svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดแผน กทม. รับมือน้ำท่วม เน้นป้องกัน"น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำหนุน"

16 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้ว่าฯ อัศวิน เผยเตรียม 3 แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เน้นจัดการ "น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำหนุน" เพื่อระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด

19 กันยายน 2564 สถานการณ์น้ำเหนือในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ทำให้เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำ ซึ่งจะส่งผลกระทบน้ำเอ่อท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำภาคกลาง ล่าสุด พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. ได้เตรียมแผนในการรับมือน้ำท่วมล่วงหน้าแล้ว

 

ทั้งนี้ เพจเฟซบุ๊ก "ผู้ว่าฯ อัศวิน" ได้โพสต์ข้อความระบุว่า พื้นที่ กทม. มีลักษณะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ แอ่งก้นกระทะ มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมืองที่มาจากตอนบนประเทศ ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวไทย ซึ่งอยู่ห่างจาก กทม. ไม่ไกลนัก เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมจากน้ำฝนได้

 

เปิดแผน กทม. รับมือน้ำท่วม เน้นป้องกัน"น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำหนุน"

น้ำฝน เป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้น้ำท่วมขังในพื้นที่ได้ แต่ถ้ามีฝกตกหนักบริเวณจังหวัดที่อยู่ตอนบนของ กทม. อาจทำให้มีน้ำเหนือปริมาณมากไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาและถ้ามีน้ำทะเลหนุนในช่วงเวลาเดียวกัน ก็มีส่วนทำให้น้ำระบายออกสู่แม่น้ำได้ช้าลงด้วย 
 

กทม. ได้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำหนุน โดยใช้หลักวิศวกรรมเร่งการระบายน้ำ ดังนี้...

 

“น้ำฝน” สาเหตุหลักที่ทำให้น้ำท่วมขังใน กทม. หากมีฝนตกหนักมาก น้ำจะระบายตามธรรมชาติได้ยาก ต้องใช้หลักการวิศวกรรมมาช่วยการระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด โดยสร้างท่อเร่งระบายน้ำ (Pipe Jacking) เพิ่มจากท่อระบายนน้ำเดิม เพื่อเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่จุดเสี่ยงและเฝ้าระวังน้ำท่วม ให้ไหลลงสู่พื้นที่กักเก็บน้ำใต้ดิน หรือธนาคารน้ำใต้ดิน (Water Bank) ได้เร็วขึ้น 

 

ก่อนที่จะไหลลงอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อระบายน้ำออกสู่คลองและแม่น้ำเจ้าพระยา และยังมีพื้นที่กักเก็บน้ำบนดิน (แก้มลิง) รองรับน้ำไม่ให้ท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฝั่งตะวันออก ก่อนสูบน้ำ ระบายออกสู่แม่น้ำให้เร็วที่สุดอีกทางหนึ่งด้วย

 

เปิดแผน กทม. รับมือน้ำท่วม เน้นป้องกัน"น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำหนุน"

 

ถ้าในบางปีที่มีพายุฝนหรือมีฝนตกหนักในจังหวัดตอนบนของ กทม. ก็จะมีน้ำเหนือปริมาณมากไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็มีแผนรับมือที่ทำงานร่วมกับกรมชลประทานมาโดยตลอด 

 

“น้ำเหนือ” ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนหนักในจังหวัดที่อยู่เหนือ กทม. ขึ้นไป น้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ลำคลองสายหลักทางฝั่งตะวันตกและตะวันออกของ กทม. ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองต่าง ๆ มีระดับสูงขึ้นจนล้นเข้าท่วมพื้นที่ได้ 

 

กทม. ได้ป้องกันน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ โดยสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมตามแนวริมฝั่งแม่น้ำ และสร้างประตูระบายน้ำปิดกั้นบริเวณปากคลองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับเข้ามายังคลอง และเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ และยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ช่วยสูบน้ำออกให้เร็วมากขึ้นอีกด้วย

 

เปิดแผน กทม. รับมือน้ำท่วม เน้นป้องกัน"น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำหนุน"

 

“น้ำหนุน” ปรากฎการณ์ธรรมชาติ น้ำขึ้น-น้ำลง ในทะเล เมื่อน้ำขึ้น น้ำในทะเลจะดันให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นได้ และมีโอกาสที่น้ำจะไหลย้อนกลับเข้ามายังคลอง และเกิดน้ำท่วมในพื้นที่

 

กทม. มีแนวทางป้องกันน้ำทะเลหนุน โดยมีแนวป้องกันน้ำท่วมบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ และมีประตูระบายน้ำปิดกั้นป้องกันน้ำที่น้ำไหลเข้า กทม.ได้  และยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ช่วยสูบน้ำออกให้เร็วมากขึ้นอีกด้วยเช่นกัน 

 

เปิดแผน กทม. รับมือน้ำท่วม เน้นป้องกัน"น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำหนุน"

พล.ต.อ.อัศวิน ผู้ว่าฯ กทม. ระบุว่า ในทุก ๆ ปี กทม.จะมีปัจจัยจากน้ำฝนที่ตกหนัก ปริมาณมากที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ กทม.ได้เตรียมรับมือป้องกันน้ำท่วมขังอย่างต่อเนื่อง แก้ไขจุดเสี่ยงให้มีน้อยที่สุด

 

รวมทั้ง เตรียมเจ้าหน้าที่ เครื่องสูบน้ำในจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมขัง โดยใช้หลักวิศวกรรมมาแก้ไข มีการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ ท่อเร่งระบายน้ำ และพื้นที่กักเก็บน้ำ ทั้งบนดินและใต้ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังใน กทม. อย่างต่อเนื่อง

 

เปิดแผน กทม. รับมือน้ำท่วม เน้นป้องกัน"น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำหนุน"

เปิดแผน กทม. รับมือน้ำท่วม เน้นป้องกัน"น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำหนุน"

เปิดแผน กทม. รับมือน้ำท่วม เน้นป้องกัน"น้ำฝน น้ำเหนือ น้ำหนุน"

logoline