svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

จับตา สหรัฐฯ หลังเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 19 เดือนที่ผ่านมา

10 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทั่วโลกจับจ้อง หลังสหรัฐฯ เปิดประเทศ ต้อนรับผู้เดินทางจาก 33 ชาติเป็นครั้งแรกเมื่อ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ทั่วโลกได้เห็นบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความน้ำตาแห่งความสุข ภาพพ่อแม่มารอเจอหน้าลูก คู่รัก และแก๊งเพื่อนๆ ที่ได้พบหน้ากันอีกครั้งที่สนามบิน

จับตา สหรัฐฯ หลังเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 19 เดือนที่ผ่านมา

รายงานฉบับเจาะลึก In Focus ของ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ ที่เผยแพร่วันนี้ (10 พ.ย.64 ) ซึ่งเป็น วันที่ 3 หลังสหรัฐฯ พร้อมเปิดประเทศ ได้ประมวลความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันน่าประทับใจดังกล่าว มาเกาะติดกันว่า จากนี้ไปมีประเด็นอะไรบ้าง ที่วันนี้ประตูแห่งโอกาสการฟื้นตัว ก้าวสู่วิถีใหม่ที่เรียกว่า New Normal ได้ฉายแสงออกมาแล้ว!!  

 

บริติช แอร์เวย์-เวอร์จิน แอตแลนติก จับมือเทคออฟสู่มหานครนิวยอร์ก

การกลับมาเปิดพรมแดนสหรัฐฯ ครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้ที่มาจากประเทศต่าง ๆ 33 แห่ง ประกอบด้วยประเทศในกลุ่มวีซ่าเชงเก้น (ประเทศในสหภาพยุโรป 22 ประเทศ รวมไอซ์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์), จีน, สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์, อิหร่าน, แอฟริกาใต้, บราซิล และอินเดีย เดินทางเข้าสหรัฐได้

 

แน่นอนว่าบรรดาสายการบินที่มีเส้นทางบินระหว่างสหรัฐและประเทศข้างต้นต่างตื่นเต้นที่ได้กลับมาให้บริการอีกครั้ง โดยไฮไลท์สำคัญอยู่ที่สายการบินบริติช แอร์เวย์และเวอร์จิน แอตแลนติก ซึ่งได้จัดเที่ยวบินสองเที่ยวออกเดินทางพร้อมกันจากสนามบินฮีทโธรว์ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ มุ่งหน้าไปยังสหรัฐ โดยเครื่องบินของสายการบินเวอร์จิน แอตแลนติก เที่ยวบินที่ VS3 ร่อนลงจอดที่สนามบินนานาชาติจอห์น เอฟ เคนเนดี ในนิวยอร์ก เมื่อเวลา 10.51 น. ตามเวลาท้องถิ่น และในเวลา 11.00 น. เครื่องบินของสายการบินบริติช แอร์เวย์ เที่ยวบินที่ BA001 ก็ตามมาในเวลาไล่เลี่ยกัน

 

จับตา สหรัฐฯ หลังเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 19 เดือนที่ผ่านมา

 

นายฌอน ดอยล์ ซีอีโอของสายการบินบริติช แอร์เวย์ ซึ่งได้ร่วมเดินทางไปในเที่ยวบินแรกของสายการบินหลังสหรัฐยกเลิกคำสั่งแบน กล่าวว่า "นี่คือวันที่พวกเราเฝ้ารอให้มาถึงเร็ว ๆ หลังจากที่ไม่สามารถเดินทางไปสหรัฐได้ 604 วันเต็ม เราดีใจมากที่ได้กลับมาบินอีกครั้ง"

หลักเกณฑ์ในการเดินทางเข้าสหรัฐฯ หลังเปิดประเทศ

รัฐบาลสหรัฐฯ ได้กำหนดให้ผู้ประสงค์เดินทางเข้าประเทศที่ไม่ใช่พลเรือนสหรัฐฯ จะต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ครบโดสก่อนเดินทางอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยจะต้องฉีดวัคซีนที่ได้รับการรับรอง หรือได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA) หรือเป็นวัคซีนที่อยู่ในรายชื่อขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งประกอบด้วยวัคซีนของบริษัท

  • จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน
  • ไฟเซอร์/บิออนเทค
  • โมเดอร์นา
  • แอสตร้าเซนเนก้า
  • โควิชีลด์
  • ซิโนแวค
  • ซิโนฟาร์ม

 

 

จับตา สหรัฐฯ หลังเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 19 เดือนที่ผ่านมา

ผู้เดินทางสามารถแสดงเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนได้ทั้งแบบกระดาษ, รูปถ่ายเอกสาร หรือใบรับรองดิจิทัลให้เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจสอบ

 

นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ผู้เดินทางมายังสหรัฐฯ ยังต้องแสดงหลักฐานการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เป็นลบไม่เกิน 3 วันก่อนออกเดินทาง โดยสหรัฐฯ ได้บังคับใช้มาตรการนี้มาตั้งแต่เดือนมกราคม ทั้งผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและพลเมืองของสหรัฐฯเองก็ตาม

 

ในกรณีที่ผู้เดินทางจากต่างประเทศ ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนแม้จะเป็นพลเมืองของสหรัฐฯ ก็จะต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อภายใน 1 วันห ลังจากที่เดินทางมาถึง โดยสามารถตรวจหาเชื้อได้ทั้งวิธี Rapid Antigen และการตรวจแบบ PCR

 

 

อย่างไรก็ดี รัฐบาลสหรัฐได้ระบุข้อยกเว้นเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการใหม่ สำหรับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศซึ่งอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากบางประเทศยังไม่อนุมัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับเด็ก

จับตา สหรัฐฯ หลังเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 19 เดือนที่ผ่านมา

ในส่วนผู้เดินทางจากต่างประเทศที่อายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไปที่มากับผู้ใหญ่นั้น ต้องแสดงหลักฐานการตรวจหาโควิด-19 เป็นลบภายใน 3 วันก่อนออกบิน ส่วนในกรณีที่เดินทางโดยลำพัง จะต้องแสดงหลักฐานดังกล่าวภายในหนึ่งวันก่อนออกเดินทาง นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังกำหนดให้ผู้เดินทางเข้าประเทศ จะต้องแจ้งข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่แก่สายการบิน เพื่อเตรียมไว้ในกรณีที่พบการระบาดหลังเดินทางมาถึงสหรัฐฯ 

 

 

สายการบินขานรับ ยอดจองพุ่ง ค้าปลีกเตรียมเฮ!!

