svasdssvasds
เนชั่นทีวี

พระราชสำนัก

ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”

13 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

๑๓ ต.ค. ของทุกปี ถือเป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร "๕ ปีที่คนไทยคิดถึงในหลวงตลอดมา" เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และสืบสานพระราชปณิธานอันหาที่สุดมิได้ที่สุด ของ "นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่"

วันนี้ขออนุญาตหยิบยกบทความดีๆ จากนักเขียน หรือ บก.นิตยสารชื่อดังอย่าง"นิตยสารสีสัน" นำมาฝากกัน โดยเป็นเรื่องราวหรือบันทึกส่วนตัวก็ว่าได้ ที่ท่านบก.ได้เขียนบรรยายเอาไว้เต็มเปี่ยม ไปด้วยความรู้สึกสมจริงและอิ่มเอมหลังที่ได้อ่านทุกตัวอักษรจบลงแม้ว่าท่อนสุดท้ายจะทำให้หัวใจผู้อ่านแอบเจ็บช้ำบ้างก็ตาม..อยากให้ทุกท่านได้ลองสัมผัสได้อ่านด้วยหัวใจตนเองสักครั้ง!!

...  

...ตั้งแต่จำความได้ ผมก็เห็น “กรอบรูปเก่ากรอบหนึ่ง” แขวนอยู่ ในร้านหนังสือพิมพ์และขายของจิปาถะของป้า ซึ่งผมไปอาศัยอยู่กินด้วย กรอบรูปแขวนอยู่เหนือหัว ที่เสาใกล้ๆ โต๊ะทำงานของป้า ...

 

ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”


ต่อมาขยับย้ายร้านอีก ๒ ครั้ง กรอบรูปนี้ก็ยังถูกนำมาแขวนเหมือนเดิม จนกระทั่งช่วงปลายชีวิต ป้าเก็บรวบรวมข้าวของต่างๆแบ่งให้หลานๆ ไปเก็บต่อ “กรอบรูปนี้” ตกมาอยู่ที่ผม พร้อมหนังสือเก่าๆ อีกจำนวนหนึ่ง ...

...กรอบดูเก่าคร่ำ ตัวภาพมีร่องรอยน้ำ เข้าใจว่าเพราะฝนรั่วไหลซึม และเป็นตอนที่ป้าไม่ได้อยู่ที่ร้านแล้ว ด้านบนของภาพถูกแมลงกินกระดาษกัดแทะ ...


...ตอนแรกผมคิดว่าจะถอดกรอบออกแล้วใส่กรอบใหม่ แต่กลัวว่าภาพจะติดอยู่กับกระจกในกรอบเดิม จะพลอยเสียหายมากขึ้นไปอีก จึงปล่อยเอาไว้อย่างเดิมก่อน แล้วค่อยคิดหาวิธีเอาทีหลัง
 

ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”

...ภาพในกรอบคือ “พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถสิริกิติ์ ประทับยืนตรงหน้ามุขของ ที่ทำการศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรีหลังเก่า”
 

...ภาพนี้ไม่ได้มีที่ร้านป้าเพียงภาพเดียว บ้านเพื่อนผมหลายคนที่สิงห์บุรีก็มี เป็นขนาดเดียวกันหมด เข้าใจว่า หลังจากที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” เสด็จกลับ ทางจังหวัดคงสอบถามชาวบ้านร้านตลาดว่า

“ใครประสงค์จะเก็บพระบรมฉายาลักษณ์นี้ ไว้เป็นที่ระลึกหรือไม่ และจัดการพิมพ์ขึ้นมาจ่ายแจกให้”

ดังนั้น เกือบทุกร้านที่อยู่มาเก่าแก่ในตลาดสิงห์บุรี น่าจะมีพระบรมฉายาลักษณ์นี้อยู่ เว้นแต่ว่าจะชำรุดหรือสูญหายไป

... เหตุการณ์ในภาพ ถูกบันทึกไว้ว่า “เป็นวันที่ ๒๘ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘” เป็นหนึ่งในหมายกำหนดการเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” ซึ่งเริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ที่จังหวัดนครปฐม และหลังจากนั้น “พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วประเทศ”

... แต่ก่อนหน้าหมายกำหนดการที่วางไว้นี้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” ก็เคยเสด็จไปพบราษฎรอย่างใกล้ชิด ๒ ครั้งเป็นการส่วนพระองค์ ครั้งแรกในปี ๒๔๙๕ เสด็จฯ บ้านห้วยมงคล ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสำรวจภูมิประเทศไว้ใช้ในการก่อตั้งโครงการพระราชดำริ

 

ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”

ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ” ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”

และอีกครั้งเป็นปี ๒๔๙๗ เสด็จฯ บ้านโป่ง ราชบุรี เพื่อทรงเยี่ยม และพระราชทานความช่วยเหลือ ประชาชนที่เดือดร้อนจากไฟไหม้ตลาดที่นั่น ...
ตอนเด็กๆ ผมเห็น “พระบรมฉายาลักษณ์เสด็จฯ ที่โน่นที่นี่ รวมถึงต่างประเทศ” ในหนังสือที่ร้านป้าขาย อย่าว่าแต่เข้าใจ ผมไม่ได้สนใจด้วยซ้ำ ในความเป็นเด็ก ตื่นลืมตาขึ้นมาเราก็นึกแต่เรื่องจะเล่นโน่นเล่นนี่ แต่พอโตขึ้นมา ผมถึงรู้ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ต่างๆ เพื่ออะไร

