svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

โอไมครอน เป็นเหตุ สั่งกักตัว นทท.กลุ่มประเทศแอฟริกา ตั้งแต่ 1 ธ.ค.ห้ามเข้า

29 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เหตุ ไวรัส "โอไมครอน" ศบค. สั่งทบทวนมาตรการรับนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศแอฟริกาใต้ ให้กักตัวเท่านั้น ตั้งแต่ 1 ธ.ค. ห้ามเข้า และ ให้คงมาตรการตรวจ RT-PCR ไว้ก่อน ระบุ 1-27 พ.ย. กลุ่มประเทศแอฟริกา เข้าไทย 1,007 ราย เฉพาะแอฟริกาใต้ 826 ราย ทั้งหมดมีผลตรวจเป็นลบ

29 พฤศจิกายน 2564 แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลก ว่า การติดเชื้อทั่วโลก หลายประเทศตัวเลขขยับขึ้นสูง เช่น สหราชอาณาจักร ติดเชื้อ 37,681 ราย ตุรกี เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี ซึ่งประเทศเหล่านี้มีประชากรฉีดวัคซีนครอบคลุมค่อนข้างสูง ก่อนหน้านี้หลายประเทศประกาศผ่อนคลายมาตรการ อนุญาตให้ประชาชนเลิกใส่หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า เปิดกิจการได้อย่างอิสระ แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าหลายประเทศกลับมาคุมเข้มอย่างเข้มงวด ทำให้เกิดการประท้วงในหลายพื้นที่ ขณะที่ประเทศในโซนเอเชีย เช่น มาเลเซีย มีตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ใกล้เคียงกับประเทศไทย แต่มีประเทศที่น่าจับตาคือ เวียดนาม ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อกระโดดขึ้นไป 12,936 ราย สปป.ลาว มีผู้ติดเชื้อเกิน 1,000 ราย ติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์แล้ว

โอไมครอน เป็นเหตุ สั่งกักตัว นทท.กลุ่มประเทศแอฟริกา ตั้งแต่ 1 ธ.ค.ห้ามเข้า

อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ “โอไมครอน” ล่าสุดนอกจากทวีปแอฟริกา ที่มีรายงานการยืนยันพบเชื้อ ในยุโรปหลายประเทศ มีรายงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เบลเยี่ยม เช็กฯ และล่าสุดคือ ประเทศเดนมาร์ก กลุ่มนี้เป็นการพบเชื้อจากประชาชนที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศแอฟริกา ในส่วนของเอเชียพบที่ฮ่องกงและอิสราเอล ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา อิสราเอลได้ประกาศปิดประเทศเป็นที่เรียบร้อย ทั้งนี้ยังมีออสเตรเลีย ที่มีการยืนยันติดเชื้อแล้วเช่นเดียวกัน

โอไมครอน เป็นเหตุ สั่งกักตัว นทท.กลุ่มประเทศแอฟริกา ตั้งแต่ 1 ธ.ค.ห้ามเข้า

การแพร่ระบาดในวงกว้างทั่วโลกทำให้กระทรวงสาธารณสุขโดย ที่ประชุม EOC ได้มีการประชุมวาระฉุกเฉินเมื่อวานนี้ (28 พ.ย.) เรื่องการพิจารณาปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 สำหรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรจากทวีปแอฟริกาและการตรวจหาเชื้อในผู้เดินทางแบบ Test & Go การปรับมาตรการให้สอดคล้องกับมาตรการของหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น สหภาพยุโรป อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รวมทั้งในเอเชีย มี ญี่ปุ่น อิหร่าน บราซิล สิงคโปร์

