svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เรียนออนไลน์ยังวุ่น ! ส่งธุรกิจ "รับจ้างทำการบ้าน" บูมเงินสะพัดอื้อ

27 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัญหาเรียนออนไลน์ไม่จบง่าย ๆ ล่าสุดในโลกโซเชียลผุด “ธุรกิจรับจ้างทำการบ้านออนไลน์” เด็กๆ แห่ใช้เงินแก้ปัญหาทั้งจ้างทำการบ้าน ทั้งจ้างสอบ

ปัญหาด้านการศึกษาโดยเฉพาะเรื่อง "เรียนออนไลน์" คงไม่ใช่แค่ความเครียดเรื่องการเรียนของเด็ก ๆ  หรือภาระของผู้ปกครองที่บางรายต้องมารับหน้าที่เรียนแทนลูก ๆ  แต่ยังมีปัญหาตามมาต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะล่าสุดที่มีการผุดธุรกิจในโลกโซเชียลคือ “ธุรกิจรับจ้างทำการบ้านออนไลน์”

 

 

ซึ่งในทวิตเตอร์มีการตั้งแฮชแท็ก #รับทำการบ้าน เปิดพื้นที่ให้ผู้รับจ้าง และ เหล่านักเรียนทั้งหลายมาใช้บริการ ซึ่งมีราคาเริ่มต้นเพียงแค่ 5 บาท ซึ่งมีทั้งการรับพิมพ์งาน ,ลอกงาน จดงาน , รายงาน โปสเตอร์อิโฟ ,วาดการ์ตูน ซึ่งมีครบทุกรายวิชา ทั้งภาษาไทย ,ภาษาอังกฤษ ,ภาษาจีน,วิทยาศาสตร์ ,ศิลปะ,คณิศาสตร์

 

เรียนออนไลน์ยังวุ่น ! ส่งธุรกิจ "รับจ้างทำการบ้าน" บูมเงินสะพัดอื้อ

ยกตัวอย่างการรับทำการบ้านโดยการรับพิมพ์งานมีเรทราคาดังนี้

 

-พิมพ์งาน เริ่มต้น  5 -6 บาทต่อหน้า

 

-โปสเตอร์ เริ่มต้น 30 บาท

 

- มายแมพ A4 เริ่มต้น 20 ต่อแผ่น

 

-มายแมพ Ipad เริ่มต้น 25 ต่อหน้า

 

-เขียนลายมือกระดาษ  7 บาทต่อแผ่น

 

-งานจดสรุป กระดาษ 8 บาทต่อแผ่น

 

-งานจดสรุปไอแพด  9 บาทต่อแผ่น

 

ธุรกิจรับจ้างทำการบ้านออนไลน์

 

ซึ่งภายในแท็กดังกล่าวมีการจ้างงานกันสร้างเม็ดเงินสะพัด นอกจากบรรดาเหล่าพ่อค้าแม่ค้าที่โพสต์รับจ้างทำรายงาน ก็มีบรรดาเหล่านักเรียนทั้งหลายที่โพสต์ ยกตัวอย่างบางข้อความเช่น “หาคนรับทำงานโปสเตอร์(งานวาด)เรื่องการบูลลี่ ขอราคาไม่แรงมากนะคะ #รับทำการบ้าน ” , “ใครรับงานเลข ม.4 งานเร่งมั่งค้าบ เมนชั่นเลย #รับทำการบ้าน

 

ตัวอย่างการโพสต์จ้างทำการบ้านออนไลน์

 

ไม่เพียงแต่การรับทำการบ้านเท่านั้นแต่ยังลุกลามไปถึงการรับจากสอบด้วย โดยตัวอย่างนักเรียนที่ต่างโพสต์หาคนเข้าสอบแทนในวิชาต่าง ๆ เช่นใครรับสอบชีวะเรื่องการแบ่งเซลล์บ้างคะ 15 ข้อ งบ 100 บาท #รับทำการบ้าน” ,”ใครรับสอบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ม.5 ตอนนี้มั้ยคะ ;-; #รับทำการบ้าน”ซึ่งหลังจากโพสต์ก็มีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าต่างมาตอบรับพร้อมตกลงรายละเอียดราคาซึ่งราคาส่วนใหญ่จะอยู่ที่หลักร้อย