 

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวที่เข้าขั้นเจ็บปางตาย ข้อมูลจากสมาคมการท่องเที่ยวของสหรัฐ (U.S. Travel Association) เปิดเผยว่า ตั้งแต่โควิดเริ่มระบาด ภาคการท่องเที่ยวของสหรัฐสูญเม็ดเงินไปเกือบ 5 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ภาครัฐสูญรายได้จากการจัดเก็บภาษีในธุรกิจท่องเที่ยวไปราว 6.4 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 36% ในปี 2563

 

พิจารณาจากข้อมูลเบื้องต้น จากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ระบุว่า ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้สายการบินต่าง ๆ ปรับลดจำนวนผู้โดยสารลง 39% ในปี 2564 เมื่อเทียบกับปี 2562 ขณะที่ยอดผู้โดยสารทั่วโลกนั้นคาดว่าลดลงไปราว 2.19-2.23 พันล้านคน หรือ 49-50% ส่วนรายได้จากการดำเนินงานด้านการขนส่งผู้โดยสารคาดว่าจะหายไปราว 3.23-3.27 แสนล้านดอลลาร์

 

นอกจากนี้ ข้อมูลจากสมาคมการท่องเที่ยวของสหรัฐฯ ยังเผยอีกว่า ในช่วงปี 2562 นักท่องเที่ยวจาก 28 ประเทศในยุโรปซึ่งสหรัฐฯ ได้สั่งห้ามเดินทางเข้าประเทศนั้น มีสัดส่วนมากกว่า 37% ของผู้เดินทางจากต่างประเทศ ขณะที่ Cirium ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเดินทางระบุว่า หลังสหรัฐฯ ประกาศคำสั่งเปิดประเทศ สายการบินต่าง ๆ ได้เพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ เพิ่มจากเดือนต.ค. ขึ้นอีก 21% ในเดือนพ.ย.

 

 

จับตา สหรัฐฯ หลังเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 19 เดือนที่ผ่านมา

ทางด้านนายวสุ ราชา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ของสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซี สื่อใหญ่ของสหรัฐ ที่สนามบินนานาชาติจอห์น เอฟ เคนเนดี ในนิวยอร์กว่า

 

"ยอดจองเที่ยวบินระหว่างสหรัฐกับบราซิลและสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นถึง 70% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่นั้นเป็นเที่ยวบินที่มีกำหนดเดินทางในไตรมาสที่ 4 นอกจากนี้ สายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ยังร่วมกับสายการบินบริติช แอร์เวย์ ดำเนินการเร่งฟื้นฟูปริมาณการเดินทางให้กลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิดระบาดให้ได้ภายในต้นปี 2565"

 

 

สำหรับนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวของสหรัฐฯ สื่อต่างประเทศยังรายงานอีกว่า เรื่องนี้ส่งผลดีต่อภาคธุรกิจค้าปลีก ซึ่งเคยมีเงินสะพัดจากนักท่องเที่ยวเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ โดยมีรายได้จากการขายของที่ระลึก สินค้าแบรนด์เนม สุราชั้นดี รวมถึงสินค้าอื่น ๆ ที่หาจากที่อื่นไม่ได้ "

 

โดยอ้างอิงตัวเลขจากทาง สำนักงานการค้าระหว่างประเทศ (ITA) ระบุว่า ปี 2562 เม็ดเงินที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจับจ่ายใช้สอยในสหรัฐฯ นั้น มีมูลค่ากว่า 3.4 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 27% ของมูลค่าการใช้จ่ายทั้งหมดในภาคการท่องเที่ยวและเดินทาง

จับตา สหรัฐฯ หลังเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 19 เดือนที่ผ่านมา

 

จับตา สหรัฐฯ หลังเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 19 เดือนที่ผ่านมา

สำหรับประเด็นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าปลีกได้ให้ความเห็นว่า

 

อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในสหรัฐฯ จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นและปริมาณการใช้จ่ายกลับสู่ระดับเดียวกับก่อนที่โควิด-19 จะระบาด ประกอบกับเที่ยวบินที่ยังมีจำนวนไม่มาก ขณะที่อีกหลายประเทศ รวมถึง จีน ยังคงใช้มาตรการที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการเดินทางออกนอกประเทศ รวมถึงมาตรการต่าง ๆ ในการสกัดโควิด-19 ที่มีขั้นตอนซับซ้อนอาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวชะลอการจองเที่ยวบินออกไปก่อน

 

โดย แดเนียล บินเดอร์ ผู้เชี่ยวชาญจากโคลัมบัส คอนซัลติ้ง (Columbus Consulting) บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจค้าปลีก ให้ความเห็นในกรณีนี้โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์ 9/11 และการระบาดของโรคซาร์ส (SARS) ว่า

 

"ภาคธุรกิจค้าปลีกของสหรัฐฯจำเป็นต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะดึงนักท่องเที่ยวให้กลับมาได้ท่องเที่ยวมากขึ้นและใช้จ่ายอย่างอิสระในประเทศ"

 

logoline