svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

08 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สั่นสะเทือนโลกการเงิน หลังเปิดกฎหมายสหรัฐ เตรียมเล็งเป้าไปที่ " เงินคริปโทเคอร์เรนซี่ " อย่างไร? อดีต รมว.คลังของไทย วิพากษ์ นับเป็นสัญญาณยอมรับ Cryptocurrency เป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งที่ถูกกฎหมาย

จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

 

8 พฤศจิกายน 2564 ยังต่อตามต่อกับกระแสความเคลื่อนไหวของประเด็นที่สังคมไทยให้ความสนใจในเรื่องของ กฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโทเคอร์เรนซี่ Cryptocurrency) เมื่อสหรัฐอเมริกา ขยับร่างกฎหมายใหม่ เป็นบวก หรือ ลบต่ออนาคตโลกการเงินไทย ?

 

เมื่อกระแสการลงทุนมาแรง แต่ "คริปโทเคอร์เรนซี่"  ยังไม่ถูกใช้เป็นหน่วยกำหนดราคาสิ่งของที่เป็นสากล และ ประเทศส่วนใหญ่ยังไม่รับรองให้ คริปโทเคอร์เรนซี เป็นสกุลเงินที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย


 
ล่าสุด นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วน Thirachai huvanatnaranubala -  ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เปิดแง่มุม วิพากษ์ “กฎหมายสหรัฐเล็งเป้าไปที่เงินคริปโทฯอย่างไร?”กับจุดเปลี่ยน 4 รูปแบบ ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อ การซื้อ-ขาย และ การกำกับดูแล " สกุลเงินดิจิทัล" ของประเทศต่างๆ ตามเนื้อหาใจความดังนี้ ...
 

กฎหมายสหรัฐ เล็งเป้าไปที่ " เงินคริปโทเคอร์เรนซี่ " อย่างไร? 

 

กฎหมายให้อำนาจรัฐบาลโจ ไบเดน ใช้งบประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อโครงสร้างพื้นฐาน ได้ผ่านสภาล่างแล้ว 

แต่มีข้อกำหนดใหม่เอี่ยม เกี่ยวกับเงินคริปโทฯ ที่ทำให้วงการนี้สะท้านสะเทือน

จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

โดยในรูป 1 ของ Volt Equity อธิบายว่า กฎหมายนี้กวาดเรียบ เพื่อบังคับให้องค์กรต่างๆ ถูกตีความว่า เข้าข่ายเป็นบริษัทโบรกเกอร์ เพื่อให้ทางการมีอำนาจกำกับควบคุม

 

ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงทุกนิติบุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการซื้อขายคริปโท เช่น โรบินฮูด อีเทรด ฯลฯ และมีการกำหนดนิยาม สำหรับ "สินทรัพย์ดิจิทัล" เป็นทางการ

จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

 

ในรูป 2 กฎหมายบัญญัติให้ทุกนิติบุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการซื้อขายคริปโท ต่อไปในอนาคต จะต้องจัดทำรายงานส่งสรรพากรสหรัฐเป็นประจำ 

ข้อมูลที่รายงานคือ ชื่อลูกค้า ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ยอดขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นในบัญชีลูกค้ารายนั้นในแต่ละปี และกำไรขาดทุน

 

โดยกรณีกำไร ต้องแยกระหว่างสินทรัพย์ที่ลูกค้าถือเป็นเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี และมากกว่าหนึ่งปี ซึ่งอัตราภาษีคงจะไม่เท่ากัน

สำหรับตลาดทุนปกติ ข้อมูลเหล่านี้มีพร้อมเพียงอัตโนมัติอยู่แล้ว เพราะมีการทำ Know Your Customer

 

 

 

จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

ในรูป 3 นิติบุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการซื้อขายคริปโท ถ้าไม่ยื่นรายงานตามที่กำหนด จะถูกปรับ 250 ดอลลาร์ต่อหนึ่งบัญชีลูกค้า 

โดยกำหนดเพดานค่าปรับเอาไว้ 3 ล้านดอลลาร์ 

ผู้มีหน้าที่รายงานนั้น นอกจากนิติบุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการซื้อขายคริปโทแล้ว กฎหมายได้บัญญัติ ให้ตัวนักลงทุนเอง จะต้องรายงานด้วย

