svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กูรูน้ำ เตือน9จังหวัดเสี่ยงเตรียมพร้อมเผชิญเหตุเร่งด่วน

01 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชวลิต จันทรรัตน์ แนะพื้นที่เสี่ยง 9 จังหวัด เตรียมความพร้อมเผชิญเหตุเร่งด่วนเนื่องจากเขื่อนป่าสักฯ ระบายน้ำปริมาณมาก

1 ตุลาคม 2564 คุณชวลิต จันทรรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) TEAMG หรือทีมกรู๊ป  ซึ่งมีประสบการณ์ความชำนาญในด้านการบริหารจัดการน้ำมากกว่า 30 ปี และได้ทำแบบจำลอง River Network Model เพื่อศึกษาถึงพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในระดับต่าง ๆ ได้เตือนให้พื้นที่เสี่ยง 9 จังหวัด ที่ต้องเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุ ดังนี้ 

กูรูน้ำ เตือน9จังหวัดเสี่ยงเตรียมพร้อมเผชิญเหตุเร่งด่วน

1.จังหวัดชัยนาท แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลโพนางดำออก และตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา

2.จังหวัดสิงห์บุรี แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเสือข้าม วัดสิงห์ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี

3.จังหวัดอ่างทอง คลองโผงเผง และแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดไชโย อำเภอไชโย และอำเภอป่าโมก

4.จังหวัดลพบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณอำเภอพัฒนานิคม

5.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณคลองบางบาล และมแม่น้ำน้อย บริเวณตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ และมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ และอำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรีอยุธยาจรดแม่น้ำเจ้าพระยา

6.จังหวัดสระบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ

7.จังหวัดปทุมธานี บริวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกันน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

8.จังหวัดนนทบุรี บริวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกันน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

9.กรุงเทพมหานคร แนวคันกันน้ำบริเวณพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

กูรูน้ำ เตือน9จังหวัดเสี่ยงเตรียมพร้อมเผชิญเหตุเร่งด่วน
 

กูรูน้ำ เตือน9จังหวัดเสี่ยงเตรียมพร้อมเผชิญเหตุเร่งด่วน

นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำในการเตรียมรับมือเร่งด่วนในพื้นที่เสี่ยง 4 ประการ ดังนี้ 

1.ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่จดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ แจ้งข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมลำน้ำ

2.จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพคันกั้นน้ำ และทางน้ำ ทุกวัน หากพบเห็นรอยแตกร้าว การรั่วซึม การกัดเซาะ การเเกิดน้ำลอดใต้อาคาร ให้แจ้งวิศวกรเพื่อการแก้ไขซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน ไม่ให้ขยายขนาดลุกลามเสียหาย

3.ปรับแผนบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ โดยพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ และเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบ ลดความรุนแรงของอุทกภัยและทำให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

4.เตรียมแผนเผชิญเหตุ เพื่อพร้อมรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมของบุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ กระสอบทราย เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักร เครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการการซ่อมแซมเร่งด่วน การให้ความช่วยเหลือและ บรรเทาผลกระทบต่อประชาชนให้ได้อย่างทันเวลา

logoline