svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ.เซ็นสั่งซื้อยา "โมลนูพิราเวียร์" คาดได้ใช้ ธ.ค.นี้

06 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมการแพทย์ คาดไทยได้ยาโมลนูพิราเวียร์ ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ธันวาคมนี้ หากอย.สหรัฐอนุมัติ ขณะที่ผลการวิจัยในมนุษย์ระยะ 3 ของต่างประเทศ พบว่า ช่วยลดอาการป่วยรุนแรงและนอนโรงพยาบาล ร้อยละ50 และยังไม่พบผู้เสียชีวิตหลังจากใช้ยาโมลนูพิราเวียร์

6 ตุลาคม 2564 นายแพทย์ สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยความคืบหน้ากรณีการนำเข้า ยาโมลนูพิราเวียร์ ว่า  กรมการแพทย์ได้มีการพูดคุยกับบริษัทต่างๆ เกี่ยวกับยาต้านไวรัสที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นหนึ่งในยาที่ให้ความสนใจและได้มีการพูดคุยมาต่อเนื่อง

 

สธ.เซ็นสั่งซื้อยา "โมลนูพิราเวียร์" คาดได้ใช้ ธ.ค.นี้

โดยโมลนูพิราเวียร์ เป็นยาต้านไวรัสโควิด ชนิดเดียวที่ทำออกมาตอนนี้  หลักการ คือ ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสโดยตรงไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม หรือสายพันธุ์ใหม่ที่มีอยู่ขณะนี้ ยาโมลนูพิราเวียร์พิสูจน์แล้วว่า สามารถยับยั้งไวรัสไม่ให้เพิ่มจํานวนได้

ทั้งนี้ ได้มีการวิจัยแบบสุ่มระยะที่ 3 พบว่าผู้ป่วยโควิดที่มีอาการเล็กน้อย ปานกลางและไม่ได้รับวัคซีน ได้ให้ยาภายใน 5 วันตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการ โดยผู้ป่วยทุกรายจะต้องมีปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงอย่างน้อย 1 ปัจจัย เช่น โรคประจำตัวร่วมด้วย อย่างใดอย่างหนึ่ง ร่วมกับมีอาการป่วยไม่รุนแรง

 

ข้อมูลจากการวิเคราะห์เบื้องต้นในการทำวิจัยกับผู้ป่วย 775 คน โดยให้ยาโมลนูพิราเวียร์ 385 คน และยาหลอก 377 คน ในปริมาณ 800 มิลลิกรัม วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น เป็นระยะเวลา 5 วัน  พบว่าลดความเสี่ยงในการนอนโรงพยาบาลและเสียชีวิตภายใน 29 วันได้ร้อยละ 50  โดยในกลุ่มที่ได้รับยาจริง พบว่า ไม่มีอาการเสียชีวิตเลย

สธ.เซ็นสั่งซื้อยา "โมลนูพิราเวียร์" คาดได้ใช้ ธ.ค.นี้

ทั้งนี้ แผนดำเนินการยาโมลนูพิราเวียร์ หากได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉินได้ ก็จะเป็นยาต้านโควิด-19 ชนิดเม็ดตัวแรกที่จะได้รับการรับรองจากทางการสหรัฐ 
 

โดย Merck  ตั้งเป้าผลิตยาให้ได้สำหรับ 10 ล้านคนภายในปีนี้ และมีแผนการทำสัญญากับฐานการผลิตยาหลายแห่งในประเทศอินเดีย เพื่อให้ได้ยาโมลนูพิราเวียร์ที่มีราคาถูกให้กับประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง

 

ส่วนที่มีรายงานว่าการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์คอสละ 24,000 บาท นั้น นายแพทย์ สมศักดิ์อธิบายว่า เป็นการคำนวณราคาในประเทศที่มีรายได้สูง  ส่วนของประเทศไทย ราคาจะถูกกว่านั้น ในส่วนของการเปิดเผยราคาที่ทำการซื้อขาย เบื้องต้น ยังขอไม่เปิดเผยราคา เนื่องจากอยู่ในข้อตกลงสัญญาซื้อขายกับบริษัทผู้ผลิต  แต่ยืนยันว่า ราคาจะถูกกว่าสหรัฐฯแน่นอน

ส่วนประเทศไทยกรมการแพทย์ได้หารือกับ MSD ซึ่ง เป็นบริษัทลูกของ Merck ตั้งแต่ช่วงกรกฎาคมที่ผ่านมา  จากนั้น ช่วงเดือนสิงหาคม ถึง กันยานได้ มีจัดหา จัดซื้อ และสั่งจอง  ช่วงกันยายนถึงตุลาคมได้มีการทำสัญญาซื้อขายยาโมนูลพิราเวียร์ซึ่งมีข้อตกลงบางส่วนที่ต้องเก็บเป็นความลับ โดยได้ทำการเซ็นสัญญาเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวานนี้  โดยอยู่ระหว่างเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน  จากนั้นก็จะเตรียมขึ้นทะเบียนกับอย.ไทยประมาณเดือนพฤศจิกายน 


คาดว่าประเทศไทยจะได้ยาโมลนูพิราเวียร์ มาสำรองใช้ ประมาณเดือนธันวาคมนี้  โดยต้องอยู่กับการขึ้นทะเบียนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกาด้วยว่าจะขึ้นทะเบียนเสร็จสิ้นเมื่อไหร่  อย่างไรก็ตาม ยังมีอีก 1-2 บริษัท รวมถึงบริษัทไฟเซอร์ ที่ได้มีการทดลองวิจัยยาต้านไวรัสโควิด 


สำหรับกลุ่มอาการที่ใช้ยา กลุ่มอาการน้อยถึงปานกลางควรจะมีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย ส่วนหญิงตั้งครรภ์ ยังไม่แนะนำให้กินยาชนิดนี้  เบื้องต้น ผู้ป่วยโควิด จะได้รับยาคลอสนึง 40 เม็ด กินเช้าเย็นรวมวันละ8เม็ด  เม็ดละ200 มิลลิกรัม 


แต่ทั้งนี้ไทย จะต้องมีการประชุมหารือกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ถึงการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ว่าจะถูกนำมาแทนยาฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ หรือจะใช้รักษาควบคู่กันไป

logoline