svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

19 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เป็นความโศกเศร้าหลังผู้ที่รักได้ทราบว่า ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิตเมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา ผู้ชายที่เป็นกำลังหลักในการชักนำภาครัฐ เอกชน และชุมชนพลิกภูเขาหัวโล้นพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

 

 

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล เป็นโอรสในหม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุลและหม่อมเจ้าลุอิสาณ์ ดิศกุล เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา (บลูมมิงตัน) ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นเข้ารับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก่อนที่จะได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีใน พ.ศ. 2510 และสนองพระราชดำริด้านการพัฒนาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตลอดพระชนม์ชีพ

 

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ประธานคณะกรรมการ และประธานคณะ ที่ปรึกษาของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามลำดับ เป็นกำลังหลักในการชักนำภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนพลิกภูเขาหัวโล้นพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงรายประมาณหนึ่งแสนไร่ให้กลายเป็นผืนป่าต้นน้ำอันสมบูรณ์ ทั้งยังลดปัญหาการปลูกพืชเสพติดในวงกว้างตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

ประสบการณ์ในการสนองงานพระราชดำริและความสำเร็จของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ทำให้ ม.ร.ว. ดิศนัดดา ในนามของ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลไทยและต่างประเทศ ให้นำประสบการณ์การดำเนินงานไปขยายผลในประเทศเมียนมา ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศอัฟกานิสถาน ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในฐานะต้นแบบของแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับโลก

ม.ร.ว. ดิศนัดดา ท่านได้ทุ่มเททั้งชีวิตและจิตใจ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ตลอดการทำงานกว่า 50 ปี โดยนอกเหนือจากการบริหารงานมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์แล้ว ยังร่วมก่อตั้งมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ มูลนิธิรากแก้ว และโครงการร้อยใจรักษ์เพื่อขยายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สัมฤทธิ์ผลอย่างกว้างขวาง

 

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

จากการอุทิศตนในการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดมากว่า 50 ปี ม.ร.ว. ดิศนัดดาได้รับการยอมรับและยกย่องจากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ อาทิ

 

- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ประจำปี 2538

- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2549

- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ประจำปี 2551

- หนึ่งในผู้ประกอบการทางสังคมดีเด่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จากมูลนิธิชวอบ (The Schwab Foundation) ประจำปี 2552

- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2555

- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประจำปี 2559

- ศิษย์เก่าผู้ทรงคุณวุฒิได้รับรางวัลThomas Hart Benton Mural Medallion มหาวิทยาลัยอินเดียนา (บลูมมิงตัน) ประจำปี 2559

 

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

 

 

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

 

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

นอกจากนี้ ม.ร.ว. ดิศนัดดา ยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหลายแห่ง ได้แก่ มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) มูลนิธิขาเทียม และมูลนิธิถันยรักษ์ ตลอดจนเป็นกรรมการของหน่วยงานชั้นนำต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

 

 

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

ม.ร.ว. ดิศนัดดา สมรสกับ คุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา มีบุตรชาย 2 คน ได้แก่ ม.ล. ดิศปนัดดา ดิศกุล และ ม.ล. ศานติดิศ ดิศกุล เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน คือ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

 

รำลึก “ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล” ผู้สนองงานตามพระราชดำริ

logoline