11 กันยายน 2564 น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ให้ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ blockdit "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" ระบุว่า ...
"จีนประสบความสำเร็จสามารถพัฒนาวัคซีน mRNA ตัวแรกได้แล้ว จะวางตลาดเดือนตุลาคม 2564 นี้ กำลังผลิต 200 ล้านโดสต่อปี"
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประเทศที่ใช้มาตรการเข้มข้นในการควบคุมการระบาดของโควิด นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพียง 95,128 ราย และเสียชีวิต 4,636 ราย ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับประชากรกว่า 1,400 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม จีนก็ได้พัฒนาวัคซีนของตนเองขึ้นมาหลายชนิด ซึ่งวัคซีนหลักที่ใช้ฉีดให้กับประชาชนเป็นเทคโนโลยีเชื้อตายของ Sinovac และ Sinopharm จนกระทั่งสามารถฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชากรมากติดอันดับหนึ่งในสิบประเทศแรกของโลก
ต่อมาเมื่อมีไวรัสสายพันธุ์เดลตาระบาด และพบว่าระดับภูมิคุ้มกันของวัคซีนเชื้อตายสองเข็มของจีนลดระดับลง ทำให้ป้องกันโควิดได้ไม่ดีนัก ประเทศจีน ก็ได้เร่งพัฒนาวัคซีนเทคโนโลยีอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง mRNA ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยผ่านการทดลองในสัตว์ทดลอง และทดลองในมนุษย์เฟสหนึ่ง / สอง จนเมื่อพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ก็ได้เริ่มทดลองเฟสสามที่ประเทศเม็กซิโกและประเทศอินโดนีเซีย ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ กระทั่งประกาศว่า จะสามารถฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไปได้ ในเดือนตุลาคม 2564 โดยจีนได้ลงทุนไปกว่า 2600 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่มณฑลยูนาน โดยร่วมมือกันระหว่าง Academy of Military Medical Sciences กับ บริษัท Suzhou Abogen และ บริษัท Yunnan Walvax BioTech มีกำลังผลิต 200 ล้านโดสต่อปี
ข้อเด่นของวัคซีนนี้ (ARCoVax) เมื่อเทียบกับวัคซีนของ Pfizer และ Moderna ก็คือ
วัคซีน mRNA ของจีนดังกล่าว จะมาช่วยทำให้นโยบายการฉีดวัคซีนของจีนเป็นไปได้ดียิ่งขึ้นคือ ใช้ฉีดกระตุ้นเข็มสาม สำหรับประชาชนจีนที่ฉีดวัคซีนเชื้อตายสองเข็มไปแล้ว
สำหรับประเทศไทยเราเอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้พัฒนาวัคซีน mRNA ของเราเอง ซึ่งขณะนี้เสร็จสิ้นการทดลองเฟสหนึ่งแล้ว กำลังจะเข้าสู่การทดลองเฟสสอง และมีจุดเด่นเช่นเดียวกับวัคซีนของจีน คือ สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิตู้เย็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเก็บที่อุณหภูมิติดลบแบบของ Pfizer และ Moderna
ที่มา :
>> ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย
Reference