svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

สำเร็จ!! ฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ใต้ผิวหนัง 0.1ml.ภูมิขึ้นเท่ากับฉีด 0.5 ml.

16 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ภูเก็ต - รพ.วชิระภูเก็ต ประสบความสำเร็จวิจัยการฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ใต้ผิวหนัง เพียง 0.1 ml ภูมิขึ้นเท่ากับฉีดทางกล้ามเนื้อ 0.5 ml เกิดผลข้างเคียงน้อยกว่า พร้อมฉีดเป็นการทั่วไปทันที หากกระทรวงสาธารณสุขอนุมัติ

16 กันยายน 2564 ที่ห้องประชุมภูเก็ตพัฒนาเมือง นายแพทย์เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต พร้อมด้วย พญ.วิทิตา แจ้งเอี่ยม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต, นายประชา อัศวธีระ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า และนายภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต แถลงความสำเร็จในการศึกษาวิจัยฉีดวัคซีนเข็ม 3 ด้วยวัคซีน Astrazeneca แบบฉีดเข้าผิวหนัง โดยใช้ปริมาณวัคซีนเพียง 0.5 ml

สำเร็จ!! ฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ใต้ผิวหนัง 0.1ml.ภูมิขึ้นเท่ากับฉีด 0.5 ml.

พญ.วิทิตา แจ้งเอี่ยม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัย เรื่อง การฉีดวัคซีนเข็ม 3 ด้วยวัคซีน Astrazeneca แบบฉีดเข้าผิวหนัง โดยใช้ปริมาณวัคซีนเพียง 20% หรือ 0.5 ml ทำให้สามารถฉีดวัคซีนได้มากขึ้นถึง 5 เท่า ของการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยในการวิจัยนี้ได้มีอาสาสมัครอายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวน 242 คน ที่เคยได้รับวัคซีน Sinovac มาแล้ว 2 เข็ม เข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับการฉีดแบบทั่วไป (ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ) จำนวน 120 คน โดยได้รับวัคซีน 0.5 ml และกลุ่มที่ 2 ได้รับการฉีดแบบใต้ผิวหนัง จำนวน 122 คน ได้รับวัคซีน 0.1 ml หรือ 1 ใน 5 ของการฉีดแบบทั่วไป

สำเร็จ!! ฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ใต้ผิวหนัง 0.1ml.ภูมิขึ้นเท่ากับฉีด 0.5 ml. สำเร็จ!! ฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ใต้ผิวหนัง 0.1ml.ภูมิขึ้นเท่ากับฉีด 0.5 ml.
 

ผลการทดลองพบว่า ภูมิต้านทานของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแบบใต้ผิวหนังมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่รับการฉีดวัคซีนแบบทั่วไปเล็กน้อย โดยผู้ที่รับการวัคซีนแบบใต้ผิวหนังมีภูมิคุ้มกันเฉลี่ย 17,662.3 AU/ml และผู้ที่รับการฉีดวัคซีนแบบทั่วไปมีภูมิคุ้มกันเฉลี่ย 17,214.1 AU/ml โดยผู้รับวัคซีนทั้ง 2 กลุ่มมีค่าภูมิคุ้มเกินเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด (840 AU/ml) ซึ่งผลข้างเคียงในการฉีดวัคซีนแบบใต้ผิวหนังมีน้อยกว่าการฉีดแบบทั่วไป เช่น มีไข้ หรือปวดศีรษะเพียง 70 ราย เมื่อเทียบกับ การฉีดแบบทั่วไป 98 ราย แต่การฉีดวัคซีนแบบใต้ผิวหนังจะมีผลข้างเคียงบริเวณที่ฉีดเช่น ระคายเคือง และบวมแดงมากกว่าแต่ไม่เป็นที่น่าวิตกกังวล

สำเร็จ!! ฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ใต้ผิวหนัง 0.1ml.ภูมิขึ้นเท่ากับฉีด 0.5 ml.

ด้านนายแพทย์เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันซึ่งมีความรุนแรงและเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง ดังนั้นการฉีดวัคซีนจึงมีความจำเป็น แม้ว่าจะมีการฉีด 2 เข็มแล้วก็ตาม ยังจำเป็นจะต้องมีการบูธเตอร์เข็มที่ 3 แต่ด้วยข้อจำกัดของปริมาณวัคซีนที่ได้รับการจัดสรรซึ่งไม่เป็นไปตามความต้องการทางโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต นำโดย พญ.ศุภลักษณ์ ละอองเพชร และ พญ.วิทิตา แจ้งเอี่ยม ได้ริเริ่มงานวิจัยนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกในการบริหารวัคซีนของจังหวัดภูเก็ต และน่าจะเป็นทางเลือกของประเทศไทยในการใช้วัคซีนเข็มที่ 3 ที่ใช้ปริมาณน้อยลงถึง 5 เท่า ซึ่งการวิจัยนี้ทำเพื่อยืนยันผลการฉีดวัคซีนแบบใต้ผิวหนังว่า ภูมิคุ้มกันหลังฉีดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่าการฉีดแบบทั่วไป และเป็นการเปิดมิติใหม่ในการใช้วัคซีนเข็ม 3 ให้ประชาชน และจังหวัดภูเก็ตพร้อมที่จะนำร่องในการฉีดวัคซีน Astrazeneca แบบใต้ผิวหนังให้ชาวภูเก็ต จำนวน 200,000 คน ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม ชนิด Sinovac ไปก่อนหน้านี้ หากได้รับอนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุข

สำเร็จ!! ฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ใต้ผิวหนัง 0.1ml.ภูมิขึ้นเท่ากับฉีด 0.5 ml.
 

สำเร็จ!! ฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็ม 3 ใต้ผิวหนัง 0.1ml.ภูมิขึ้นเท่ากับฉีด 0.5 ml.

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์เฉลิมพงศ์ กล่าวด้วยว่า การกลับไปสู่วิถีชีวิตปกติ การได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 น่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง และในภาวะที่วัคซีนมีจำนวนจำกัด การใช้เทคนิคการฉีดแบบใต้ผิวหนังจะใช้วัคซีนที่น้อยกว่า และน่าจะเป็นวิธีการสำคัญในการแก้ปัญหาวัคซีนขาดแคลนของมนุษยชาติที่จะรับมือกับโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดเชื้อสายพันธุ์เดลตาอีกด้วย


ภาพ/ข่าว โดย:
สาลินี ปราบ จ.ภูเก็ต

logoline