โอไมครอน เป็นเหตุ สั่งกักตัว นทท.กลุ่มประเทศแอฟริกา ตั้งแต่ 1 ธ.ค.ห้ามเข้า

สืบเนื่องจากองค์การอนามัยโลก มีความเป็นห่วง “โอไมครอน” ซึ่งมีรายงานว่า มีการแพร่กระจายเชื้อได้เร็วยิ่งกว่า สายพันธุ์เดลต้า แม้ว่ายังไม่มีการรายงาน เรื่องของความรุนแรง แต่องค์การอนามัยโลก ห่วงกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มมีโรคประจำตัว ยังถือว่ามีความเสี่ยงที่น่าเป็นห่วง และได้เน้นย้ำในรายละเอียดปัจจัยสำคัญในการเกิดเชื้อกลายพันธุ์ มักจะเป็นประเทศที่มีประชากรได้รับวัคซีนค่อนข้างต่ำ มีการกระจายวัคซีนไปยังประชาชนน้อย ทำให้ภูมิคุ้มกันน้อย เป็นเหตุให้เชื้อกลายพันธุ์ได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุข ได้ย้ำว่า หากไม่รีบรณรงค์ ให้ประชาชนฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด เราอาจจะเป็นที่หนึ่งที่เกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อได้

รายงานข้อมูลผู้เดินทางจากประเทศแถบแอฟริกาใต้เข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันที่1- 27 พฤศจิกายน รวม 1,007 ราย ประกอบด้วย บอตสวานา 3 ราย นามิเบีย 16 ราย แองโกลา 22 ราย มาดากัสการ์ 7 ราย เมอร์ริเซียส 27 ราย แซมเบีย 5 ราย เอสวาตินี 39 ราย เอธิโอเปีย 45 ราย โมซัมบิก 12 ราย มาลาวี 2 ราย ซิมบับเวย์ 3 ราย และแอฟริกาใต้ 826 ราย ทั้งหมดนี้มีผลตรวจ RT-PCR ในวันที่เดินทางถึงประเทศไทยเป็นลบ

โอไมครอน เป็นเหตุ สั่งกักตัว นทท.กลุ่มประเทศแอฟริกา ตั้งแต่ 1 ธ.ค.ห้ามเข้า

ทั้งนี้ผู้เดินทางเข้าประเทศไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ที่จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR ก่อนบินเข้าประเทศไทยก่อน 72 ชั่วโมง ถึงแล้วก็ต้องมีการตรวจ  RT-PCR ซ้ำ ตั้งแต่วินาทีที่มาถึง รวมถึงมีการตรวจแบบ ATK ซ้ำด้วย ที่ยังคงมาตรการเหล่านี้ไว้ถือเป็นการคัดกรองตรวจจับเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ หลายครั้งเราเห็นประชาชน สถานประกอบการ อาจตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงยังคงเข้มงวด ซึ่งเรื่องนี้เป็นการตอบคำถามได้ว่าการที่เราตรวจพบเชื้อได้รวดเร็วจะทำให้เกิดการกักตัวนำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษา และทำให้ไม่เกิดการแพร่กระจายไปยังชุมชนของประเทศไทย

โอไมครอน เป็นเหตุ สั่งกักตัว นทท.กลุ่มประเทศแอฟริกา ตั้งแต่ 1 ธ.ค.ห้ามเข้า

สำหรับการปรับมาตรการเข้าราชอาณาจักรไทยของประเทศทวีปแอฟริกา ประกาศวันที่ 28 พฤศจิกายน แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ

กลุ่มแรก ประเทศที่มีรายงานเชื้อชัดเจน ได้แก่ บอตสวานา แอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมแซมบิก นามีเบีย แอฟริกาใต้ ซิมบับเว ถ้าประชาชนกลุ่มนี้ มีถิ่นพำนักใน 8 ประเทศนี้เกิน 21 วัน เงื่อนไข Test & Go ไม่ได้ เข้ามาในกรณีแซนด์บ็อกซ์ หรือกักตัวเท่านั้น หลังวันที่ 27 พฤศจิกายนเป็นต้นมา ประกาศชัดเจน

อนุญาตให้ประชาชนจาก 8 ประเทศนี้ ลงทะเบียนเพื่อขอเข้าราชอาณาจักรไทย แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่ลงทะเบียนล่วงหน้า จะเข้าสู่กระบวนการต้องมีการกักตัว 14 วัน ตรวจ  RT-PCR 3 ครั้ง คือ เดินทางมาถึง ซ้ำวันที่ 5-6 และก่อนออกจากการกักตัว 12-13 มีการประกาศเพิ่มใน  กลุ่ม 8 ประเทศนี้ หลังวันที่ 1 ธันวาคม ห้ามไม่ให้มีการเดินทางเข้าประเทศไทย ยกเว้นเฉพาะคนไทย

