svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

เกิดพายุฝนกระหน่ำลมกระโชกแรงซัดช้างหน้าหลวงปู่ทวดล้มเสียหาย 3 ตัว

12 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พังงา - พายุฝนและลมกระโชกแรงในพื้นเทศบาลเมืองพังงา ทำให้รูปปั้นฝูงช้างจำนวน 3 ตัว ด้านหน้าองค์หลวงปู่ทวด ถูกลมพายุกระโชกแรงซัดล้มลงเสียหาย

     12 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้เกิดพายุฝนและลมกระโชกแรงในพื้นเทศบาลเมืองพังงา ตั้งแต่ช่วงย่ำรุ่ง พร้อมกับมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีชาวบ้านจำนวนมากตกใจตื่นกับเสียงลมพายุที่กระโชกแรงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วง 03.00 น.จนถึง 06.00 น. ต่างบอกกันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เคยเจอลมพายุกระโชกแรงและเสียงดังแบบนี้มาก่อน ขณะที่บางคนบอกว่ากระเบื้องหลังคาบ้านปลิวหายไปหลายแผ่น ขณะที่บริเวณลานหลวงปู่ทวด สวนกาญจนาภิเษก เขตเทศบาลเมืองพังงา พบว่ารูปปั้นฝูงช้างจำนวน 12 ตัว ด้านหน้าองค์หลวงปู่ทวด ถูกลมพายุกระโชกแรงซัดล้มลงเสียหายจำนวน 3 ตัว

เกิดพายุฝนกระหน่ำลมกระโชกแรงซัดช้างหน้าหลวงปู่ทวดล้มเสียหาย 3 ตัว

เกิดพายุฝนกระหน่ำลมกระโชกแรงซัดช้างหน้าหลวงปู่ทวดล้มเสียหาย 3 ตัว      ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศพายุ “คมปาซุ” ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2564 พายุโซนร้อนกำลังแรง “คมปาซุ” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 19.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 120.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 13-14 ตุลาคม 2564 โดยจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

เกิดพายุฝนกระหน่ำลมกระโชกแรงซัดช้างหน้าหลวงปู่ทวดล้มเสียหาย 3 ตัว

      เกิดพายุฝนกระหน่ำลมกระโชกแรงซัดช้างหน้าหลวงปู่ทวดล้มเสียหาย 3 ตัว      อนึ่ง ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

 

ภาพ/ข่าว โดย:
คนิตา สีตอง จ.ตรัง

 

logoline