เป็นกระแสข่าวร้อนๆ สำหรับชาวโซเชียลนำข่าวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจระหว่างวันที่ 14-17 พ.ย.2564 พาดหัวข่าว กรณีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center : AFNC) ทุบหัวลำโพงขึ้นตึกสูง*ขุมทองเชื่อมไชน่าทาวน์-ผนึก 4 ศูนย์กลางธุรกิจ ขึ้นเว็บไซต์พร้อมบอกว่าเป็นข่าวปลอมไม่ต้องแชร์ แต่หลังจากฐานเศรษฐกิจยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวเป็นข่าวจริง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ลบเรื่องดังกล่าวออก รื้อหัวลำโพงจริง ไม่ใช่เฟคนิวส์ "ฐาน" ไล่ศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ทบทวนตัวเอง
สำหรับประเด็นสุดฮือฮาเช่นนี้
สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยในวงกว้าง พร้อมกับมีคำถามตามมาอีกมากมาย เกี่ยวกับการทำหน้าที่และความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส
สำหรับภารกิจหลักของศูนย์ คือ การทำหน้าที่สกัดข่าวที่เผยแพร่บิดเบือน โดยมี นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
โครงสร้างบริหารจัดการของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม จะมีระบบ AI ทำหน้าที่จับเนื้อหาข้อมูลข่าวจริงและข่าวปลอม และ เมื่อระบบ AI จับข่าวแล้วทาง ศปท.ทำหน้าที่ส่งข่าวไปสอบถามยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทางปลายทางก็จะตอบกลับมาข่าวไหนจริง ข่าวไหนบิดเบือน
สำหรับประเด็นนี้ ทางทีมข่าวฐานเศรษฐกิจ ได้ทำการตรวจสอบความคุ้มค่าการใช้จ่ายงบประมาณ จากเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 พบว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดทำรายละเอียดโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti Fake News Center : AFNC) ดังนี้
วัตถุประสงค์
ล่าสุดในประเด็นร้อนๆ เช่นนี้ ทีมข่าวฐานเศรษฐกิจ ได้ทำการตรวจสอบงบประมาณที่จะนำไปใช้ ในการดำเนินโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ ในระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี (ปี 2563 ถึง ปี 2570) โครงการนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 668.621.100 ล้านบาท
งบประมาณที่ใช้ในโครงการศูนย์ต่่อต้านข่าวปลอมในระยะเวลา 8 ปี
เมื่อดูในรายละเอียดในเอกสารงบประมาณพบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ตั้งแต่เริ่มต้นจัดตั้งศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอมขึ้นมาในปี 2563 จนถึงปีงบประมาณ 2564 ใช้งบประมาณไปแล้ว 188.6367 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีการตรวจสอบข่าวปลอมและประสานงานหน่วยงานต่างๆ และเผยแพร่ข่าวสารที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเวลาไม่เกินกว่า 2 ชั่วโมง ทั้งสิ้น 1,385 ข่าว จัดการประชุม สัมมนา และถ่ายทอดความรู้ความเขาใจให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการต่างๆ ประชาชน ไม่น้อยกว่า 1,000 คน/ปี
ขณะที่ปีงบประมาณ 2565-ปีงบประมาณ 2567 ตั้งงบประมาณไว้ปีละ 79.9974 ล้านบาท รวม 3 ปีใช้งบ 239.9922 ล้านบาท มีตัวชี้วัดที่สำคัญ ดังนี้
ปีงบประมาณ 2568-จบโครงการปี 2570 ตั้งงบประมาณไว้รวมทั้งสิ้น 239.9922 ล้านบาท มีตัวชี้วัดที่สำคัญ ดังนี้
จากข้อมูลทั้งหมดที่นำมาเผยแพร่นี้ ทางทีมข่าวฐานเศรษฐกิจ นำมาเสนอต่อสาธารณะชนคงพอจะเป็นคำตอบของคำถามในเรื่องของความคุ้มค่า ในการการใช้งบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชน ของศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอมว่ามีความคุ้มค่ามากน้อยขนาดไหน ??
ขอขอบคุณ : เพจฐานเศรษฐกิจ