svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

แจ็ค ดอร์ซีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งทวิตเตอร์ ลงจากตำแหน่งซีอีโอ

30 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แจ็ค ดอร์ซี่ ซีอีโอทวิตเตอร์ลงจากตำแหน่งหลังนั่งบริหารอยู่ 6 ปีสำหรับรอบล่าสุด แต่เจ้าตัวก็ไม่ได้ให้เหตุผลของการลงจากตำแหน่งที่บอกว่าเป็นการตัดสินใจของตัวเองแต่อย่างใด

แจ็ค ดอร์ซีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งทวิตเตอร์และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนแรกของแพลตฟอร์มโซเชียลในปี 2550 จนกระทั่งถูกปลดออกในปีต่อไป แต่จากนั้นก็กลับมารับตำแหน่งอีกครั้งในปี 2558 ได้ลงจากตำแหน่งอีกครั้งแล้ว แต่คราวนี้เขาบอกว่า เป็นการเลือกเองของเขา

 

ในจดหมายที่โพสต์บนบัญชีทวิตเตอร์ ดอร์ซีย์บอกว่าเขา " เศร้าจริง ๆ...แต่ก็มีความสุขจริง ๆ " เกี่ยวกับการออกจากบริษัท และนั่นเป็นการตัดสินใจของเขาเอง

 

เจ้าตัวไม่ได้ให้เหตุผลใด ๆ ในการลาออกของเขา นอกเหนือจากการโต้แย้งเชิงนามธรรมว่าทวิตเตอร์ ซึ่งเขาใช้เวลาด้วยนานถึง 16 ปีในบทบาทต่าง ๆ ควร "แยกออกจากผู้ก่อตั้ง " เขาเขียนว่าบริษัทที่พึ่งพาผู้ก่อตั้ง ถือเป็น "การจำกัดอย่างร้ายแรง"

 

เรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงปลายปีที่ 6 อันแสนวุ่นวายของการบริหารแพลตฟอร์มโซเชียลของเขา ในช่วงที่ทวิตเตอร์เติบโตอย่างเชื่องช้า ต้องเจอกับการก่อจลาจลของนักลงทุน ต้องต่อสู้กับข้อกล่าวหาว่าล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาข้อความที่แสดงความเกลียดชัง การล่วงละเมิด และกิจกรรมที่เป็นอันตรายอื่น ๆ และในที่สุด ทวิตเตอร์ก็แบนประธานาธิบดีสหรัฐในตำแหน่ง จากการสร้างอันตรายต่อความปลอดภัยสาธารณะระหว่างการจลาจลเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่อาคารรัฐสภาสหรัฐฯ

แจ็ค ดอร์ซีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งทวิตเตอร์ ลงจากตำแหน่งซีอีโอ

หลังการลาออก ทางทวิตเตอร์ได้แต่งตั้ง ปารัก อากราวัล หัวหน้าเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีคนปัจจุบันเป็นซีอีโอคนใหม่ โดยให้ที่มีผลในวันจันทร์ ส่วนดอร์ซีย์จะยังอยู่ในบอร์ดบริหารจนกว่าวาระของเขาจะสิ้นสุดลงในปีหน้า 

 

สำหรับอากราวัลนั้นทำงานกับทวิตเตอร์มาตั้งแต่ปี 2554 และดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีมาตั้งแต่ปี 2560 หลังทราบข่าว ในช่วงบ่าย หุ้นของทวิตเตอร์ปรับตัวลดลงเกือบ 2% โดยมาอยู่ที่หุ้นละ 46.38 ดอลลาร์

 

ข่าวดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ทวิตเตอร์กำลังเร่งความเร็วด้านนวัตกรรมในปีที่ผ่านมา เพื่อแข่งกับคู่แข่งอย่างเฟซบุ๊กและ TikTok และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเพิ่มรายได้ต่อปีเป็น 2 เท่าภายในปี 2566 

 

ดอร์ซีย์ต้องเผชิญกับความลำบากใจหลายอย่างในฐานะซีอีโอ โดยเริ่มจากข้อเท็จจริงที่ว่าเขาเป็นผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัทรับชำระเงินอย่าง " สแควร์ " ด้วย นักลงทุนรายใหญ่บางคนจึงตั้งคำถามอย่างเปิดเผยว่าเขาจะเป็นผู้นำทั้งสองบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือ

แจ็ค ดอร์ซีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งทวิตเตอร์ ลงจากตำแหน่งซีอีโอ

 

 

 

ปีที่แล้ว ทวิตเตอร์บรรลุข้อตกลงกับนักลงทุน - นักเคลื่อนไหว 2 คนที่ทำให้ดอร์ซี่ ยังอยู่ในตำแหน่งสูงสุด และจะให้ตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัทกับ Elliott Management Corp. ซึ่งเป็นเจ้าของหุ้นทวิตเตอร์ประมาณ 4% และอีกตำแหน่งหนึ่งกับบริษัท Silver Lake

 

ทวิตเตอร์ต้องเจอกับบรรยากาศทางการเมืองที่ร้อนแรงซึ่งนำไปสู่การเลือกตั้งในปี 2020 จนทำให้อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกแบนจากทวิตเตร์

 

ดอร์ซีย์ปกป้องการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า การจลาจลในอาคารแคปปิตอล เมื่อวันที่ 6 มกราคมและการทวีตของทรัมป์หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยสาธารณะและสร้าง "สถานการณ์ที่ไม่ธรรมดาและไม่สามารถป้องกันได้" สำหรับบริษัท 

 

ขณะที่ทรัมป์ ก็เดินหน้าฟ้องบริษัทพร้อมกับเฟซบุ๊กและยูทูบในเดือนกรกฎาคมในข้อหาเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์

แจ็ค ดอร์ซีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งทวิตเตอร์ ลงจากตำแหน่งซีอีโอ

 

 

logoline