 

โดยให้ถือว่า บุคคลธรรมดารายใดได้รับสินทรัพย์ดิจิทัล มูลค่า 10,000 ดอลลาร์ขึ้นไป ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับ กรณีที่ได้รับมูลค่าดังกล่าว ในรูปแบบเงินสด

 

ตรงนี้คือจุดยุ่งยาก เพราะกฎทั่วไปในสหรัฐ บุคคลธรรมดารายใดได้รับมูลค่า 10,000 ดอลลาร์ขึ้นไป ถ้าหากได้ในรูปแบบเงินสด จะต้องรายงานที่มาที่ไป

กฎนี้มีมานานแล้ว เพื่อป้องปรามการฟอกเงิน และการ finance การก่อการร้าย

จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

ในรูป 4 การซื้อขายในปี 2021 และ 2022 ได้รับยกเว้น ยังไม่ต้องรายงาน โดยจะต้องเริ่มรายงานตั้งแต่ปี 2023 

 

อย่างไรก็ดี คาดได้ว่า นิติบุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการซื้อขายคริปโท จะไม่รอจนถึงปี 2023 แต่น่าจะทะยอยเริ่มขบวนการทำงานเตรียมไว้เนิ่นๆ ตั้งแต่ปี 2022

ถามว่า ทำไมจึงมีนักวิเคราะห์ระบุว่า กฎใหม่นี้จะกระทบธุรกรรม defi บางชนิด?

นิติบุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการซื้อขายเงินคริปโทนั้น มี 2 จำพวก คือ 

จำพวกหนึ่ง เป็นตลาดแบบปกติ คล้ายตลาดหุ้น เช่น บริษัท Coinbase กลุ่มนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการจัดทำรายงาน

แต่ค่าใช้จ่ายจะไม่มากนัก เพราะสามารถใช้ AI ทำแบบอัตโนมัติได้ และถ้าไม่คุ้ม ในอนาคตก็จะสามารถปรับขึ้นค่าธรรมเนียมซื้อขายได้

กลุ่มนี้จึงจะไม่มีปัญหามากนัก

 

จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน  

อีกจำพวกหนึ่ง เป็นแพลตฟอร์มที่จับคู่ลูกค้าแบบอัตโนมัติ โดยจะจัดทำถังเดี่ยวจำนวนมาก

แต่ละถัง จะจับคู่เฉพาะจากคอยน์หนึ่ง(สมมุติ A)ไปอีกคอยน์หนึ่ง(สมมุติ  กล่าวคือ ถังนี้ จะไม่ยุ่งกับคอยน์อื่นใดเลย ยุ่งแต่เฉพาะ A แลกกับ B

เมื่อมีลูกค้า(สมมุติ ก)ต้องการขาย A ซื้อ B คำสั่งของ ก ก็จะวิ่งไปลงถังนี้ โดยอัตโนมัติ เรียกว่า Auto market making

ราคาพร้อมขาย A แลกกับ B จะคำนวนใหม่ตลอดเวลา โดยเฉลี่ยกับออเดอร์ของลูกค้าอื่นๆ ที่สั่งไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้น ในถังนี้ จะมี A พร้อมขายแลกเป็น B 

ต่อมา เมื่อมีลูกค้า(สมมุติ ข)ต้องการซื้อ A ขาย B คำสั่งของ ข ก็จะวิ่งลงไปถังนี้ และออเดอร์ก็จะจบลง ในราคาเฉลี่ย

วิธีซื้อขายแบบอัตโนมัติในแพลตฟอร์มเหล่านี้ จึงสามารถตั้งค่าธรรมเนียมได้ต่ำกว่าจำพวกแรกมาก

แต่เนื่องจากไม่มี Know Tour Customer จึงมีนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ออกมาวิจารณ์ ไม่ชอบใจแพลตฟอร์มเหล่านี้ เพราะลูกค้าที่ซื้อขายไม่ต้องเปิดเผยตัว

