svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศบค. เคาะแผน กำหนดพื้นที่ เปิดรับนักท่องเที่ยว 4 ระยะ ต่อเนื่องถึงปี 65

27 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จาก ภูเก็ต สู่จังหวัดท่องเที่ยวทั่วไทย ศบค.เปิดแผนเปิดพื้นที่รับท่องเที่ยว 4 ระยะ ย้ำ ใช้ Universal Prevention เข้มข้น

โฆษก ศบค. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน  ชี้แจง แผนการเปิดพื้นที่เศรษฐกิจ  เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยว ว่า หลังจากเริ่มต้นไปแล้ว กับโครงการนำร่อง ภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์  ระยะแรก ช่วง ก.ค.- ส.ค. วันนี้ ( 27 ก.ย.2564) ที่ประชุม ศบค. ก็ได้กำหนด ให้ช่วงวันที่ 1- 31 ตุลาคม 2564   เป็นช่วงเวลาการขยายพื้นที่นำร่องไป  ในเมืองหลัก หรือ จังหวัดท่องเที่ยวที่มี รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ  80%  ของรายได้จากการเที่องเที่ยวทั้งหมด  เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยว ที่ขยายจากภูเก็ต  ไปยังจังหวัดสุราษฎร์ (เกาะสมุย เกาะพงัน เกาะเต่า)  จังหวัดพังงา(เขาหลัก เกาะยาว) จังหวัดกระบี่(เกาะพีพี เกาะไหง

ไร่เลย์ คลองม่วง ทับแขก )  

 

ส่วนระยะต่อไป  ช่วงวันที่ 1-30 ตุลาคม 2564  กำหนดให้มีพื้นที่นำร่องด้านเศรษฐกิจ  ในเมืองหลัก และจังหวัด  ที่มีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยว ไม่น้อยกว่า  15% จากรายได้การท่องเที่ยวทั้งหมด 10 จังหวัด  คือ ที่ กรุงเทพมหานคร , กระบี่ (ทั้งจังหวัด)  พังงา(ทั้งจังหวัด)  ประจวบคีรีขันธ์(ตำบลหัวหิน และหนองแก),เพชรบุรี (เทศบาลเมืองชะอำ) ,ชลบุรี (พัทยา ,บางละมุง นาจอมเทียน , บางเสร่) ระนอง (เกาะพยาม) ,เชียงใหม่ (อ.เมือง , แม่ริม แม่แตง ดอยเต่า ,เลย (เชียงคาน) และจังหวัดบุรีรัมย์ (อ.เมือง)  

 

 

ระยะถัดไป วันที่ 1- 30 ธ.ค. 2564 เป็นเมืองหลัก ที่มีสัดส่วนที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่น้อยกว่า 15 % ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด และมีสินค้าด้านการท่องเที่ยว - ศิลปวัฒนธรรม และมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน  จำนวน 20  จังหวัด คือ เชียงราย ,แม่ฮ่องสอน,ลำพูน,แพร่,หนองคาย ,สุโขทัย,เพชรบูรณเลย,ปทุมธานี,อยุธยา,สมุทรปราการ,ตราด,ระนอง,ขอนแก่น ,นครราชสีมา,นครศรีธรรมราช  ตรัง,พัทลุง,สงขลา,ยะลา และนราธิวาส  

 

และในช่วง ตั้งแต่ 1 ม.ค.2565  เป็นต้นไป ใช้เกณฑ์จังหวัดที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 13 จังหวัด คือ สุรินทร์, สระแก้ว จันทบุรี ตาก นครพนม  มุกดาหาร บึงกาฬ อุดรธานี  อุบลราชธานี น่าน กาญจนบุรี ราชบุรี และสตูล 

เพื่อให้เกิดแรงจูงใจสำรับนักท่องเที่ยว  และ ผู้ประกอบการในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว(พื้นที่สีฟ้า) ศบค. จึงกำหนดให้มีมาตรการป้องกัน-ควบคุมโรค ที่ต่างจากมาตรการตามระดับสถานการณ์ย่อยอื่น โดย ให้มีมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ที่สามารถปรับไปตามระดับของพื้นที่  โดยให้เป็นการพิจารณาของคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัดอย่างรอบคอบโดยมีระบบการกำกับดูแลอย่างเข้มแข็ง โดยย้ำให้ใช้มาตรการ Universal Prevention และ COVID Free Setting และย้ำว่า ยังต้องปิดการให้บริการสถานบริการ และสถานบันเทิงที่มีลักษณะคล้ายกัน ต่อไป

logoline