svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

วิธีจัดการความรู้สึก "อยากลาออก" เมื่อเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน

14 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานการณ์ในการทำงานของคนปัจจุบัน มักจะทำให้เกิดความรู้สึก อยากลาออก ซึ่งเกิดจากภาระงานหนัก และปริมาณงานที่มาก ความซับซ้อนของงาน ความเครียด จนทำให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งถ้าเกิดสะสมนานวันเข้าอาจจะทำให้เสี่ยงกับการเกิดโรคซึมเศร้าได้

มีคนจำนวนไม่น้อยที่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายกับการทำงาน จนไม่อยากที่จะทำงานต่อ และเกิดความคิดที่จะลาออก แต่ด้วยช่วงนี้เศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี ร่วมกับสถานการณ์โควิด-19 ก็ทำให้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หากจะมีความคิดที่จะลาออก

วิธีจัดการความรู้สึก "อยากลาออก" เมื่อเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย ทุกเพศ เช่น แม่บ้านที่ต้องดูแลบ้าน เลี้ยงลูก ที่ใช้ชีวิตอยู่ในรูปแบบเดิมๆ ไม่มีวันหยุด รวมถึงคนที่จริงจังมากเกินไป ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ (Perfectionism)  ไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง


ภาวะหมดไฟในการทำงาน (BURNOUT SYNDROME ) คือ

 

ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่มักเกิดจากความเครียด จนบางครั้งเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อ ไม่อยากทำอะไร สูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังทำอยู่ในด้านลบ ขาดความสุข สนุก ขาดแรงจูงใจในการทำงาน และส่งผลกระทบทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน  

ซึ่งอาการเหล่านี้จัดว่าอยู่ในกลุ่มที่ยังไม่รุนแรงเท่ากับโรคซึมเศร้า แต่หากปล่อยไว้นานๆ และอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ อาจส่งผลต่อการทำงาน เช่น ขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง จนถึงขั้นคิดเรื่องลาออกในที่สุด หรืออาจเกิดโรคซึมเศร้าได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้เสมอไป

 

สาเหตุ มักจะเกิดมาจากงานที่ทำ เช่น ภาระงานหนัก ปริมาณงานมาก และงานมีความซับซ้อน ต้องทำในเวลาเร่งรีบ มีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน ขาดอำนาจในการตัดสินใจ ทำงานที่ไม่ถนัด ต้องแก้ปัญหาด้วยตัวคนเดียวโดยขาดที่ปรึกษา รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน หรือรู้สึกไม่ได้รับการตอบแทนที่เพียงพอต่อสิ่งที่ทุ่มเทไปกับงานที่ทำ ปริมาณงานกับจำนวนบุคลากรไม่สอดคล้อง ระบบบริหารในที่ทำงานขัดกับจุดมุ่งหมายในชีวิต


วิธีป้องกัน 

 

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา อย่าเสียเวลากับความกังวลเรื่องงาน และพยายามพัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา
  2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินอาหารที่มีประโยชน์ 
  3. ลดความเครียดลง หากิจกรรมนอกเวลาทำ เช่น ฟังเพลง ดูหนัง ออกกำลังกาย
  4. ปรับทัศนคติในการทำงาน ทำความเข้าใจลักษณะของงาน และองค์กร
  5. เปิดใจให้กับคนรอบข้าง อย่าลังเลที่จะปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน พยามหลีกเลี่ยงคนที่มีความคิดในแง่ลบ ยอมรับความแตกต่างของคน และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน
     

แต่ถ้าหากมีความคิดอยากลาออกขึ้นมา ลองทบทวนก่อนว่าควรจะตัดสินใจลาออกไหม ดังนี้

 

  1. หาให้เจอ สิ่งที่อยากทำให้ออกจากงานจริงๆ
  2. หาเวลาหยุดพักงาน-ใจ
  3. ลดความกดดันตัวเอง
  4. ลองสังเกตุรูปแบบการทำงานของคนอื่น ลองจัดสรรเวลางานให้ลงตัว
  5. หากจะลาออกจริงๆ ควรวางแผนเตรียมความพร้อมในอนาคต

 

ที่มา :  โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน

logoline