svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทมยันตี กับเหตุการณ์ 6 ตุลา ในแง่มุม “นักเขียนกับการเมือง”

15 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทมยันตี ผู้ประพันธ์นวนิยายคู่กรรม และอื่นๆ อีกมากมาย ตำนานแห่งวงการวรรณกรรมไทย กับบทบาทแกนนำชมรมแม่บ้าน ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา มหาวิปโยค กับอีกแง่มุมที่หลายคนอาจไม่รู้

อีกเรื่องราวหนึ่งที่มีการนำเสนอเช่นกัน นั่นก็บทบาททางการเมืองของ ทมยันตี ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หรือ 6 ตุลามหาวิปโยค โดยบทความชิ้นนี้มิได้มีเจตนาโจมตีผู้ชีวิต แต่ต้องการเปิดเผยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ รวมถึงเส้นทางของบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นตำนานแห่งวงการวรรณกรรมไทย ให้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

 

 

นักเขียนที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วและยาวนาน

คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ (เจียมเจริญ) เจ้าของนามปากกา “ทมยันตี” (ที่ถูกต้องชื่อนี้อ่านว่า ทะ-มะ-ยัน-ตี) ซึ่งนำมาจากชื่อนางในวรรณคดี "พระนลคำหลวง" เริ่มต้นเขียนเรื่องสั้นและได้รับการตีพิมพ์ลงในนิตยสาร ขณะอายุเพียงอายุ 14 ปี โดยเขียนนิยายขนาดยาวเรื่องแรกคือ “ในฝัน” ขณะที่มีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น

 

ชีวิตครอบครัว ทมยันตี หรือ คุณหญิงวิมล เคยสมรสกับ สมัคร กล่าเสถียร และได้หย่าร้างกัน ก่อนจะสมรสครั้งที่สองกับร้อยตำรวจโทศรีวิทย์ เจียมเจริญ มีบุตรชายด้วยกันสามคน 

 

ทมยันตี กับเหตุการณ์ 6 ตุลา ในแง่มุม “นักเขียนกับการเมือง”

ช่วงชีวิตในครั้งที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทมยันตี เป็นนักโต้วาทีทีมเดียวกับ 2 อดีตนายกฯ คือ ชวน หลีกภัย และสมัคร สุนทรเวช ต่อมาได้ประกอบอาชีพครูและเขียนหนังสือควบคู่ไปด้วย กระทั่งลาออกจากงานประจำ เพื่อทุ่มเทให้กับการเขียนอย่างเต็มที่ จนมีผลงานออกมามากมาย และประสบความสำเร็จอย่างงดงามแทบทั้งสิ้น

 

ซึ่งนวนิยายที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดของทมยันตี ก็คือ “คู่กรรม” ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสยาม เป็นตอนๆ ตั้งแต่ปี 2508 และรวมเล่มครั้งแรกในปี 2512

ผลงานส่วนใหญ่ของ ทมยันตี จัดอยู่ใน แนวเมโลดราม่า ที่กาลเวลาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ในฝีมือการประพันธ์ เพราะมีหลายๆ เรื่องถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ และละครซ้ำแล้วซ้ำเล่า สะท้อนให้เห็นความนิยมในระดับข้ามยุคข้ามสมัย ซึ่งมีนักเขียนน้อยรายนักจะทำได้เช่นนี้

 

ทมยันตี กับเหตุการณ์ 6 ตุลา ในแง่มุม “นักเขียนกับการเมือง”

ทมยันตี แกนนำชมรมแม่บ้าน กับเหตุการณ์ 6 ตุลา

แม้ผลงานส่วนใหญ่ของ ทมยันตี จะไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ชีวิตของทมยันตีก็มีเหตุให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองในช่วง 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาอย่างอำมหิต ที่ท้องสนามหลวงและภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

โดย ทมยันตี เป็นแกนนำคนสำคัญของชมรมแม่บ้าน ที่ก่อตั้งในปี 2519 ด้วยการรวบรวมภรรยาข้าราชการ ภรรยานายพล และแม่บ้านจำนวนมากเข้าเป็นสมาชิก เพื่อโจมตีขบวนนักศึกษาที่เคลื่อนไหวต่อต้านฐานทัพอเมริกา และต่อมาได้เคลื่อนไหวต่อต้านในเรื่องราวอื่นๆ

 

ชมรมดังกล่าวมีบทบาทในการโจมตีขบวนการนักศึกษาเรื่อยมา ทั้งในการปราศรัย และได้มีการจัดรายการผ่านสถานีวิทยุยานเกราะต่อต้านการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา กระทั่งในปีเดียวกันนั้นเองได้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลามหาวิปโยคขึ้น ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

 

ทมยันตี กับเหตุการณ์ 6 ตุลา ในแง่มุม “นักเขียนกับการเมือง”

ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลามหาวิปโยค ทมยันตี ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ , เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี 2522 และเป็นผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ในปี 2527

 

ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ (เจียมเจริญ) หรือ ทมยันตี นักเขียนนวนิยายระดับตำนานของประเทศไทย เป็นเรื่องราวจริงๆ ของชีวิต ที่เขียนด้วยชีวิตของตัวเอง

 

 

logoline