svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ

07 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 ต.ค. 2564 ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 55,957 ล้าน ลบ.ม. (68%) เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 16 แห่ง พื้นที่เสี่ยงระดับน้ำเอ่อล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำมูล

7 ตุลาคม 2564 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)  สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ ดังนี้ 

  • ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตก
  • แม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกเว้นภาคเหนือมีแนวโน้มลดลง
  • ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 55,957 ล้าน ลบ.ม. (68%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 49,268 ล้าน ลบ.ม. (69%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 16 แห่ง บึงบอระเพ็ด อ่างฯ แม่มอก อ่างฯ แควน้อยบำรุงแดน อ่างฯป่าสักชลสิทธิ์ อ่างฯ ทับเสลา อางฯ กระเสียว อ่างฯ จุฬาภรณ์ อ่างฯ อุบลรัตน์ อ่างฯลำตะคอง อ่างฯ ลำพระเพลิง อ่างฯ มูลบน อ่างฯ ลำนางรอง อ่างฯ ขุนด่านปราการชล อ่างฯ นฤบดินทรจินดา และอ่างฯ หนองปลาไหล

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ

กอนช. ประกาศเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำมูล โดย ประเมินมวลน้ำหลากสูงสุดจากลำตะคอง ลำจักราช จ.นครราชสีมา และลำน้ำสาขาลุ่มน้ำมูลตอนบน คาดการณ์มวลน้ำสูงสุดจะไหลผ่าน จ.อุบลราชธานี ในช่วงวันที่ 8 - 11 ต.ค. 64 ส่งผลให้มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 0.5 - 1.00 ม.

 

โดยมีพื้นที่เสี่ยงระดับน้ำเอ่อล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำมูล จ.บุรีรัมย์ อ.สตึก จ.สุรินทร์ อ.ชุมพลบุรี อ.ท่าตูม อ.รัตนบุรี จ.ร้อยเอ็ด อ.โพนทราย อ.สุวรรณภูมิ จ.ศรีสะเกษ อ.เมือง อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ อ.บึงบูรพ์ อ.ยางชุมน้อย อ.ราษีไศล อ.ศิลาลาด อ.อุทุมพรพิสัย และ อ.กันทรารมย์รวมทั้งมวลน้ำหลากจากแม่น้ำชี จะไหลมารวมกับแม่น้ำมูล คาดการณ์มวลน้ำสูงสุดจะไหลผ่าน จ.อุบลราชธานี ในช่วงวันที่ 16 - 20 ต.ค. 64

 

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ

กอนช.ประชุมคณะทำงานด้านอำนวยการ ครั้งที่ 2/2564 ร่วมกับหน่วยงานภายใต้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยร่วมกับกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ โดยระบายน้ำในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ โดยเขื่อนอุบลรัตน์จะระบายน้ำด้วยอัตรา 20 ล้าน ลบ.ม./วัน
  • กรมชลประทานจะปรับลดการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลงเหลือ 800 ลบ.ม./วินาที และจะทยอยปรับลดลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์
  • กรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำให้เต็มศักยภาพเพื่อให้ไม่เป็นการหน่วงน้ำ และสามารถระบายน้ำได้ พร้อมทั้งเร่งระบายน้ำที่ไม่สามารถเก็บกักได้ลงแม่น้ำโขง

ในที่ประชุมได้มีการเสนอกรอบแนวทางการรวางแผนนำน้ำหลากในทุ่งรับน้ำต่าง ๆ รวมถึงมวลน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำในปัจจุบันมาบริหารจัดการสำหรับฤดูแล้งหน้า ซึ่งสามารถเก็บสำรองไว้เพื่อทำการเกษตรนาปรัง หรือพืชใช้น้ำน้อย ก่อนเสนอเป็นมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2564/65

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการติดตามสถานการณ์และการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์พายุที่อาจจะเข้าสู่พื้นที่ภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งคาดว่าตุลาคมนี้มีโอกาสฝนตกเพิ่มขึ้น

 

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ

logoline