svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แจกสูตร "เช็กเงินสะสมประกันสังคม"

14 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รู้กันหรือยัง จ่ายเงินประกันสังคมทุกเดือน เงินเราอยู่ไหน เราสามารถเช็กเงินสะสมประกันสังคม "เงินบำนาญชราภาพ" ที่เราจ่ายไปทุกเดือนได้ง่ายๆ พร้อมวิธีการรับเงินสะสมคืน

สิ่งที่ ผู้ประกันตน ควรรู้ เมื่อเราจ่ายเงินสบทุนกองทุนประกันสังคม ไม่เพียงสิทธิ์คุ้มครองการรักษาต่างๆ เท่านั้น แต่เงินที่เราส่งไปทุกเดือนๆ สะสมนานหลายๆ ปี กลายเป็นเงินสะสม หรือที่เรียกว่า “เงินบำนาญชราภาพ”  

 

จะได้เงินก้อนนี้ “บำนาญชราภาพ” ตอนไหน

● จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

● ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

● มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

 

เช็กยอดเงินสะสมประกันสังคมต้องทำยังไง

เช็กยอดเงินง่าย ๆ เพียงแค่ปลายนิ้ว นอกจากเช็กยอดเงินสะสมแล้ว ยังสามารถตรวจสอบข้อมูลของตัวเองได้ ดังต่อไปนี้

 

- ตรวจสอบสถานพยาบาล

- ตรวจสอบยอดเงินชราภาพ

- ตรวจสอบการส่งเงินสมทบ

- ตรวจสอบยอดเงินทันตกรรม

- เปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี

 

แจกสูตร "เช็กเงินสะสมประกันสังคม"

 

●ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น SSO Connect Mobile ก็เช็กได้แล้ว

สำหรับ iOS >> คลิกที่นี่ 

สำหรับ Android >> คลิกที่นี่  

 

แจกสูตร "เช็กเงินสะสมประกันสังคม"

 

 

 

หรือเช็กเงินประกันสังคม ไม่ต้องเสียเวลานั่งรอสายก็ เพียงแค่เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม

 

ขั้นตอนการเช็กยอดเงิน

 

1. เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม https://www.sso.go.th หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบผู้ประกันตน / สมัครสมาชิก

 

2. กรอกเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่าน

 

3. สำหรับคนที่เข้าเว็บนี้ครั้งแรกต้องทำการสมัครสมาชิก กรอกหมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับรหัสการยืนยันตัวตน

 

4. ล็อกอินเข้าระบบและเลือกผู้ประกันตน

 

แจกสูตร "เช็กเงินสะสมประกันสังคม"

 

5. เข้าสู่หน้า “ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน” โดยจะแสดงรายละเอียดของผู้ประกันตน

 

6. คลิก “ข้อมูลการส่งเงินสมทบ” จะแสดงข้อมูลปีล่าสุด และจะปรากฏจำนวนเงินที่เรานำส่งแต่ละเดือน ซึ่งเงินนี้จะถูกแยกเป็น 3 ส่วน

- เงินช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย (1.5%)

- เงินช่วยเหลือเมื่อว่างงาน (0.5%)

- เงินช่วยเหลือเมื่อชราภาพ (3%) รวมสูงสุด 750 บาทต่อเดือน

 

7. เกษียณอายุการทำงาน คุณจะได้เงิน “ช่วยเหลือเมื่อชราภาพ” คืน ถ้าอยากรู้ว่าเท่าไหร่ ให้คลิกที่ “การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ”

ล่าสุด ประกันสังคม ได้แจกสูตรคำนวณเงิน "บำนาญชราภาพ" แบบง่าย ๆ สำหรับผู้ประกันตน โดยสามารถคำนวณได้ 2 กรณี ดังนี้

 

1.เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 180 เดือน หรือ 15 ปี 
จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท)


ตัวอย่างเช่น :

ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว15 ปี 
มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท 
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 3,000 บาท 

 

2.เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป
จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 
(ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท) 
และได้เพิ่ม อีก 1.5% ของทุกปี = 20% + (1.5*จำนวนปี)


ตัวอย่างเช่น

ผู้ประกันตนอายุ 60 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 35 ปี 
มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท 
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 7,500 บาท

 

*กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ 
ทายาทมีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

 

 

แจกสูตร "เช็กเงินสะสมประกันสังคม"

 

 

 

ส่วนวิธีการเช็กยอดเงินสะสม "เงินบำนาญชราภาพ" ผู้ประกันตนทุกมาตรา สามารถเช็คยอดเงินสะสมของตัวเองได้ พร้อมคำนวณจำนวนเงินผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

 

ซึ่งขั้นตอนในตรวจสอบ สามารถทำได้ ดังนี้

เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม (www.sso.go.th)

 

  • คลิกเข้าสู่ระบบ (หากไม่เคยลงทะเบียน ให้สมัครสมาชิกก่อน)
  • กรอกเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านที่ตั้งไว้

 

  • คลิกข้อมูลการส่งเงินสมทบ

ระบบจะแสดงงวดเงินสมทบ วันที่ชำระเงิน, % เงินสมทบ และจำนวนเงินสมทบนำส่ง
 

  • ส่วนการเช็กเงินสงเคราะห์ชราภาพ คลิกที่ การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ ซึ่งจะแสดงจำนวนเงินสมทบของผู้ประกันตน, จำนวนเงินสมทบของนายจ้าง, จำนวนเงินสมทบของรัฐ ยอดเงินรวม (รายปี)

 

ทั้งนี้ หากจ่ายเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่งพร้อมผมประโยชน์ทดแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

 

หมายเหตุ : ข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลที่มีในระบบ ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะไม่รวมยอดที่อยู่ระหว่างการบันทึก เงินสมทบค้างชำระหรือข้อขัดข้องอื่นๆ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา

 

มาลองคำนวณกัน เราจะได้เงินสะสมเท่าไร

 

เงื่อนประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ

 ● สำหรับ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย)

 

 ● ตัวอย่างที่ 1

20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ นำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้ายรวมกัน แล้วหารด้วย 60

 

 ● กรณีที่จ่ายเงิน สมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน

 

เช่น จ่ายเงินสมทบมาได้ 193 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 21.5% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย เป็นต้น

 

ตัวอย่างที่  2 

เช่น ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละเท่าใด และหากเสียชีวิตภายใน 5 ปี จะได้รับเงินหรือไม่อย่างไร                   

 

1. ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ              

 ● 15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%              

 ● 5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% × 5ปี ) = 7.5%              

รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี  = 20% + 7.5% = 27.5% 

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน  27.5% ของ 15,000 บาท                                                              

= 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต            

 

2. กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน              

4,125 บาท  × 10 เท่า    = 41,250 บาท           

 

จะเห็นได้ว่าการจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนั้นมิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่างการทำงานมากมายแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังคง อุ่นใจได้ว่ามีเงินออมชราภาพไว้เป็นหลักประกัน

 

แจกสูตร "เช็กเงินสะสมประกันสังคม"

logoline