svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิด 9 แผนป้องกันน้ำท่วม ลุ่มน้ำภาคกลางตอนล่าง

01 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คุณชวลิต จันทรรัตน์ วิศวกรแหล่งน้ำ ทีมกรู๊ป กูรูน้ำ เผยแผนบรรเทาน้ำท่วมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 แผน หลายโครงการต้องรองบประมาณ มีบางโครงการยกเลิกไป

1 ตุลาคม 2564 อิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง จนเกิดคำถามว่า ตั้งแต่เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์ ปี 2554 ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า น้ำท่วม54 รัฐบาลมีโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างไรบ้าง และโครงการต่างๆ มีความคืบหน้าอย่างไร เหตุใดจึงปล่อยให้เกิดน้ำท่วม64 สร้างความกังวลให้คน จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ หวาดวิตกว่า ปีนี้จะซ้ำรอยน้ำท่วมปี54 หรือไม่

 

คุณชวลิต จันทรรัตน์ วิศวกรแหล่งน้ำ กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจแหล่งน้ำ กลุ่มบริษัท ทีม หรือทีมกรู๊ป ซึ่งมีประสบการณ์ความชำนาญด้านการบริหารจัดการน้ำกว่า 30 ปี เปิดเผยว่า หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 รัฐบาลเริ่มมีแผนเพื่อบรรเทาน้ำท่วมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 แผน ดังนี้

 

1. ปรับปรุงระบบชลประทาน จพย.ตอ. โดยเป็นการปรับปรุงของเดิม 

2.1 คลองระบายน้ำหลาก ชัยนาท-ป่าสัก 
2.2 คลองระบายน้ำหลาก ป่าสัก - อ่าวไทย

3. คลองระบายน้ำควบคู่กับถนนวงแหวนรอบที่ 3
4. ปรับปรุงระบบชป. จพย.ตต.

5. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
6. การบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ

7. คลองระบายน้ำหลาก บางบาง-บางไทร
8. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน

เปิด 9 แผนป้องกันน้ำท่วม ลุ่มน้ำภาคกลางตอนล่าง

คุณชวลิต ขยายความว่า หลังจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 มีการศึกษาแนวทางการระบายน้ำลงสู่ทะเล หลายแนวทาง และมาสรุปที่ กอนช. ว่าแผนที่มีประสิทธิภาพสูง 9 แผน ตัดสินใจแล้วว่าเป็นแผนแม่บท นำไปสู่ก่อสร้าง ดำเนินการตามขั้นตอน ทั้งด้านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การออกแบบ และการจัดหางบประมาณเพื่อการก่อสร้าง 

ใน 9 ส่วนประกอบด้วย

1.ปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันอกก มีการดำเนินการเป็นรายปี เพื่อให้แผนระบายน้ำลงทะเลทำได้เร็วขึ้น

2.ระบายน้ำจากชัยนาถ ลงสู่ทะเล แบ่งเป็น
2.1 ปรับปรุงคลองเดิม ชัยนาท ป่าสัก ให้ระบายน้ำได้ 
2.2 ระบายน้ำผ่านเขื่อนพระรามหก 

3.ระบายจากอยุธยา เพื่อความสะดวกและรวดเร็วควรดำเนินการพร้อมการเวนคืนที่ดินควบคู่กับการสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 3 โดยมองเห็นภาพประโยชน์ที่จะได้ แต่ สทนช. อยากให้การแก้ปัญหาน้ำท่วม ขึ้นถึงจ.ชัยนาท จึงยกเลิกโครงการนี้ไป และเลือกแผน 2.2 ในการทำคลองขึ้นมาใหม่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบ ยังไม่เริ่มก่อสร้าง

4.การปรับปรุงชลประทานฝั่งตะวันตก มีการทะยอยทำรายปีไป ซึ่งดำเนินการได้เร็วตามปีงบประมาณ

5.เพิ่มประสิทธิภาพ การระบายน้ำเจ้าพระยา ปรับปรุงตลิ่ง เพิ่อให้การระบายน้ำเร็วขึ้น โครงการนี้ต้องใช้เวลา

6.จัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ ซึ่งมีปัญหาต่อเนื่อง ปัจจุบันพื้นที่นอกกคันกั้นน้ำ ยังมีปัญหาถูกน้ำท่วม แผนนี้มีความล่าช้า 

7. ก่อสร้างคลองระบายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาคลองบางบาล บางไทร ตอนนี้ได้ผู้รับเหมา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เป็นความหวังที่จะได้มาก่อนแผนงานอื่น เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากจ.อยุธยา และเหนือขึ้นไปถึงจ.อ่างทอง นอกจากระบายน้ำในฤดูน้ำหลากได้เร็วขึ้น ยังเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งได้ด้วย

8.แผนระบายน้ำท่าจีน แผนนี้ยังไม่ได้ดำเนินการ อยู่ระหว่างการกำหนดในแผน ไม่ได้ตัดสินใจว่าเป็น 2 หรือ 3 แห่ง 

และ 9. ใช้แผน 2.2 โดยยกเลิกแผนที่ 3 ไป แต่หลังจากปี 2554 มีการศึกษาแนวทางต่างๆ จนมาถึงปี 2558 จาก 9 แผน ตัดออกไป 1 เหลือ 8 แผน ตอนนี้อยู่ระหว่าางการจัดหางบประมาณ 

คุณชวลิต บอกว่า สิ่งที่ทำได้เร็วคือการปรับปรุงคลองต่างๆ ทำได้เร็ว เช่น คลองชัยนาท ป่าสัก ทำให้การระบายน้ำได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้ มีโครงการก่อสร้างขยายคันกั้นน้ำ สำหรับการจัดหางบประมาณทำได้เร็วกว่า เพราะกทม.ใช้เงินรายได้กทม. 30% ใช้งบประมาณส่วนกลาง 70 % การดำเนินเร็ว ทำให้การระบายน้่ำกทม. ทำได้เร็วขึ้นด้วย

logoline