svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ลำตะคอง โคราช ปรับแผนระบายน้ำ ป้องพื้นที่เศรษฐกิจน้ำท่วม

09 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ลำตะคอง โคราช ปรับแผนระบายน้ำ ป้องพื้นที่เศรษฐกิจน้ำท่วม ส่วนสถานการณ์ของเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำ 217 ล้าน.ลบ.เมตร หรือ 69 % ของพื้นที่เก็บกัก 314 ล้าน ลบ.เมตร

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 9 กันยายน 2564 ที่ประตูระบายน้ำ (ปตร.) ข่อยงาม ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา เส้นทางน้ำธรรมชาติ ช่วงลำตะคองไหลผ่านเขตเมือง นครราชสีมา นายชยุธพงศ์  อำรุงสุข ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง สำนักงานชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ได้สั่งการให้ปรับยกบานประตูขึ้น เพื่อระบายน้ำออกจากคลองน้ำธรรมชาติ เตรียมพร้อมรับผลกระทบจากร่องมรสุมเคลื่อนผ่านเขตเมือง ซึ่งอาจมีฝนตกและมีโอกาสน้ำท่วมฉับพลันได้ รวมทั้งให้เพิ่มการระบายน้ำที่ ปตร.มะขามเฒ่า ต.บ้านใหม่ และ ปตร.คนชุม ต.ปรุใหญ่ เพื่อให้น้ำไหลสะดวกและเร็วที่สุด

ลำตะคอง โคราช ปรับแผนระบายน้ำ ป้องพื้นที่เศรษฐกิจน้ำท่วม  
 
นายชยุธพงศ์ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง เปิดเผยว่า สถานการณ์ของเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำ 217 ล้าน.ลบ.เมตร หรือ 69 % ของพื้นที่เก็บกัก 314 ล้าน ลบ.เมตร จากปรากฏการณ์ร่องมรสุมเคลื่อนผ่านป่าต้นน้ำ ผืนป่าเขาใหญ่ วันนี้มีมวลน้ำไหลเข้าเขื่อน 4.6 ล้าน ลบ.ม. ยังเหลือพื้นที่รองรับน้ำได้กว่า 100 ล้าน ลบ.ม. การบริหารจัดการน้ำต้องควบคู่กับการติดตามสภาพอากาศพร้อมประเมินสถานการณ์การรองรับน้ำจนสิ้นสุดฤดูฝน คาดการณ์จะมีน้ำไหลเข้าประมาณ 160 ล้าน ลบ.ม. ในช่วงเดือน ก.ย. กำหนดระบายน้ำวันละ 1.4 ล้าน ลบ.ม  หากมีพายุเคลื่อนผ่านหรือฝนตกท้ายเขื่อนจะพิจารณาปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ลำตะคอง โคราช ปรับแผนระบายน้ำ ป้องพื้นที่เศรษฐกิจน้ำท่วม  

แผนป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่เศรษฐกิจ เขตตัวเมืองโคราช ได้จัดสรรมวลน้ำที่อาคารแบ่งน้ำละลมหม้อ ต.โคกกรวด อ.เมือง ลงลำบริบูรณ์มากกว่าลำตะคองเท่าตัว พร้อมพร่องน้ำในลำตะคอง ช่วงไหลผ่านเขตเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา เตรียมรับมวลน้ำที่เกิดจากฝนตกหนัก ซึ่งพื้นที่ในคลองธรรมชาติสามารถรองรับน้ำได้อีกค่อนข้างมาก จึงไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด

ลำตะคอง โคราช ปรับแผนระบายน้ำ ป้องพื้นที่เศรษฐกิจน้ำท่วม

อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเมื่อเวลา 04.00 น. ที่ผ่านมา พายุโซนร้อน “โกเซิน” (COUSIN) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดจะเคลื่อนเข้าใกล้เกาะไหหลำ ลงสู่อ่าวตังเกี๋ย ช่วงวันที่ 12-13 ก.ย. นี้ และพายุไต้ฝุ่น “จันทู” (CHANTHU) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาดจะเคลื่อนเข้าใกล้เกาะไต้หวัน ช่วงวันที่ 12–13 ก.ย. ขณะนี้พายุทั้ง 2 ลูกยังไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศของประเทศไทย แต่ต้องติดตามประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิดในระยะนี้

โดย - เกษม  ชนาธินาถ
 

logoline