สำหรับปรากฎการณ์เรื่องนี้ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นคงไม่ใช่จากเด็กส่วนใหญ่แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า คือช่องโหว่ของระบบการศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องเร่งแก้ไข

 

 

ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

“คงไม่ใช่เด็กส่วนใหญ่ มีบ้างเป็นเปอร์เซ็นที่ไม่สูงแต่เป็นช่องโหว่ที่เกิดการฉ้อโกงเกิดการทุจริต เรื่องการรับจ้างเป็นเรื่องที่เด็กไม่ควรทำ ทั้งเป็นผู้จ้างและผู้ว่าจ้างเพราะฉะนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ แม้กระทั่งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ก็ควรจะต้องรับรู้ปัญหานี้ควรจะต้องเตรียมการได้แล้วแหละ  รวมถึงประเด็นเรื่องการโกงข้อสอบ การออกข้อสอบเกินระดับ

 

การสร้างผลงานเทียมหรือรับจ้างทำผลงานต่าง ๆ พวกนี้กำลังเพิ่มมากขึ้นและมีวงจรที่กลับมา แต่ตนเองไม่รู้เลยว่าใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ใครจะเป็นเจ้าภาพหลัก และใครจะเป็นคนติดตามและแก้ไข  “ผมคิดว่าราชการเฉยไปนิดนึง เงียบและเฉยไปนิดนึง มันไม่ใช่เพิ่งเกิดมันเกิดไปหลายหนแล้ว พอมันมีสถานการณ์ที่ผิดปกติมันก็จะเกิดขึ้นทันที”

 

ธุรกิจจ้างทำการบ้านออนไลน์

 

ด้าน “แองจี้” ตัวแทนจาก “กลุ่มนักเรียนเลว” การจ้างเรียนจ้างสอบมีมานานแล้ว แต่เริ่มมาเยอะขึ้นช่วงเรียนออนไลน์ พร้อมยอมรับว่าการรับจ้างทำการบ้านหรือว่าจ้างสอบเป็นเรื่องที่ผิดเพราะถือเป็นการทุจริต แต่ขอให้ตั้งคำถามว่าทำไมเด็กถึงต้องทำต้องทำอย่างนั้น ตั้งคำถามไปถึงหลักสูตร ที่ซีเรียสเรื่องคะแนนมากเกินไปหรือไม่

 

ธุรกิจจ้างเรียนออนไลน์

 

ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผิดแต่ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องมาโทษตัวบุคคล แต่ต้องไปแก้ที่ต้นตอของปัญหา ซึ่งปัญหามากกว่าแค่เป็นเด็กนิสัยไม่ดี แต่ยังรวมไปถึงระบบการเรียนการสอน ระบบเศรษฐกิจด้วยที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยเฉพาะการที่คนๆนึงไปรับจ้างทำการบ้านหรือสอบ

 

ธุรกิจจ้างทำการบ้านออนไลน์

 

เรื่องรับจ้างเรียนและสอบออนไลน์นับเป็นปรากฎการณ์ที่ตอกย้ำความล้มเหลวของระบบการศึกษาหรือจะเรียกได้ว่าเด็กไม่ได้อะไรจากการเรียน ? เพราะภาระงานมากจนทำงานไม่ทัน ? จนต้องใช้เงินแก้ปัญหาโดยไม่ได้เข้าใจในเนื้อหาการเรียน เราจะปล่อยให้การเรียนการศึกษาของเด็กไทยเป็นอย่างนี้จริงหรือ ?

logoline