายงานผิด “ส่งผลให้ประชาชนใช้ัชื่อสถานที่ตรวจพบเป็นชื่อเรียกสายพันธุ์โควิด กลายเป็นตราบาปและเลือกปฏิบัติ”

 

เพื่อหลีกเลี่ยงรอยมลทิน WHO จึงไม่ระบุไวรัสเข้ากับภูมิภาคใดในโลก หลายคนเชื่อว่า การเรียกโควิด-19 ว่า “ไวรัสอู่ฮั่น” และ “ไวรัสจีน” ทำให้เกิดการทำร้ายคนเชื้อสายเอเชีย

 

WHO เปิดถ้อยแถลงบนเว็บไซต์ ว่า WHO ใช้วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการตั้งชื่อโรคใหม่ ด้วยวัตถุประสงค์ลดผลกระทบไม่พึงประสงค์จากการตั้งชื่อที่อาจมีต่อการค้า การเดินทาง การท่องเที่ยว หรือสวัสดิภาพสัตว์" นี่คือเหตุผลว่าทำไมโควิดสายพันธุ์ล่าสุดจึงได้ชื่อว่า "โอไมครอน" และถ้ามีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอีก ยังมีอักษรกรีกอีก 9 ตัวให้ใช้ ตัวต่อไปคือ "Pi" (พาย)

รายงานตัวเลข ณ วันที่ 27 พ.ย. 2564

logoline