 

กลุ่มที่ 2 ประชาชนที่เดินทางจากทวีปแอฟริกา นอกเหนือ 8 ประเทศ เงื่อนไขคือ เข้าประเทศได้ในแซนด์บ็อกซ์ และการกักตัวเท่านั้น ไม่อนุญาตลงทะเบียนขอเข้าราชอาณาจักร ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายนเป็นต้นไป หากมีการลงทะเบียนก่อนหน้านี้ต้องกักตัว 14 วัน ตรวจ RT-PCR 3 ครั้งเช่นเดียวกัน กรณีเดินทางถึงไทยก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ 15  พฤศจิกายน ถึง 5 ธันวาคม ขอให้เจ้าหน้าที่โรคติดต่อเฝ้าระวังติดตามอาการคนกลุ่มนี้ให้ครบ 14 วัน ซึ่งปัจจุบันมีการประสานงานทั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เกือบ 200 ราย สามารถติดตามได้ทั้งหมด จึงขอความร่วมมือว่า หากเขาจะไปไหนอย่างไร ขอความร่วมมือติดตามให้ครบ 14 วัน  ส่วนประชาชนไทยเมื่อเดินทางมาถึง 6 ธันวาคม เป็นต้นไป ต้องเข้าสู่การกักตัว 14 วัน

โอไมครอน เป็นเหตุ สั่งกักตัว นทท.กลุ่มประเทศแอฟริกา ตั้งแต่ 1 ธ.ค.ห้ามเข้า

แพทย์หญิงอภิสมัย  กล่าวต่อ ในการประชุมศบค. ชุดใหญ่ เมื่อวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้ทบทวนการประเมินนักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางถึงไทย ได้ประกาศวันที่ 16 ธันวาคม จะมีการตรวจโดยใช้เฉพาะ ATK ส่วนนี้ สาธารณสุขให้เหตุผลการประเมินสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด จึงขอให้ทุกคนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ว่าจะยังคงตรวจแบบ RT-PCR ไว้ จนถึง 16 ธันวาคมและจะเปลี่ยนเป็นการตรวจแบบ ATK ตามที่ศบค. ชุดใหญ่ มีมติหรือไม่ยังคงต้องติดตาม ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้

 

สำหรับรายงานการรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรทางอากาศ  1-28 พฤศจิกายน รวม 122,398 ราย โดยเมื่อวาน (28 พ.ย.) มีผลบวกจากการตรวจ RT-PCR 11 ราย สะสม 160 ราย คิดเป็น 0.13% เน้นย้ำว่าระบบการคัดกรอง การตรวจเอกสารที่อาจจะดูยุ่งยาก แต่วันนี้มีความจำเป็น นอกจากจะทำให้ประชาชนคนไทยปลอดภัย นักท่องเที่ยวที่มีการติดเชื้อเขาอาจจะไม่มีอาการ แต่เมื่อรายงานผลการติดเชื้อเขาจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานของไทย

 

นอกจากนี้ที่ประชุมศบค. ชุดเล็ก วันนี้ได้มีการประชุมกับ 5 จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว คือ กรุงเทพมหานคร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ และภูเก็ต ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการรายงานว่า หลายโรงแรม พบว่านักท่องเที่ยวหลายคนเข้ามายังไม่ทราบมาตรการป้องกัน โควิด-19 ของประเทศไทย บางส่วน ทางโรงแรมมีการชี้แจงและให้การช่วยเหลือ จึงขอย้ำไปทางสถานประกอบการ พบเห็นช่วยแนะนำนักท่องเที่ยวเหล่านี้ด้วย รวมถึงกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงต่างประเทศ ต้องประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง เช่น สถานทูตไทยในประเทศต้นทาง

logoline