svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมชลฯ วางแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-แล้ง ให้ชาวจ.ขอนแก่น

05 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อส่งกำลังใจและมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น วางแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และภัยแล้ง 

5 ตุลาคม 2564 กรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อส่งกำลังใจและมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น พร้อมวางแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และภัยแล้ง ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

กรมชลฯ วางแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-แล้ง ให้ชาวจ.ขอนแก่น

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายไชยวิชญ์ กัณหะยุวะ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 นายยุทธนา กองถวิล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานขอนแก่น และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณบ้านดอนดู่ หมู่ที่ 9 และ หมู่ที่ 10 ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น พร้อมมอบเครื่องอุปโภค-บริโภค จำนวน 100 ชุด เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย

 

กรมชลฯ วางแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-แล้ง ให้ชาวจ.ขอนแก่น

รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน มีแผนพัฒนาแก้มลิงแบบอ่างฯพวง เชื่อมโยงอ่างเก็บน้ำหนองกองแก้ว ไปยังอ่างเก็บน้ำกุดละว้าอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเข้าสู่อ่างเก็บน้ำแก่งละว้า เป็นการพัฒนาแก้มลิงสองฝั่งลำน้ำชี ส่วนระบบส่งน้ำเป็นการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยระบบไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านดอนดู่ หากดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถเพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำได้มากขึ้น เป็นแหล่งน้ำดิบที่ยั่งยืนของชาวอำเภอชนบท อำเภอบ้านไผ่ และพื้นที่ใกล้เคียง ให้มีน้ำเพื่อทำการเกษตร ตลอดจนเพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี

กรมชลฯ วางแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-แล้ง ให้ชาวจ.ขอนแก่น

“กรมชลประทาน ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่คอยช่วยเหลือ และอยู่เคียงข้างพี่น้องประชาชน ให้ข้ามผ่านอุทกภัยในครั้งนี้” นายเฉลิมเกียรติ กล่าว

กรมชลฯ วางแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-แล้ง ให้ชาวจ.ขอนแก่น

จากนั้น เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาแก้มลิงแก่งน้ำต้อน พร้อมอาคารประกอบ ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ปี (พ.ศ.2564-2569) หากดำเนินแล้วเสร็จ จะสามารถเพิ่มความจุเก็บกักได้ถึง 35.02 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้อีกประมาณ 35,000 ไร่ ตลอดจนช่วยบรรเทาน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่นได้ในอนาคต

logoline