svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมวิทย์ฯ ยันพบเดลต้าพลัสและอัลฟ่าพลัส ในไทย

26 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผย พบเดลต้าพลัส 1 ราย และ อัลฟ่าพลัส 18 ราย ในไทย ยังไม่พบข้อมูลที่ส่งผลต่ออาการป่วยหรือการแพร่ระบาด แต่ก็ต้องเฝ้าระวังและติดตามเชื้อกลายพันธุ์ใกล้ชิด

26 ตุลาคม 2564 ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึงการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิดในไทย ว่า ได้มีการสุ่มตรวจเชื้อกลายพันธุ์ พบว่า ในระยะหลัง  การแพร่ระบาดในประเทศไทยยังคงเป็นสายพันธุ์เดลต้า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการสุ่มตรวจเชื้อ 1,000 กว่าราย พบเป็นสายพันธุ์เดลต้า ร้อยละ 98.6 

กรมวิทย์ฯ ยันพบเดลต้าพลัสและอัลฟ่าพลัส ในไทย

ส่วนที่ 4 จังหวัดภาคใต้ หลังจากมีการตรวจตัวอย่างเชื้อมากขึ้น พบว่าส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เดลต้า ร้อยละ 90.3 สายพันธุ์อัลฟ่าร้อยละ 4.7  / สายพันธุ์บีต้า ร้อยละ 5 ทำให้ทั่วทุกภูมิภาคของไทยตอนนี้ เป็นการระบาดของเชื้อเดลต้า เป็นหลัก ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ เริ่มพบน้อยลง 

ส่วนสายพันธุ์เดิม อัลฟ่า เดลต้า  ที่มีการกลายพันธุ์ เป็นพลัสนั้น อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายว่า เป็นส่วนของสายพันธุ์เดิม แต่มีการเติมของการกลายพันธุ์บางส่วนขึ้นมา ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติของเชื้อที่มีการกลายพันธุ์ย่อย โดยการพบเดลต้าพลัสที่ต้องจับตา  คือมีการกลายพันธุ์ตำแหน่งที่เป็นตำแหน่งที่หลบภูมิคุ้มกันได้ และอาการอาจจะมีอาการมากกว่าเดิม ซึ่งการตรวจพบเกิดขึ้นในระบบเฝ้าระวังและสามารถตรวจจับได้ 

กรมวิทย์ฯ ยันพบเดลต้าพลัสและอัลฟ่าพลัส ในไทย

ก่อนหน้านี้ได้ตรวจพบอัลฟาพลัสมาก่อน  ทั้งหมด 18 ราย แบ่งเป็น ผู้ต้องขังที่จังหวัดเชียงใหม่ 2 ราย จากการเก็บตัวอย่างวันที่ 27 เดือนกันยายน อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค และพบในภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรีและตราด จากการตรวจสายพันธุ์ 1,119 ตัวอย่าง พบ 16 ราย  แบ่งเป็นแรงงานต่างด้าว 12 ราย และคนไทย 4 ราย ทั้งหมดทำงานในล้งลำไย โดยมีการเก็บตัวอย่างในวันที่ 9-10 เดือนตุลาคมที่ผ่านมา 

กรมวิทย์ฯ ยันพบเดลต้าพลัสและอัลฟ่าพลัส ในไทย

ทั้งนี้ สายพันธุ์อัลฟ่าพลัสที่พบในไทย มีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับเชื้อที่ระบาดอยู่ในประเทศกัมพูชา ส่วนเดลต้าพลัส ข้อมูลจากทั่วโลกมีการกลายพันธุ์ย่อยในสายพันธุ์เดลต้าหลายสายพันธุ์ย่อย  ตั้งแต่ AY.1 - AY.47 อย่างที่พบในประเทศอังกฤษคือเดลต้าพลัส  AY.4.2   ซึ่งพบมีความสามารถในการแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้าเดิม ร้อยละ 10-15 โดยยังไม่พบการระบาดในไทย  

กรมวิทย์ฯ ยันพบเดลต้าพลัสและอัลฟ่าพลัส ในไทย

ขณะที่ประเทศไทยมีการตรวจพบเชื้อเดลต้าพลัส AY.1 จำนวน 1 ราย  ที่จังหวัดพระนครศรีอยุทธยา และจากระบบเฝ้าระวังยังพบสายพันธุ์เดลต้าย่อยอีก 18 สายพันธุ์ที่เกิดระบาดในไทย โดยทั้งหมดยังไม่พบข้อมูลบ่งชี้ถึงความสามารถในการแพร่ระบาดหรืออาการป่วยที่เปลี่ยนไปจากเดิม
 

logoline