svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำ ธปท. ให้ความสำคัญป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์

18 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมเตรียม 3 แนวทาง ยกระดับการเงินดิจิทัลไทย

     วันนี้ (18 ต.ค.) นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวปาฐกถา เปิดงาน “Bangkok FinTech Fair 2021: ก้าวสู่ทศวรรษใหม่กับโลกการเงินไทยแห่งอนาคต” เนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคการเงินไทยมีอย่างน้อย 2 ด้าน คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการทางการเงินอย่างกว้างขวาง เช่น บริการชำระเงิน โครงสร้างพื้นฐานพร้อมเพย์ (PromptPay) และ 2 การเพิ่มขึ้นของบทบาทของผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันการให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลนี้ช่วยให้ประชาชนกว่า 2 แสนราย เข้าถึงสินเชื่อกว่า 2 พันล้านบาท

     นอกจากนี้ ยังมีผู้เล่นใหม่ๆ จากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่พยายามเข้ามาปิดช่องว่างในการให้บริการทางการเงิน หรือสนับสนุนการทำธุรกิจให้กับกลุ่ม เช่น กลุ่ม สาร์ทอัพฟินเทค ที่เข้ามาให้บริการ peer-to-peer lending platform (P2P) เชื่อมโยงผู้กู้กับผู้ให้กู้โดยตรง หรือ BigTech platforms ที่มีการให้บริการครบวงจรตั้งแต่ให้บริการซื้อขายสินค้า ส่งของ ลงทุน ไปจนถึงการให้บริการทางการเงิน  และล่าสุด การให้บริการในลักษณะ Decentralized Finance หรือ DeFi ที่ดำเนินกิจกรรมทางการเงินทุกอย่างด้วย smart contracts ซึ่งเป็นการตัดบทบาทของตัวกลางออกไป 

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

     นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ในอนาคต ธปท.จะดำเนินการใน 3 แนวทางสำหรับสร้างภูมิทัศน์ของระบบการเงินไทยในระยะต่อไป แนวทางที่ 1 คือ การเปิดให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัล ที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม โดยต้องเปิดกว้างให้ผู้ให้บริการทั้งรายเดิมและรายใหม่สามารถเข้ามาต่อยอดบริการทางการเงินได้ และแข่งขันได้อย่างเท่าเทียมกัน

     ขณะเดียวกัน การพัฒนาเงินบาทดิจิทัล หรือ CBDC ก็จะเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบการเงินในอนาคต เพิ่มทางเลือกสำหรับประชาชนและธุรกิจให้สามารถเข้าถึงเงินดิจิทัลที่ปลอดภัยได้ และ ธปท.ยังร่วมผลักดัน เช่น digital ID ภายใต้ NDID platform เพื่อใช้ยืนยันตัวตนสำหรับธุรกรรมในภาคธุรกิจ ภาคธนาคาร และภาครัฐ

     แนวทางที่ 2 คือการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการแข่งขันอย่างเท่าเทียมเพื่อให้เกิดนวัตกรรมจากผู้เล่นทุกประเภท โดยจะปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อทั้งการปรับตัวของผู้เล่นรายเดิมและการเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายใหม่

การทำธุรกรรมทางการเงินดิจิทัลของคนไทย

     แนวทางที่ 3 คือ การเปิดเผยข้อมูล พัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการทางการเงินต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำถูกต้องในการวางนโยบาย การบริหารความเสี่ยง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ การเปิดให้เข้าถึงข้อมูลสะดวกขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยี APIs ที่มีมาตรฐานร่วมกัน จะช่วยลดความไม่เท่าเทียมของการมีข้อมูล และเพิ่มประโยชน์จากการใช้ digital footprint ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแข่งขันกันที่บริการอย่างแท้จริง

สุดท้ายนี้คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องกล่าวถึงความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งด้านภัยไซเบอร์และการหลอกลวงที่ทวีจำนวนและความหลากหลายของรูปแบบมากขึ้น ธปท.จึงยังคงให้ความสำคัญกับการยกระดับความสามารถให้การป้องกันและรับมือกับภัยไซเบอร์ของผู้ประกอบการทางการเงินอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานสากล รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ใช้บริการในการระวังป้องกันตัวเอง 

 

คลิกดูไลฟ์สด

https://www.facebook.com/watch/bankofthailandofficial/

logoline