svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"จิสด้า"เทียบภาพถ่ายดาวเทียม มวลน้ำปี64 น้อยกว่าปี54

01 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"จิสด้า"เทียบแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม สถานการณ์น้ำท่วมปี 2564 ยังห่างไกลกับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 อยู่มาก

จากกรณีปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคกลางบางส่วน ทำให้ชาวบ้านในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจนถึงปทุมธานี ตลอดจนพื้นที่กรุงเทพฯ กังวลว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยปี 2554 หรือไม่ ทีมข่าวเนชั่นออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ ผู้อำนวยการ จิสด้า เพื่อหาคำตอบข้อสงสัยดังกล่าว

 

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมปี 2564 ยังห่างไกลกับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 อยู่มาก โดยเมื่อดูแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียมย้อนไปเมื่อปี 54 นำมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายปัจจุบัน จะเห็นว่าปริมาณน้ำในปี 64 นั้นยังน้อยกว่าปี 2554 อยู่มาก โดยปี54 นั้นน้ำท่วมไปทั้งหมดถึง 25 ล้านไร่ แต่ปี 64นี้ มีน้ำท่วมเพียง 2 ล้านไร่เท่านั้น

"จิสด้า"เทียบภาพถ่ายดาวเทียม มวลน้ำปี64 น้อยกว่าปี54

 

ผอ.จิสด้า ยังได้แสดงภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่น้ำท่วมในภาคเหนือตอนล่าง และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยชี้ให้เห็นถึงพื้นที่เสี่ยงที่จะต้องรับมวลน้ำต่อจากจังหวัดชัยภูมิ คือ พื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะอำเภอที่มีรอยต่อติดกับชัยภูมิ ก่อนที่มวลน้ำจะระบายลงสู่ลำน้ำชี และอีกส่วนจะไหลไปยังเขื่อนอุบลรัตน์ คาดว่าบางอำเภอรอยต่อ จะได้รับผลกระทบจากมวลน้ำดังกล่าวเป็นเวลา 3-7 วันจากนี้

 

ส่วนสถานการณ์พื้นที่ จ.นครราชสีมา มวลน้ำจากเขื่อนลำเชียงไกร คาดว่าน้ำจะไม่ไหลเข้าไปที่ตัว อ.เมือง แต่จะจะไหลไปทางอำเภอพิมาย ก่อนจะไปลงแม่น้ำมูล โดยจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วันเช่นกัน จะทำให้พื้นที่เกษตรกรรมบริเวณดังกล่าวจะได้รับผลกระทบ แต่เมื่อน้ำไหลลงสู่แม่น้ำมูลสถานการณ์ก็จะดีขึ้น

"จิสด้า"เทียบภาพถ่ายดาวเทียม มวลน้ำปี64 น้อยกว่าปี54

ผอ.จิสด้า ยังอธิบายต่อถึง ทิศทางน้ำหลังจากปริมาณน้ำพื้นที่สุโขทัยลดลงแล้ว ก็จะมีมวลน้ำที่พิจิตรที่จะไหลมารวมกันที่ทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดชะลอน้ำเอาไว้ก่อนจะไหลต่อไปที่จ.นครสวรรค์ ที่มีแม่น้ำเจ้าพระยารองรับอยู่ ซึ่งจุดนี้สถานการณ์ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก

 

ส่วนน้ำในทุ่งรับน้ำจาก จ.ชัยนาทและ จ.ลพบุรี ที่ประชาชนเป็นห่วงว่าหากมวลน้ำไหลมา จะกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจที่เป็นโรงงานอตุสาหกรรมหรือไม่นั้น ผอ.จิสด้าบอกว่า มวลน้ำก้อนนี้จะปล่อยลงมาจากเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราประมาณ 2,000-2,600 ลบ.ม. ต่อวินาที ซึ่งเป็นอัตราที่คำนวนมาแล้วว่าจะปลอดภัย ก่อนที่น้ำจะไหลลงมากระทบต่อพื้นที่ จ.นนทบุรี ,ปทุมธานี ,และกรุงเทพมหานคร แต่จะกระทบเฉพาะในส่วนของพื้นที่บริเวณคันกั้นน้ำที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่รัฐบาลทำเอาไว้ตั้งแต่มีเหตุการณ์ปี 54

 

โดยคาดการณ์ว่า น้ำที่ไหลผ่านจังหวัดปทุมธานี ในพื้นที่เศรษฐกิจอุตสาหกรรมจะไม่ได้รับผลกระทบ ส่วนพื้นที่จ.นนทบุรี ก็มีคันกั้นน้ำเช่นกัน แต่โซนพื้นที่เกาะเกร็ด อาจจะได้รับผลกระทบจากมวลน้ำที่ไหลมาบ้างในแม่น้ำเจ้าพระยา

logoline