svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยว” โพสต์เอง “ค่านิยมย่อมมีวันหมดสมัย-ควรปฏิรูป”

25 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากประเด็นร้อนยกเลิกขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ล่าสุด“อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยว”โพสต์ค่านิยมย่อมมีวันหมดสมัยควรปฏิรูป

หลังจากสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงยกเลิกกิจกรรมขบวน “อัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ –  ธรรมศาสตร์  โดยให้เหตุผลว่าเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนและสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยม รวมถึงค้ำยันความเชื่อว่าคนไม่เท่ากันจนเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมเป็นอย่างมาก

 

ล่าสุด ( 25 ต.ค.64) อาจารย์สาวผู้เคยเป็นอดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยว งานบอล 64 ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Jay Pattajit Tangsinmunkong ระบุว่า “เห็นมีมิตรสหายหลายคนแชร์มาให้ดูว่า มีการยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานบอลแล้ว จากนี้ไป ภาพนี้คงจะกลายเป็นเพียงอดีต เป็นหลักฐานที่บอกเล่าค่านิยมทางสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง…ที่มันหมดยุคหมดสมัยไปแล้ว”

 

“อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยว” โพสต์เอง “ค่านิยมย่อมมีวันหมดสมัย-ควรปฏิรูป”

 

พูดตรง ๆ ว่า ตอนที่ไปสมัครคัดเลือกผู้อัญเชิญฯ หรือแม้แต่ตอนที่นั่งบนเสลี่ยงที่มีคนจำนวนมากแบกหาม เรายังคงเป็น ignorant ที่คิดเพียงว่า นี่เป็นกิจกรรมนึงของมหาวิทยาลัย และดีใจเหลือเกินตอนที่ผ่านด่านสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์กลุ่ม กิจกรรมกลุ่ม สัมภาษณ์เดี่ยว มาได้อย่างยากเย็นจนสุดท้ายได้รับเลือก…

“เราไม่ทันคิดด้วยซ้ำ ว่า นี่คือเครื่องสะท้อนและเป็นการผลิตซ้ำระบอบอำนาจนิยม” ในฐานะนิสิตเก่าคนนึง เราดีใจนะ ที่เห็นจุฬา ฯ ก้าวหน้าไปขนาดนี้ เห็นนิสิตรุ่นนี้ อบจ. รุ่นนี้ที่มีความคิดและ awareness ต่อสังคมไปไกลกว่าตอนที่เราอายุเท่าพวกคุณมาก…เรานับถือในความกล้าตั้งคำถามและกล้าเปลี่ยนแปลง…ทั้ง ๆ ที่รู้ทั้งรู้ว่าจะต้องเผชิญแรงต้านจากศิษย์เก่ามากมาย…เราหวังเหลือเกินว่า สิ่งนี้จะแปลว่า ตัวมหาลัยและสังคมไทยเองได้เดินมาไกลมากจากจุดที่มันเคยอยู่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว

 

เมื่อโลกเปลี่ยนไป ทุกค่านิยมย่อมมีวันหมดสมัย และเมื่อมันหมดสมัยแล้ว ก็ควรถูกปฏิรูป หรือแทนที่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ…ก่อนที่ค่านิยมที่ล้าหลังนั้น จะกลายเป็นตรวนโซ่ยึดตัวเองกับอดีต หรือกลายเป็นกรงขังตัวเองไปในที่สุด “เราเชื่อนะว่างานบอล version ใหม่ที่ “ให้คนเท่ากัน”จะมีสีสันและมีอะไรให้รอคอยยิ่งกว่าเดิม รอติดตามค่ะ”

 

“อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยว” โพสต์เอง “ค่านิยมย่อมมีวันหมดสมัย-ควรปฏิรูป”

 

 

นอกจากนี้ เธอยังขอพูดถึงในฐานะศิษย์เก่าและอาจารย์มหาลัย (มือใหม่) บ้าง ประเด็นเรื่องที่ อบจ. ยกเลิกกิจกรรมผู้อัญเชิญพระเกี้ยว แล้วมีอาจารย์ในมหาลัยหรือศิษย์เก่ามากมายออกมาต่อต้าน… “จริง ๆ คำถามที่น่าจะเอาขึ้นมาถกถามและถกเถียงพร้อม ๆ กันคือ คุณค่าและความหมายของ “มหาวิทยาลัย” รึเปล่านะ”

 

มากไปกว่าสถานที่ที่นิสิตนักศึกษาเข้ามาซึมซับความรู้จากอาจารย์ที่ศึกษาเฉพาะด้านในแต่ละสาขาวิชา มากไปกว่าการที่นิสิตนักศึกษาได้ฝึกทักษะการเข้าสังคมจากการพบปะเพื่อน ๆ หลากหลายคณะที่มีโลกทัศน์และพื้นเพที่แตกต่าง… มหาวิยาลัย ควรเป็นชุมชนที่นิสิตนักศึกษาได้ลองตั้งคำถาม เป็นเวทีให้นิสิตนักศึกษาได้โยนประเด็นและข้อถกเถียง และให้นิสิตนักศึกษาได้ลองสร้างสรรค์ หรือประดิษฐ์ไอเดียใหม่ ๆ…

.

