svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แพทย์ชี้ 5 กลุ่มเสี่ยงเด็กถูกทำร้ายจากครอบครัวบกพร่อง

21 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แพทย์เผยจากกรณีเด็ก 8 ขวบถูกพ่อเลี้ยงทำร้ายจนเสียชีวิต เป็นเรื่องที่สังคมต้องหันมาทบทวนการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัว โดยเฉพาะคนใกล้ชิด ระบุสาเหตุส่วนใหญ่มาจากครอบครัวบกพร่อง 5 กลุ่มเสี่ยง

21 ตุลาคม 2564 รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์  ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  และ ผอ.ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี  สะท้อนปัญหาเด็กถูกทำร้ายในสังคมไทยว่า กรณีเด็กถูกทำร้ายตามสถิติส่วนใหญ่มักจะเกิดจากคนใกล้ตัว มีตั้งแต่พ่อแม่แท้ๆ ไปจนถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง หรือแม้แต่ปู่ย่าตายายคนที่เลี้ยงดู

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์  ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

ตลอดจนคนใกล้ตัวอื่นๆ  ที่ทำหน้าที่ดูแลเด็ก ส่วนใหญ่จะเกิดจากคนเหล่านี้มากกว่าคนแปลกหน้า โอกาสที่จะเกิดการทำร้ายเด็กมีความเป็นไปได้ทั้งหมด ซึ่งคนที่ก่อเหตุก็มักจะมีประวัติมาก่อน เพราะฉะนั้นเราพอจะรู้ความเสี่ยงของแต่ละครอบครัว 

ทั้งนี้ ครอบครัวที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการทำร้ายเด็ก แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

  1. ครอบครัวที่แตกแยกหย่าร้าง
  2. ครอบครัวที่ชอบใช้ความรุนแรง
  3. ครอบครัวที่ติดยาเสพติด ติดสุรา
  4. ครอบครัวที่มีปัญหาเคยติดคุกมีประวัติก่ออาชญากรรมมาก่อน และ
  5. ครอบครัวที่มีสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ เช่น เป็นโรคซึมเศร้า

แพทย์ชี้ 5 กลุ่มเสี่ยงเด็กถูกทำร้ายจากครอบครัวบกพร่อง

โดยทั้ง 5 กลุ่มนี้เข้าข่ายมีความเสี่ยงที่จะเกิดการทำร้ายเด็กในครอบครัว ซึ่งเป็นครอบครัวที่มีภาวะบกพร่อง จากงานวิจัยพบว่าครอบครัวที่อยู่ในภาวะเสี่ยงทำร้ายเด็กมีถึง 23%  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเกิดขึ้นทุกเคส แต่โดยสถิติแล้วเราสามารถเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้เพื่อเป็นการป้องกัน และเพื่อความปลอดภัยของเด็กได้ เพราะสัมพันธ์ไปถึงเรื่องการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการละเลยด้านอารมณ์ ด้านร่างกาย มีการทำร้ายทางอารมณ์และร่างกาย และทางเพศตามมา

ส่วนใหญ่เด็กที่ถูกทำร้ายจนตายมักจะเคยถูกทำร้ายมาก่อน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ก่อนจะถึงวันที่เด็กเสียชีวิต ไม่ใช่ครั้งเดียวตาย และเด็กกลุ่มนี้มักจะปรากฎตัวในสังคมในจุดใดจุดหนึ่งมาก่อน ซึ่งคนที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กจะสามารถพบเห็นและป้องกันได้ตั้งแต่แรก เช่น เห็นรอยแผลฟกช้ำ ร่องรอยบาดแผลในจุดที่ไม่น่าจะเป็นอุบัติเหตุปกติ คนรอบข้างเด็กสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ ผู้นำหมู่บ้าน เข้าไปเยี่ยมเด็กได้ หรือถ้าพบว่ารุนแรงก็สามารถแจ้ง 1300 ให้เข้าไปช่วยเหลือ เพื่อแยกเด็กออกมาก่อนที่เด็กจะถึงจุดที่อันตรายที่สุดจนถึงแก่ชีวิต 

แพทย์ชี้ 5 กลุ่มเสี่ยงเด็กถูกทำร้ายจากครอบครัวบกพร่อง

 รศ.นพ.อดิศักดิ์ ย้ำว่า พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก มาตรา 29 กำหนดว่า

"ผู้ใดผู้หนึ่งพบเห็นเด็กที่ถูกเลี้ยงดูไม่เหมาะสม จะต้องรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือผู้ที่มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก โดยไม่ชักช้า ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคน"

ขณะเดียวกัน วรรค 2 ของพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก มาตรา 29 ยังได้กำหนดหน้าที่ให้แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครูอาจารย์ หรือนายจ้าง ที่พบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจะต้องได้รับการสงเคราะห์ จะต้องรายงานให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก หรือฝ่ายปกครอง หรือตำรวจทราบโดยไม่ชักช้าเช่นกัน

แพทย์ชี้ 5 กลุ่มเสี่ยงเด็กถูกทำร้ายจากครอบครัวบกพร่อง
 

logoline