... การเสด็จฯ ไปยังที่ไกลแสนไกล ในยุคที่ความก้าวหน้าที่สุดของการเดินทางคือเฮลิค็อปเตอร์ แต่ก็ลงจอดได้เฉพาะในเขตเมืองใหญ่ การเสด็จพื้นที่ต่างๆของพระองค์จึงมักใช้รถยนต์ และไม่ใช่ทุกเส้นทางจะสะดวกราบรื่น ยังต้องเสด็จไปในแห่งหนที่ลำบากทุรกันดาร แตกต่างด้านสภาพแวดล้อม, ภาษาและความเชื่อ


... สิ่งที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงปฏิบัติ ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใด ในโลกนี้กระทำได้เฉกเช่นพระองค์..
ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”

ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”

 

...หากใช้ภาษาชาวบ้านก็คงจะบอกได้ว่า โดยสถานะของพระมหากษัตริย์ พระองค์ไม่ต้องทำก็ได้ ไม่มีใครว่า แต่พระองค์เลือกที่จะทำ และทุกวันนี้ ก็ปรากฏชัดแล้วว่า “ทุกอย่างที่พระองค์เลือกทำนั้น มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน”

ตามโบราณราชประเพณีนั้น เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชย์อย่างสมบูรณ์แล้ว จะต้องเสด็จออกให้ราษฎรเข้าเฝ้าเพื่อจะได้รู้จักพระองค์ แต่ในยุคที่การคมนาคมยังไม่สะดวก การเดินทางของประชาชนในท้องถิ่นห่างไกลเพื่อมาเข้าเฝ้าเป็นเรื่องลำบาก

พระองค์จึงตัดสินพระทัย “เสด็จฯออกไปพบประชาชนเสียเอง”
 

การเสด็จออกทั่วประเทศ ทำให้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” ได้ใกล้ชิดกับราษฎร เลือนลบภาพ “สมมุติเทพของพระมหากษัตริย์ในอดีต”

นอกจากนั้น ยังทำให้พระองค์ได้พบเห็นปัญหาอุปสรรคมากมาย ที่ขัดขวางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงความไม่เอาใจใส่และล่าช้าของระบบราชการ , ความเอารัดเอาเปรียบของทุนนิยม และพฤติกรรมของประชาชนเอง ...
 

ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”

... ผมคิดว่าเพราะสาเหตุเหล่านี้ จึงกลายเป็นที่มาของ “หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง” และ “โครงการพระราชดำรินับพันๆ” จนดูเหมือนว่า “พระองค์แทบไม่มีเวลาสำหรับเรื่องส่วนพระองค์เองเลย” ...
... หลังจากการเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎร ๔ ภาค ที่เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ...

จากนั้น “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” ก็เสด็จออกต่างจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งมีพระชนมพรรษามากขึ้น และพระวรกายไม่เอื้ออำนวย ...

... ภาพที่คุ้นตาของคนไทยมายาวนานลักษณะหนึ่ง คือ “พระบรมฉายาลักษณ์” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สะพายกล้องและมีแผนที่อยู่ในพระหัตถ์” นั่นคือเครื่องมือของการ “บันทึกทุกข์สุขของประชาชน เพื่อนำมาใช้คิดหาหนทางแก้ไข ผมยังรู้สึกว่า “พระองค์ทำงานมากกว่าข้าราชการทุกคน”

นอกจาก ในประเทศทั่วทุกพื้น ที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้เสด็จเยือนต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๑๐ แต่ทั้งหมดก็เพียง ๓๑ ครั้ง และอีกครั้งหนึ่ง ทิ้งช่วงห่างถึง ๒๗ ปี จึงเสด็จไปยังบ้านพี่เมืองน้องคือ ประเทศลาว ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗

... เหตุที่ทรงหยุดการเสด็จฯ เยือนประเทศต่างๆ ก็เพราะทรงเห็นว่า ประเทศไทยในขณะนั้น มีปัญหาหนักๆ อยู่มากมาย ทั้งปัญหาความยากจน ปัญหาทางธรรมชาติ และปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ ทรงต้องการใช้เวลาช่วยคิดแก้ปัญหา

ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”

ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”
...
ในการเสด็จฯ ต่างประเทศของพระองค์ เป็นการเจริญสัมพันธไมตรีตามหน้าที่ ตามธรรมเนียมประเพณี แต่ก็ทรงเรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์อีกหลายอย่างเพื่อมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาของประเทศ

... ไม่ใช่การเดินทางไปท่องเที่ยว ที่ซ่อนอยู่ในคำว่า “ดูงาน” ของข้าราชการอีกมากมาย ซึ่งสุดท้ายก็ไม่เกิดมรรคผลอะไรต่อบ้านเมือง นอกจาก รูปถ่ายแถวทัวริ่งสป็อท และข้าวของจากการช็อปปิ้งที่เพิ่มขึ้นในบ้านของแต่ละคน ...


... ในโลกนี้ มีนักเดินทางผู้โด่งดังอยู่มากมายมหาศาล ...
... หลายคนได้ปักธงบนยอดเขาที่สูงสุด หลายคนดำดิ่งลงจุดที่ลึกที่สุดของก้นมหาสมุทร หลายคนเป็นนักรบผู้เดินทางไล่ล่าแผ่นดิน และทรัพยากรของคนอื่น ...

... แต่คนที่ “เดินทางไปทั่วแผ่นดิน เพื่อขุดคุ้ย ความทุกข์ของผู้คน มาขบคิดหาทางแก้ไขอย่างไม่หยุดยั้ง อาจจะมีเพียงคนเดียว และต่อไปก็จะไม่มี” ...
... เพราะพระองค์ ทรง “หยุดเดินทางแล้ว” ...

 

ในหลวง ร.๙ ที่ปวงชนชาวไทยคิดถึง น้อมรำลึกถึง “ นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ”
ขอขอบคุณที่มา : คุณทิวา สาระจูฑะ และ Thitiwat Tanagaroon

logoline