เกรงจะตกเป็นเครื่องมือฟอกเงิน หรือใช้ finance การก่อการร้ายได้ง่าย

 

จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

แต่กฎใหม่จะทำให้แพลตฟอร์มเหล่านี้ติดขัด เพราะทั้ง ก และ ข จะไม่รู้เลยว่า A และ B ที่แลกเปลี่ยนกันนั้น มาจากผู้ใด

ดังนั้น ข ที่ได้รับเงินคริปโทเกิน 10,000 ดอลลาร์ จึงไม่มีหนทางที่จะจัดทำรายงานได้เลย ซึ่งจะทำให้ ข มีความผิดอาญาอัตโนมัติ

รวมไปถึงตัวแพลตฟอร์มเอง ในฐานะนิติบุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการซื้อขายคริปโท ก็จะไม่สามารถจัดทำรายงานได้เช่นกัน

ดังนั้น ในที่สุด แพลตฟอร์มเหล่านี้ จะต้องทำ Know Your Customer ซึ่งนักลงทุนไม่ชอบ

หรือมิฉะนั้น ก็จะต้องประกาศ ไม่รับลูกค้าชาวอเมริกัน ซึ่งจะเท่ากับธุรกิจจะฝ่อไปโดยปริยาย

กลุ่มที่จะถูกกระทบอีกกลุ่มหนึ่ง น่าจะเป็นคอยน์ที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ในการที่ลูกค้า ก ข จะขอยืมคอยน์ เพื่อเอาไปซื้อขายล่วงหน้าแบบเก็งกำไร

ที่ผ่านมา คอยน์ลักษณะนี้ เป็นเครื่องมือหลักในการอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน สามารถเอาคอยน์ที่เป็นที่นิยม ในระหว่างที่ตนเองยังไม่ขาย ไปหาดอกเบี้ยได้ในอัตราสูง

  จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

สาเหตุที่คอยน์สามารถหาดอกเบี้ยได้ในอัตราสูงกว่าโลกจริงมาก ก็เพราะมีผู้เล่นที่ซื้อขายล่วงหน้า ถ้าเก็งกำไรถูกทาง จะสามารถได้ผลตอบแทนจากสัญญาอนุพันธ์ที่สูงหลายเท่า

จึงพร้อมที่จะขอยืมคอยน์ไปใช้เก็งกำไร ถึงแม้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงก็คุ้ม

แต่ในอนาคต เมื่อแพลตฟอร์มซื้อขายแบบอัตโนมัติ ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎใหม่ได้ ปริมาณธุรกิจอาจจะน้อยลง 

เมื่อนั้น ก็อาจจะกระทบคอยน์ที่สนับสนุนธุรกรรมภายในโลกคริปโทเหล่านี้

ถามว่า จะกระทบคอยน์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เช่น บิตคอยน์/ อีธีเรียม อย่างไร?

ผลกระทบจะกลับเป็นบวก 

เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการกำกับอย่างเป็นเรื่องเป็นราว อันเป็นการยืนยันว่า คอยน์ประเภทนี้ ได้มาถึงจุดเปลี่ยนแปลงแล้ว

..

จุดเปลี่ยนแปลงก็คือ กฎหมายฉบับนี้ เป็นการยอมรับเงินคริปโท ว่าเป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งที่ถูกกฎหมาย 

เป็นสินทรัพย์ที่เสมอภาคกับสินทรัพย์จริงต่างๆ ไม่ว่า หุ้น สกุลเงิน ทองคำ

เพียงแต่นักลงทุนจะต้องเลือกคอยน์ และแพลตฟอร์ม ที่ไม่มีปัญหาในการจัดทำรายงานเป็นสำคัญ

และเมื่อสหรัฐออกกฎเช่นนี้ ต่อไปก็น่าจะลามไปประเทศอื่นๆ

ถือได้ว่า เป็นก้าวใหญ่ที่สำคัญของโลกเงินคริปโท

 

  จับตา กม.สหรัฐเล็งเป้า "คริปโทเคอร์เรนซี่" ก้าวใหญ่ของโลกการเงิน

 

 ขอขอบคุณที่มา : Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

 

 

 

logoline