svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

มีอะไร? ในการควบรวมกิจการ "ทรู – ดีแทค”

22 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังจากที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ กลุ่มเทเลนอร์ ได้เซ็น MOU ร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้โครงสร้างจำนวนหุ้นบริษัทใหม่ 138,102 ล้านหุ้น แบ่งเป็น 1 หุ้นเดิมในทรู ต่อ 2.40072 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมในดีแทค ต่อ 24.53775 หุ้นในบริษัทใหม่

บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) หลังจากแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการควบบริษัทระหว่างกัน และรับทราบความประสงค์ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ โดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไขก่อนการทำคำเสนอซื้อ (Conditional Voluntary Tender Offer)

 

มาดูกันว่าในดีลนี้ มีอะไรที่น่าจับตา

 

2 บริษัทในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

1. เครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) ผู้ถือหุ้นใหญ่ของทรู  

2. กลุ่มเทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของดีแทค

เซ็น MOU พร้อมประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership)

 

ตั้งบริษัทใหม่ 3,200-6,500 ล้านบาท

บริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น กองทุนมูลค่าประมาณ 100 - 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3,200-6,500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการ และสตาร์ทอัพบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย

 

หุ้นพุ่ง หลังปิดดีล
เช้าวันที่ 22 พ.ย. ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น 

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE เปิดที่ 4.80  บาท เพิ่มขึ้น 0.48 บาท หรือ 11.11% จากวันก่อนหน้าที่ 4.32 บาท 

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)หรือ DTAC  เปิดที่ 45.50  บาท เพิ่มขึ้น 4.25 บาท หรือ 10.30% จากวันก่อนหน้าอยู่ที่ 41.25 บาท

 

 

มีอะไร? ในการควบรวมกิจการ "ทรู – ดีแทค”

 

ควบรวมกิจการ จัดสรรหุ้น

ตั้งบริษัทใหม่  และ กำหนดอัตราการจัดสรรหุ้น (Swap Ratio) โดยมีจำนวนหุ้นบริษัทใหม่ที่ 138,102 ล้านหุ้น

จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของทรู และผู้ถือหุ้นของดีแทค ในอัตราส่วน

1 หุ้นเดิมในทรู ต่อ 2.40072 หุ้นในบริษัทใหม่

1 หุ้นเดิมในดีแทค ต่อ 24.53775 หุ้นในบริษัทใหม่

 

 

 

 

ทรูมีหุ้นมากกว่าดีแทค

หลังรวม ผู้ถือหุ้น ทรู และ ดีแทค จะถือหุ้นในบริษัทใหม่ใน สัดส่วน 57.9%  และ  42.1%

โดยการควบรวมจะเกิดขึ้น หลังจากดำเนินตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดสำเร็จ

นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มซีพี และ เทเลนอร์  ยังจัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นใหม่ เพื่อทำคำเสนอซื้อโดยสมัครใจ ทรู และ ดีแทค ที่ราคาหุ้นละ 5.09 บาท และ 47.76

 

มีอะไร? ในการควบรวมกิจการ "ทรู – ดีแทค”

 

สู่อนาคต ยกระดับเทคโนโลยี

ทรู – ดีแทค ผนึกกำลัง ปรับโครงสร้างองค์กร จาก โทรคมนาคม (Telecom) สู่การเป็น บริษัทเทคโนโลยี หรือ Tech Company

 

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0  ที่จะก้าวเป็นฮับของเทคโนโลยีในระดับภูมิภาค ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ

 

สิ่งที่จะเกิดขึ้น และการพัฒนาธุรกิจมุ่งสู่อนาคต ดังนี้  

  • ด้านเทคโนโลยี
  • ปัญญาประดิษฐ์
  • ระบบคลาวด์เทคโนโลยี
  • ไอโอที
  • อุปกรณ์อัจฉริยะ
  • เมืองอัจฉริยะ
  • ดิจิทัลมีเดียโซลูชั่น
  • ปรับโครงสร้างเพื่อให้สนับสนุนการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี (Tech Startup) โดยการจัดตั้ง Venture Capital ที่มุ่งเน้นลงทุนในสตาร์ทอัพไทย และสตาร์ทอัพต่างประเทศ ที่ตั้งในประเทศไทย
  • มีแผนที่จะศึกษาด้านเทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจ
     

ถอดคำ 2 ผู้บริหาร 

 

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  

การก้าวสู่บริษัทเทคโนโลยี คือ กุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาแบบก้าวกระโดด และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กระจายไปทั่วประเทศได้

 

ในฐานะบริษัทไทย เรามุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยปลดล็อกศักยภาพที่มีอยู่อย่างมหาศาลของธุรกิจไทย และผู้ประกอบการดิจิทัลไทย รวมทั้งยังจะสามารถดึงดูดคนที่เก่งที่สุดและธุรกิจล้ำสมัยจากทั่วโลกให้มาทำธุรกิจในประเทศไทยได้อีกด้วย”

 

 

นายศุภชัย เจียรวนนท์

 

นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทเลนอร์

“เรามีประสบการณ์ในการขับเคลื่อนโลกดิจิทัลในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียมาแล้ว ดังนั้น ขณะที่เรายังพัฒนาต่อไป ทั้งผู้บริโภคและธุรกิจต่างคาดหวังบริการที่ล้ำสมัยและการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

เราเชื่อว่า บริษัทใหม่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอด ยกระดับประเทศไทย ไปสู่การเป็นผู้นำในโลกดิจิทัลได้ ด้วยการผนวกความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ากับการบริการที่ดึงดูดลูกค้า พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม”

 

นายซิคเว่ เบรกเก้

 

 

 

logoline