เพิ่ม nation online
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
ตัวเลขที่สภาพัฒน์ประกาศมาวันนี้ ไม่ค่อยดี ก่อนหน้านี้ไตรมาสสามอยากเห็นตัวเลขที่ดีกว่านี้ ผลตัวเลขวันนี้ออกมายังติดลบและยังมีหลายตัวที่สะท้อนว่ารัฐบาลนี้ต้องทำงานหนัก ต้องคิดนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังจากนี้พอสมควรหากจะเดินหน้าต่อไป
ต้องยอมรับว่าตั้งแต่ปี 2562-2564 มูลค่าคือความมั่งคั่งเศรษฐกิจของประเทศหดตัวลงไปเป็นล้าน และตอนนี้เริ่มดีขึ้น แต่ดีขึ้นบนพื้นฐานของการหดตัว วันนี้สภาพัฒน์รายงานตัวเลขดัชนีสำคัญ
แม้ว่าทุกครั้งจะบอกว่าเศรษฐกิจไม่เคยล้มรัฐบาล แต่ถ้าสะสมคนยากจนเรื่อยๆ จะเป็นแรงกดดันที่สะท้อนความเชื่อมั่น
มีการประเมินว่าปีนี้ทั้งปีคาดหวังว่า GDP โต 1.2%
ดูประมาณการเศรษฐกิจของหน่วยงานอื่นที่บอกว่าคนไทยมั่งคั่งขึ้นหรือหดตัวลง อันนี้เป็นการประมาณการรวมทั้งหมดใช้พื้นฐานตัวเลขจริงของสภาพัฒน์ ตัวเลขที่ประเมินใหม่มาจากตัวเลขก่อนหน้านี้
เรื่องเศรษฐกิจจะเป็นแรงกดดันของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลสามารถขับเคลื่อนหลังจากนี้ ทุกอย่างจะกลับมาเป็นเดิมพันของรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง
คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่าปี 2565 จะมีเงินที่อัดฉีดเข้าไปในระบบอย่างน้อยที่สุด 3.7 ล้านล้าน มาจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 3.1 ล้านล้าน งบเงินกู้ 5 แสนล้าน ยังเหลืออีกประมาณ 2 แสนล้าน และเงินลงทุนรัฐวิสาหกิจที่จะอัดเข้าไปจะทำให้เศรษฐกิจไทยค่อยๆ ฟื้นขึ้นมา
รัฐมนตรีกระทรวงการคลังบอกว่าปีนี้จะขยายตัว 1% ไม่หวังมากแต่ไม่อยากให้ติดลบ ปีนี้มีการเรียนรู้จากปีที่แล้ว เศรษฐกิจน่าจะปรับตัว รัฐบาลก็ใช้เงินอัดฉีดเข้าไปพอสมควร
รอบที่แล้วคนให้โอกาส กู้เข้ามา 1 ล้านล้าน กู้อีก 5 แสนล้าน แต่ถ้ายังเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ได้เครดิตของรัฐบาลจะทดถอย เพราะฉะนั้นต้องอัดฉีดตรงเป้าเข้าไปที่หัวใจให้ได้ สภาพัฒน์คาดหวังว่าปีหน้า 3.5-4.5% แต่ความคาดหวังนี้ต้องทำภายใน 7 อย่างนี้
ลำพังแค่เรื่องราวทางเศรษฐกิจที่จะกำกับดูแลให้ฟื้นตัวก็เป็นแรงกดดันสำหรับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มาเจอปัญหาใหญ่นั่นคือ การขยายตัวของม็อบ และตอนนี้ม็อบได้แปรสภาพจากการตลาด 112 มาเป็นม็อบต้านระบบที่จะเปิดเกมรบกับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ อย่างหนักหน่วงหลังจากนี้
หลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำให้ม็อบหยุดหรือชะลอลง กลับกลายเป็นว่ามีการขยายตัว มีแนวร่วมที่หลากหลายมากขึ้น และแปรสภาพจากการขับไล่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นการต่อต้านในระบบเก่า
บรรยากาศในวันที่ 14 ที่ผ่านมาต้องบอกว่ามวลชนหนาตา และที่ถูกโฟกัสมากที่สุดคือมีผู้บาดเจ็บจากกระสุนไม่รู้กระสุนมาจากไหน ปรากฏการณ์การเคลื่อนตัวของม็อบสะท้อนให้เห็นว่ามีแรงภายในที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ และม็อบที่ต่อต้านระบบจะกลายเป็นเดิมพันอีกระลอกของรัฐบาล
ม็อบในขณะนี้ต้องบอกว่าหนักหน่วง
ม็อบที่แปรสภาพนั้นรัฐบาลจำเป็นอย่างยิ่งอย่าผลักออกไป ดึงเขาเข้ามาแล้วเปิดพื้นที่ในการพูดคุย อาจจะนำไปสู่ข้อยุติในบางเรื่อง ต้องมีพื้นที่ในการพูดคุย เพราะม็อบที่มาเคลื่อนไหวต่อต้านระบบไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง
การแปรรูปแนวคิดและวิธีการต่อสู้ของม็อบ จะเป็นไปตามสภาพที่ถูกบีบแล้วมาตั้งรูปใหม่และเริ่มขยายเครือข่ายออกไป บทบาทในวันที่ 14 ทำให้เราเห็นอย่างหนึ่ง แกนนำเปลี่ยนหน้าเล่นหลากหลายคนเข้ามา
หลังจากนี้อาจจะมีเครือข่ายแบบนี้เพิ่มขึ้นมาอีก และกระบวนการตอนนี้แกนนำต้านระบบเก่าที่ออกมาเรียกร้อง ส่งเสียงดังเกินกว่าที่ใครจะเอาสำลีไปอุดหู
รวมตัวกันแสดงถึงพลังบางอย่าง และข้อเรียกร้องก็แปรสภาพ ต้องพิจารณากันให้ถี่ถ้วน
เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เราไม่มีระบบนี้แล้วเรามีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่การขับเคลื่อนและการสร้างวาทะกรรมแบบนี้ถ้าจัดการไม่ดีจะเป็นปัญหา และตอนนี้ประเด็น รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนก็เป็นอีกหนึ่งกลไก
พรรคประชาธิปัตย์ก็เช่นเดียวกันวันที่ 15 นี้ คุณองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประชุมส.ส. เพื่อพิจารณากันว่าจะมีท่าทีอย่างไร แต่คุณไพบูลย์ นิติตะวัน ประกาศชัด
ในแง่ของกระบวนการจัดการภาครัฐต้องมีศิลปะ น้ำที่เอ่อล้นและค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นมา ถ้าไม่มีท่อระบายน้ำลงไปในสายน้ำมันจะพังทลายกำแพง ม็อบต่อต้านระบบก็เช่นเดียวกัน แกนนำเหล่านั้นคือลูกหลานเรา เราจะทำอย่างไร ที่จะเปิดพื้นที่ให้คนเหล่านั้นได้มีโอกาสพูดคุย ภาครัฐอย่าปิดกั้น ปิดกั้นเมื่อไหร่เท่ากับเป็นการเปิดเกมรบ ถ้าไม่อยากให้เกิดความรุนแรงบนท้องถนน เวทีสภาเป็นทางออกที่ดีสำปรับประชาชน
ที่มา เนชั่นอินไซต์ บากบั่น บุญเลิศ และ วีระศักดิ์ พงษ์อักษร