svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รัฐบาลเผยแผนรับมือโอไมครอน สภาพัฒน์ แนะป้องกันภาคการผลิต

29 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สภาพัฒน์ เผยรัฐบาลเตรียม 5 มาตรการรับมือโอไมครอน ปรับแผนรับคนเข้าประเทศ ปรับสัญญาวัคซีน เตรียมพร้อมเรื่องยา จำกัดวงการระบาด ป้องกันฐานการผลิต

ทางด้าน นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “เดินหน้าเศรษฐกิจไทย 2022” ในงานสัมนา “Economic Ouloolk 2022 อนาคตเศรษฐกิจไทย” จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” ในวันนี้ (29 พ.ย. 2564) ว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากที่สุดในไตรมาสที่ 3 ที่มีการระบาดเป็นวงกว้างเศรษฐกิจติดลดไป 0.3% ซึ่งถือว่าปรับตัวลดลงน้อยกว่าที่หลายฝ่ายคาดว่าจะมีการปรับลดประมาณ 3 - 3.5% โดยการติดลบของเศรษฐกิจที่ไม่มากนักเนื่องจากภาครัฐมีมาตรการในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ในเดือน มิ.ย.และบางมาตรการยังคงมีผลมาถึงปัจจุบัน

รัฐบาลเผยแผนรับมือโอไมครอน สภาพัฒน์ แนะป้องกันภาคการผลิต

สศช. ได้คาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2564 จะขยายตัวได้ 1.2 % และในปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ในกรอบ 3.5 - 4.5% โดยปัจจัยบวกมาจากภาคการส่งออกที่ยังคงฟื้นตัวได้ตามเศรษฐกิจและการค้าโลกที่มีการฟื้นตัว และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่มากนัก 

 

รัฐบาลเผยแผนรับมือโอไมครอน สภาพัฒน์ แนะป้องกันภาคการผลิต

อย่างไรก็ตามสมมุติฐานเรื่องของเศรษฐกิจ และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่จะเดินทางเข้าไทยเป็นการประมาณการก่อนที่จะมีการค้นพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่าโอไมครอน โดยขณะนี้ สศช.รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ในส่วนการทำงานของรัฐบาล มีการเตรียมความพร้อมแผน เพื่อเตรียม รับมือโควิดสายพันธุ์โอไมครอน โดยได้มีการหารือกันทั้งในการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 และหารือกันในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีมาตรการที่เตรียมพร้อมรับมือโอไมครอน 5 ข้อได้แก่

 

1.เตรียมปรับระบบการให้ชาวต่างชาติประเทศให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยประเทศไทยได้มีการประกาศห้ามการเข้าประเทศของประเทศที่มีการค้นพบการแพร่ระบาดของโอไมครอนและใกล้เคียงในกลุ่ม 8 ประเทศในแอฟริกา โดยในระยะต่อไปต้องเข้มงวดในการตรวจหาเชื้อของผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยมากขึ้น 

 

2.มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขไปดูข้อกำหนดทางกฎหมายและสัญญาที่ได้มีการทำไว้กับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนที่รอส่งมอบให้ไทย 90 ล้านโดส (แอสตร้าเซเนก้า 60 ล้านโดส และไฟเซอร์ 30 ล้านโดส)เพื่อเตรียมการเจรจาขอให้ส่งมอบวัคซีนรุ่นใหม่ที่มีการปรับปรุงเพื่อรองรับการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ได้ 

 

3.การเตรียมความพร้อมเรื่องยารักษาโดยนอกจากรัฐบาลได้มีนโยบายให้กระทรวงสาธารณสุขไปติดต่อบริษัทผู้ผลิตยารักษาโควิด-19 ทั้งของบริษัทไฟเซอร์อิงค์. และเมิร์คแอนด์ โค อิงค์. ของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งติดตามความคืบหน้าเรื่องของการผลิตยาของบริษัทแอสตร้าเซเนก้าหากมีความคืบหน้าจะติดต่อซื้อยาเพื่อเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ 

 

รัฐบาลเผยแผนรับมือโอไมครอน สภาพัฒน์ แนะป้องกันภาคการผลิต

4.การเตรียมความพร้อมเรื่องระบบสาธารณสุขเพื่อรองรับการระบาดระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งเรื่องของอุปกรณ์การแพทย์ สถานพยาบาล ซึ่งรวมไปถึงระบบที่จะควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดโดยเร็วไม่กระจายไปเป็นพื้นที่กว้างเหมือนที่เคยระบาดในช่วงไตรมาสสามที่ผ่านมา รวมถึงการเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายภายในปีนี้ และ

 

5.เตรียมพร้อมที่จะป้องกันฐานการผลิตเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนของซัพพายเชนที่เกี่ยวข้องเดินหน้าไปได้ โดยจะต้องพยายามไม่ให้เกิิดการระบาดเข้าไปในโรงงานหรือสถานประกอบการจนกระทบกับภาคการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เพื่อช่วยให้เกิดแรงส่งทางเศรษฐกิจในช่วงที่มีการฟื้นตัวจากโควิด-19 

 

รัฐบาลเผยแผนรับมือโอไมครอน สภาพัฒน์ แนะป้องกันภาคการผลิต

logoline