svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

นายจ้างรีบเลย! ยืดเวลา ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ ถึง 30 พ.ย.นี้

16 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ขึ้นทะเบียนแรงงานต่าวด้าวรอบใหม่" ผลักดันแรงงาน 3 สัญชาติเข้าระบบแบบถูกกฎหมาย อนุญาตนายจ้างขึ้นทะเบียนได้ถึง 30 พ.ย.นี้ ยืดเวลาทำงานในประเทศไทยได้ถึงก.พ. 2566

16 พฤศจิกายน 2564 ปัญหาแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฏหมาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายหน่วยงานกังวล โดยเฉพาะแรงงาน 3 สัญชาติ ที่พบมีการลักลอบเข้าเมืองตามแนวชายแดน

แต่หลังจากที่กระทรวงแรงงานเปิดให้มีการนำเข้าแรงงานตาม MOU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยต้องเข้ารับการกักตัวและตรวจหาเชื้อโควิด - 19 

นายจ้างรีบเลย! ยืดเวลา ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ ถึง 30 พ.ย.นี้

ประกอบกับการเปิดประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้สัญญาณการจ้างงานดีขึ้น ดังนั้น ภาคแรงงานจ ดังนั้น เพื่อเป็นการนำแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศ เข้าสู่ระบบให้ถูกต้องตามกฎหมาย คณะรัฐมนตรี(ครม.) จึงมีมติให้นายจ้าง สถานการประกอบการนำแรงงานที่อยู่ในความดูแลเข้าสู่ระบบทั้งหมด เพื่อขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ โดยอนุญาตให้สถานประกอบการ ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในไทยอย่างผิดกฎหมายภายในวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน 2564 เท่านั้น เพื่อให้แรงงานดังกล่าวเข้าสู่ระบบ และทำเอ็มโอยูให้ต่อไป

โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ กัมพูชา ลาว และเมียนมา เพื่อสนับสนุนการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ

1.แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติผิดกฎหมาย ไม่ได้ขออนุญาตทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย 2.แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติที่ดำเนินการขออนุญาตทำงานตามมติ 29 ธ.ค.63 แต่กระบวนการยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการตามแนวทางดังนี้

1. กลุ่มแรงงานผิดกฎหมายที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและให้ทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องดำเนินการดังนี้
นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ซึ่งจะสามารถทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรได้ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566

ให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานแล้ว ต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ ตรวจโรคต้องห้าม และจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 หากไม่ดำเนินการดังกล่าว การอนุญาตทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรจะสิ้นสุดลง
เมื่อแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ ตรวจโรคต้องห้าม และจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคลแล้ว ให้ดำเนินการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ซึ่งจะอยู่ในราช
 
2. กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ได้ดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.63 แล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยรัฐขยายระยะเวลาการยื่นคำขออนุญาตทำงาน จากภายในวันที่ 16 มิถุนายน 2564 เป็นภายในวันที่ 13 กันยายน 2564 เพื่อให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 หากแรงงานต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวต้องการจะทำงานในราชอาณาจักรได้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ต้องดำเนินการตรวจโรคต้องห้ามภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2564 และปรับปรุงทะเบียนประวัติภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565

ขณะที่ ข้อมูลจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับการอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย ของสำนักงานบริการแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคนเหลือในประเทศไทย(ข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2564 ) แบ่งตามประเภทแรงงานต่างด้าวที่ที่กฎหมายกำหนดมีดังนี้ 

จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาต มีจำนวน 2,348,913 คน 

แรงงานประเภทฝีมือและอื่น ๆ จำนวน  217,737 คน 
แรงงานประเภทฝีมือ จำนวน 138,117 คน แบ่งเป็น
แรงงานในกลุ่มธุรกิจ BOI จำนวน 43,595 คน 
แรงงานต่างด้าวกลุ่มทั่วไป นักลงทุน ช่างฝีมือชำนาญการ จำนวน 94,522 คน 
แรงงานชนกลุ่มน้อย 79,552 คน 
แรงงานต่างด้าวตลอดชีพ 68 คน 
 

แรงงานประเภททั่วไป จำนวน 2,131,176 คน 

แรงงานจากประเทศกัมพูชา 455,340 คน
แรงงานจาก สปป.ลาว 213,145 คน 
แรงงานจากเมียนมาร์ 1,462,554 คน
แรงงานจากประเทศเวียดนาม 137 คน 
 

จำนวนแรงงานประเภททั่วไป แบ่งเป็น

แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตาม MOU  จำนวน 594,405 คน 
แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติครม. ( 20 สิงหาคม 2562 ) จำนวน 920,784 คน 
แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติครม. (4 สิงหาคม 2563) จำนวน 210,608 คน 
แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติครม. (29 สิงหาคม 2563) จำนวน 405,379 คน 
ขณะนี้ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนประมาณ 12,000 คน 

นายจ้างรีบเลย! ยืดเวลา ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ ถึง 30 พ.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานต่างด้าวจำนวน  800,000 คน แบ่งเป็นภาคการผลิตภาคอุตสาหกรรมจำนวน  500,000 คน ภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องจำนวน  300,000 คน หากแรงงานต่างด้าวกลับเข้ามาทำงานไม่ทันจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจค่อนข้างมาก

 

อ้างอิง
https://www.komchadluek.net/news/492788

 

logoline