svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

งานวิจัยเผย เคลื่อนย้ายแรดกลับหัว แปลกแต่ปลอดภัยกว่า

13 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักวิทยาศาสตร์ เผยงานวิจัย การขนย้านแรดทางอากาศแบบกลับหัว อาจดูแปลกแต่ปลอดภัยกว่า โดยผลงานวิจัยนี้ได้รับรางวัลอิกโนเบล (Ig noble nobel prize) ปี 2021

กลุ่มนักวิจัยที่ได้ศึกษาและทดสอบการขนย้ายแรดทางอากาศแบบกลับหัว พบว่า การขนย้ายแรดทางอากาศแบบกลับหัว มีความปลอดภัยมากกว่า โดยงานวิจัยนี้ พวกเขาเริ่มต้นจากความต้องการที่จะศึกษาว่า "การขนส่งทางอากาศ" แบบกลับหัวนี้มีความปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน และสาเหตุที่ต้องเคลื่อนย้ายเป็นเพราะ ปัจจุบัน "แรด" ได้ถูกจัดว่ามีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ นักอนุรักษ์จึงได้พยายามรักษาจำนวนแรดเหล่านี้ไว้ โดยการนำพวกมันมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้ให้ เพื่อป้องกันมนุษย์ที่จะมาล่าเอานอของมัน 

โดยปกติแล้วแรดมักจะถูกเคลื่อนย้ายทางถนนด้วยรถบรรทุก แต่เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศต่าง ๆ และพื้นที่อนุรักษ์นั้นไม่สามารถนำรถบรรทุกเข้าออกได้อย่างสะดวก พวกเขาจึงใช้วิธีขนย้ายโดยเฮลิคอปเตอร์  ซึ่งวิธีการขนย้ายทางอากาศที่นิยมคือแบบนอนตะแคงข้าง และแบบกลับหัว ที่ถูกใช้มานับสิบปี แต่ยังไม่มีใครทราบชัดว่าวิธีไหนดีต่อสุขภาพแรดมากที่สุด

งานวิจัยเผย เคลื่อนย้ายแรดกลับหัว แปลกแต่ปลอดภัยกว่า

กระทั้งล่าสุดในปีนี้ 2021 กลุ่มนักวิจัยที่ได้ศึกษาและทดสอบการขนย้ายแรดทางอากาศแบบกลับหัวก็ได้รับรางวัลอิกโนเบล (Ig noble nobel prize) ในสาขา "งานวิจัยด้านการขนส่ง"  

โดยรางวัลอิกโนเบล (Ig noble nobel prize) เป็นรางวัลที่มอบให้ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เริ่มให้รางวัลนี้ตั้งแต่ปี 1991 เป็นต้นมา เพื่อให้โครงการวิทยาศาสตร์แปลกๆ และสร้างสรรค์ 

Robin Radcliffe นักวิจัยจาก Cornell University เผยว่าสิ่งที่น่าแปลกใจคือแรดมีระดับออกซิเจนในเลือดที่สูงกว่าเมื่อถูกมัดหัวคว่ำ และเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพของแรดมากกว่า โดยมีการหมุนเวียนเลือดในปอดอย่างทั่วถึง เหมือนกับยืนอยู่ในท่าปกติ ในขณะที่ท่านอนเอียงข้างที่นานเกินไปจะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อของแรด ยิ่งไปกว่านั้นยั้งพบว่าลักษณะที่เอาหัวลงนั้นส่งผลให้แรดมีระดับความเครียดน้อยกว่า 

จากงานวิจัยนี้ ทีมวิจัยหวังว่างานวิจัยของเขาจะนำไปสู่การอนุรักษ์และปกป้องสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างแรดได้ และสร้างความปลอดภัยในการลำเลียงขนส่ง โดยงานวิจัยดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Wildlife Diseases 

งานวิจัยเผย เคลื่อนย้ายแรดกลับหัว แปลกแต่ปลอดภัยกว่า

งานวิจัยดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Wildlife Diseases

ที่มา

logoline