svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ราคาบะหมี่ซองเกาหลีใต้ขยับแรงที่สุดในรอบ 12 ปี

08 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ราคาบะหมี่ซองของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นอาหารโปรดของชาวเกาหลีจำนวนมาก ปรับตัวขึ้นแรงที่สุดในรอบกว่า 10 ปี จากปัญหาวัตถุดิบที่แพงมากขึ้น ทำให้ราคาอาหารอื่น ๆ แพงตามไปด้วย

ราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเกาหลีใต้ในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 11%  ซึ่งถือเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 เรื่องนี้ส่งผลให้ราคาอาหารโดยรวมสูงขึ้น

 

จากสถิติของ Statistics Korea ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านสถิติของรัฐบาลเกาหลีใต้ ราคาราเม็งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2552 เมื่อราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของประเทศเพิ่มขึ้น 14.3%

 

ผู้เล่นหลัก 4 รายของตลาด ได้แก่ นงชิม ออตโตกิ ซัมยัง และพัลโด ล้วนขึ้นราคาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยอ้างว่าราคาวัตถุดิบ เช่น แป้งและน้ำมันปาล์มปรับตัวสูงขึ้น ราคาขายส่งของชิน รามยอน ของนงชิม ซึ่งเป็นผู้ขายอันดับต้น ๆ ของตลาดมาช้านาน เพิ่มขึ้นมากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ในเดือนสิงหาคม

 

ราคาบะหมี่ซองเกาหลีใต้ขยับแรงที่สุดในรอบ 12 ปี

ข้อมูลของรัฐบาลแสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่แค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่านั้น ที่ขึ้นราคา แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์จากแป้งอื่น ๆ ด้วย ราคาที่สูงขึ้นในปีนี้เนื่องจากราคาธัญพืชในต่างประเทศที่สูงขึ้น

 

บะหมี่โดยรวม ซึ่งไม่ใช่แค่เฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  มีราคาแพงกว่าปีที่แล้ว 19.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาคือบิสกิต (6.5 เปอร์เซ็นต์) พาสต้า (6.4 เปอร์เซ็นต์) ขนมปัง (6 เปอร์เซ็นต์) และขนมขบเคี้ยว (1.9 เปอร์เซ็นต์)

 

ราคาอาหารแปรรูปในเกาหลีใต้ ก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อมากขึ้น

ราคาบะหมี่ซองเกาหลีใต้ขยับแรงที่สุดในรอบ 12 ปี

ในขณะที่การบริโภคธัญพืชเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น แคนาดา รัสเซีย และสหรัฐฯ พบว่าพวกเขาผลิตธัญพืชได้น้อยลง เนื่องจากปัญหาเรื่องฝนและอุณหภูมิที่ไม่อำนวย ส่งผลให้ราคาข้าวสูงขึ้น 

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดมองว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในท้องถิ่นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 เมื่อพิจารณาจากการพึ่งพาอย่างมากสำหรับวัตถุดิบนำเข้าในอาหารของเกาหลีใต้

 

เมื่อสิ้นปีที่แล้ว อัตราการพึ่งตนเองด้านอาหารของเกาหลีใต้อยู่ที่ 45.8% ซึ่งหมายความว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของอาหารที่บริโภคที่นี่ มาจากนอกประเทศ 

 

รัฐบาลเกาหลีใต้บอกว่า กำลังหามาตรการต่าง ๆ เช่น การลดความซับซ้อนของพิธีการศุลกากรสำหรับผลิตภัณฑ์จากธัญพืช และการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาหกรรมธัญพืชในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มการผลิตธัญพืชในท้องถิ่น 

ราคาบะหมี่ซองเกาหลีใต้ขยับแรงที่สุดในรอบ 12 ปี

 

logoline