นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ได้ออกประกาศเรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา
โดยให้ผู้ประกันตนสัญชาติไทยยื่นขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามประกาศ สปสช. เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2564 โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. 64 นั้น
ทั้งนี้จากประกาศดังกล่าวของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ส่งผลให้ผู้ประกันตนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามนโยบายรัฐ และเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ขึ้นสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจาก สปสช. ภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินฯ กรณีบริการโรคโควิด-19 ได้แล้ว
ส่วนผู้ประกันตนที่ได้ยื่นเรื่องขอรับการช่วยเหลือไปยัง สปส. ก่อนหน้านี้นั้น ขณะนี้ทาง สปส.ได้เริ่มทยอยส่งเอกสารคำร้องของผู้ประกันตนมายัง สปสช. แล้วซึ่งมีประมาณกว่า 1,000 ราย เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับเขตพื้นที่ต่อไป
“ผู้ประกันตนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งได้เคยยื่นเรื่องขอรับการช่วยเหลือเข้ามาก่อนหน้านี้ หลังจากที่ สปส. ออกประกาศฉบับนี้ที่เป็นการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางกฎหมาย ทาง สปสช. จะประสานกับอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องฯ ทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ เพื่อเร่งพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกันตนที่คงค้างและรอรับการช่วยเหลือความเสียหายจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเร็วที่สุด
เช่นเดียวกับคนไทยทุกคนที่ได้รับสิทธินี้อย่างเท่าเทียม และด้วยผู้ประกันตนที่รอรับการเยียวยานี้มีจำนวนมาก ในส่วน สปสช. ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ 12 ชุด ในการเร่งพิจารณาในเขตพื้นที่ กทม.แล้ว” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนโควิด 19 หลักเกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
ผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ใน 3 จุด คือ
หลังจากได้รับคำร้องแล้ว จะมีคณะอนุกรรมการในระดับเขตซึ่งประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนภาคประชาชนเป็นผู้พิจารณาว่าจะจ่ายเงินเยียวยาหรือไม่และจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด ตามหลักฐานทางการแพทย์และระดับความหนักเบาของอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น
เมื่อมีผู้มายื่นคำร้องแล้ว คณะอนุกรรมการฯ ระดับเขตพื้นที่จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อเลขาธิการ สปสช. ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัย
สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330