“พูดง่าย ๆ คือเป็น Safe zone ให้อนาคตของชาติเหล่านี้ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผลดี ผลเสียที่จะตามมาจากการตัดสินใจแต่ละแบบ และค่อย ๆ เติบโตก่อนที่จะโบยบินไปสู่สังคมแห่งการทำงาน…” เพราะอย่าลืมว่า สำหรับเด็กรุ่นนี้ ความรู้อยู่เพียงการคลิก download และสังคมอยู่เพียงปลายนิ้วสัมผัสหน้าจอ…หากมหาวิทยาลัย ไม่พยายามใช้ประโยชน์จากการมีอยู่ของ community ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ยังเชื่อว่าปริญญาบัตรคือการ์ดไม้ตายที่สำคัญที่สุดต่อชีวิตคนคนนึงเหมือนที่เคยเชื่อกันมา…กว่าจะรู้ตัวอีกที ทุกอย่างอาจจะสายไป

 

 

“อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยว” โพสต์เอง “ค่านิยมย่อมมีวันหมดสมัย-ควรปฏิรูป”

 

หากมองจากมุมนี้ การยกเลิกกิจกรรมผู้อัญเชิญฯ มันก็เป็นเพียงการ test idea ลงในชุมชนมหาวิทยาลัยในรูปแบบหนึ่ง..สิ่งที่เด็กรุ่นนี้ทำ มันคือการแก้โจทย์ที่เด็กหอในถูกเกณฑ์โดยไม่เต็มใจ แก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของคนแต่ละตำแหน่งในขบวนทั้ง ๆ ที่ทุกคนเป็นนิสิตจุฬา ฯ เท่า ๆ กัน… “หากมองให้ไกลไปกว่าการจัดรูปขบวน มองให้ไกลกว่าตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว หรือรูปแบบของเสลี่ยงว่าจำเป็นต้องมีคนแบกหรือไม่…สิ่งที่เราเห็นจากประกาศของ อบจ. คือ การลองโยนคุณค่า เรื่อง ความเท่าเทียม และการมองคน “ให้คนเท่ากัน” ลงไปสู่ชุมชนมหาวิทยาลัย…และดูผลสะท้อนจากการประกาศนั้น…เท่านั้นเอง…”

 

 

“การยกเลิกขบวน ไม่ได้มีความหมายใหญ่โตไปถึงการด้อยค่าผู้ก่อตั้งสถาบัน และไม่ควรมีนัยที่สื่อไปถึงการลบหลู่ศักดิ์ศรีของมหาวิทยาลัย และไม่ควรมีความเกี่ยวพันอันใดต่อความอยู่รอดของมหาวิทยาลัย…เพราะหากชื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะบอบบางถึงเพียงนั้น คงไม่สามารถอยู่รอดมาร้อยกว่าปี”

 

“อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยว” โพสต์เอง “ค่านิยมย่อมมีวันหมดสมัย-ควรปฏิรูป”

 

 

และความรักและเคารพในมหาลัย มันควร go beyond รูปแบบว่าเราจะ “สักการะ” และเชิดชูตราของมหาวิทยาลัยอย่างไร แต่มันคือ เราจะใช้ความรู้ประสบการณ์ที่ได้ร่ำเรียนมาจากมหาวิทยาลัยพัฒนาสังคม พัฒนาประเทศ และโลกใบนี้ให้น่าอยู่ขึ้นอย่างไร…สิ่งนี้ต่างหากเล่า คือเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้…มิใช่หรือ..คำถามที่น่าถามกว่า คือ คณาจารย์ ศิษย์เก่า และผู้บริหารมหาลัย…เราได้สร้าง safe zone หรือบรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ ของนิสิตนักศึกษารุ่นปัจจุบัน ให้สมชื่อ “เสาหลักแห่งแผ่นดิน” อย่างที่กล่าวอ้างแล้วหรือยัง…

 

“อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยว” โพสต์เอง “ค่านิยมย่อมมีวันหมดสมัย-ควรปฏิรูป”

 

เราต้องไม่ลืมว่า สังคมมันวิวัฒนาการไปข้างหน้าจนเรามาถึงจุดนี้ได้…ก็ด้วยความกล้าที่จะตั้งคำถามต่อขนบประเพณีอันเก่าแก่ ความกล้าหักล้างทฤษฎีเก่าและเสนอไอเดียใหม่ ๆ ของคนรุ่นใหม่ในแต่ละยุคสมัย…มากกว่าความดันทุรังที่จะรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดมาอย่างไร้ข้อกังขา… “มิฉะนั้นแล้ว เราคงยังเชื่อว่าโลกแบน การหมอบกราบและการเอานักโทษไปขังในตะกร้อให้ช้างเตะก็คงยังเป็นบรรทัดฐานของสังคมไทย…มิใช่หรือ”

 

 

อีกอย่าง คำนิยามนึงของ วัฒนธรรม คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น…เป็นผลผลิตของมนุษย์ในแต่ยุคสมัย…นี่แปลว่า มันจะถูกปรับเปลี่ยน รื้อถอน หรือนำกลับมาทำซ้ำได้เสมอ…อาจจะมีวันนึง ที่ชุมชนมหาลัยเกิด nostalgia ต่อประเพณีในอดีต แล้วอยากรื้อฟื้นประเพณีนี้กลับมาด้วยรูปแบบใหม่ ๆ…ความเป็นไปได้นี้ก็ใช่ว่าจะเท่ากับศูนย์… “สิ่งที่เรา ในฐานะศิษย์เก่าควรกระทำ คือ ปล่อยให้มันเป็นฉันทามติของชุมชนมหาวิทยาลัยแต่ละยุคสมัยได้ตัดสินและเรียนรู้กันเองต่างหาก…มิใช่หรือ…”

 

 

logoline