svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ทั่วไทย

คุมเข้มท่าเทียบเรือ-แรงงานท่าเรือภูเก็ต

ภูเก็ต - คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตออกประกาศมาตรการควบคุมท่าเทียบเรือประมง เรือประมง แรงงานในเรือประมงโดยให้ท่าเทียบเรือประมงปิดและห้ามบุคคลเข้า - ออก ท่าเทียบเรือประมง ตั้งแต่ เวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๔.๐๐

16 กันยายน คำสั่งจังหวัดภูเก็ต เรื่อง มาตรการควบคุมท่าเทียบเรือประมง เรือประมง แรงงานในเรือประมง ในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ตตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕'๖๓ ซึ่งต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ และ คำสั่งจังหวัดภูเก็ต ที่ ๕๑๔๐/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการควบคุมท่าเทียบเรือประมง เรือประมง แรงงานในเรือประมง ในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 

คุมเข้มท่าเทียบเรือ-แรงงานท่าเรือภูเก็ต
 

โดยมาตรการควบคุมท่าเทียบเรือประมงที่จดทะเบียนกับกรมประมง ต้องปฏิบัติดังนี้


๑) ให้ท่าเทียบเรือประมงปิดและห้ามบุคคลเข้า - ออก ท่าเทียบเรือประมง ตั้งแต่ เวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่ มีเหตุจำเป็นให้แจ้งเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือบุคคลที่เจ้าของท่าเทียบเรือมอบหมายเป็นรายกรณีไป


๒) เจ้าของท่าเทียบเรือประมงอนุญาตให้แรงงานที่ทำงานภาคการประมงในพื้นที่ท่าเทียบเรือประมง ต้องเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีน ชิโนแวค (Sinovac) ชิโนฟาร์ม (Sinopham) ครบ ๒ เข็ม หรือชิโนแวค(Sinovac) เข็ม ๑ แอสตราเชนิก้า (AstraZeneca) เข็ม ๒ หรือได้รับวัคชนแอสตราเชนิก้า (AstraZeneca)ไฟเชอร์ (Pizer) โมเดอร์นา (Moderna) จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson and Johnson) จำนวน ๑ เข็ม
มาแล้วเป็นระยะเวลาอย่างน้อย ๑๔ วัน หรือเป็นผู้ที่หายป่วยจากอาการป่วยด้วยโรคโควิด - 19 มาแล้วเป็นระยะเวลาไม่เกิน ๙ㆍ วัน เท่านั้น

คุมเข้มท่าเทียบเรือ-แรงงานท่าเรือภูเก็ต

๓) เจ้าของท่าเทียบเรือประมงต้องจัดจุดคัดกรองบุคคลเข้าออกท่าเทียบเรือประมง โดยห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของท่าเทียบเรือประมง เว้นแต่
เพื่อการแพทย์การสาธารณสุข กู้ชีพ กู้ภัย การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ยาและเวชภัณฑ์ หรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งของทางราชการ หรือเหตุจำเป็นอื่น

คุมเข้มท่าเทียบเรือ-แรงงานท่าเรือภูเก็ต

๔) เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือแพปลาในพื้นที่ท่าเทียบเรือประมง ต้องจัดให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด - 19 ด้วยวิธี ATK (Antigen Test kit ในแรงงานท่าเทียบเรือ แพปลาของตน ที่มาซื้อสัตว์น้ำ และผู้ขนส่งปัจจัยทุก ๗ วัน ภายใต้การกำกับแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตพร้อมจัดเก็บเอกสารหลักฐานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจท่เทียบเรือประมงตรวจสอบย้อนหลังได้ กรณีพบผู้ติดเชื้อให้ส่งตัวให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจช้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผล หากมีผลตรวจยืนยันว่าติดเชื้อโควิด - 19ดำเนินการกักตัวเป็นระยะเวลา ๑๔ วัน หรือตามที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนะนำ ส่วนแรงงานที่ไม่พบการติดเชื้อให้สามารถทำงานต่อไปได้ โดยต้องปฏิบัติงานและอยู่อาศัยในพื้นที่ควบคุมตามเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพิจารณา

คุมเข้มท่าเทียบเรือ-แรงงานท่าเรือภูเก็ต
๕) เจ้าของท่าเทียบเรือประมงต้องจัดแยกพื้นที่ในบริเวณท่าเทียบเรือประมงให้ชัดเจนสำหรับแรงงานในเรือประมง แรงงานคัดแยกสัตว์น้ำในท่าเรือหรือแพในท่าเรือ บุคคลที่มาซื้อสัตว์น้ำ ตลอดถึงผู้ขนส่งปัจจัย ให้เป็นสัดส่วนไม่ปะปนกัน และต้องปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด ท่าเทียบเรือประมง กำหนดในการป้องกันการแพร่ระบาตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด
โดยบุคคลที่มาซื้อสัตว์น้ำทุกคนต้องลงชื่อทุกครั้งพร้อมผ่านการตรวจคัดกรอง และระหว่างรอการคัดแยกสัตว์น้ำ แล้วเสร็จ ให้อยู่ในพื้นที่ซึ่งท่าเทียบเรือจัดไว้เท่านั้น
๖) ให้สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต ด่านตรวจประมงภูเก็ต ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือ(PSCC) ศรชล.จังหวัดภูเก็ต สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต จัดเจ้าหน้าที่บูรณาการออกตรวจการปฏิบัติ
ของท่าเทียบเรือประมง และแรงานประมง ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุม
๗) ให้สถานีตำรวจภูธรเมืองภูเก็ต จัดพนักงานเจ้าหน้าที่สายตรวจ เฝ้าระวังตรวจท่าเทียบเรือประมงในพื้นที่อำเภอเมืองภูเก็ต เพื่อป้องกันและปราบปรามแรงงานต่างต้าวที่ฝ่าฝืนมาตรการควบคุมท่าเทียบเรือประมง
๘) ให้อำเภอเมืองภูเก็ต จัดเจ้าหน้าที่ควบคุมรักษาความปลอดภัย บริเวณศูนย์พักคอยท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต กรณี ช่วงระยะเวลาที่มีการกักตัวแรงงานต่างด้าวที่ติดเชื้อโควิด - 19

คุมเข้มท่าเทียบเรือ-แรงงานท่าเรือภูเก็ต
๙ ให้สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าสำนักงานท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตนายกสมาคมชาวประมงภูเก็ต ตัวแทนเจ้าของเรือประมง ตัวแทนแพปลา เป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์พักคอยท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต หมู่ที่ ๑ ตำบลรัษฎา อำเกอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้จัดการศูนย์พักคอย โดยการสนับสนุนผู้ประสานงานด้านภาษาเมียนมาจากสมาคมมิตรภาพอันดามัน