svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ตำรวจ เปิดสถิติคดีอาชญากรรมไทยรอบ 1 ปี

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสถิติเหตุอาชญากรรม พบประชาชนหวาดกลัวภัยอันตราย ทำร้ายร่างกาย ฆ่า และข่มขืนกระทำชำเรามากที่สุด

2 กันยายน 2564 ผู้สื่อข่าว “เนชั่น ทีวี” ประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สอบถามถึงการเก็บสถิติเหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในบ้านร้าง พบว่า ไม่ได้มีการลงลึกในรายละเอียดว่า เป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายในตึกร้างหรือไม่อย่างไร มีแค่เพียงการแสดงตัวเลขของปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นเท่านั้น

 

สำหรับสถิติตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564 พบว่าทั่วประเทศมีการรับแจ้งความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ 14,024 ราย เป็นความผิด ฆ่าผู้อื่น(คดีอุกฉกรรจ์) 1,014 ราย, ทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย 378 ราย, พยายามฆ่า 1,639 ราย, ทำร้ายร่างกาย 3,093 ราย,  ข่มขืนกระทำชำเรา 1,465 ราย, อื่นๆ 6,435 ราย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ รับแจ้ง 45,033 ราย แบ่งเป็น ปล้นทรัพย์(คดีอุกฉกรรจ์) 35 ราย, ชิงทรัพย์ 388 ราย, วิ่งราวทรัพย์ 561 ราย, ลักทรัพย์ 19,109 ราย, กรรโชกทรัพย์ 131 ราย, ฉ้อโกง 9,122 ราย, ยักยอกทรัพย์ 5,253 ราย, ทำให้เสียทรัพย์ 3,490 ราย, รับของโจร 1,167 ราย, ลักพาเรียกค่าไถ่ 5 ราย, วางเพลิง 417 ราย, อื่นๆ 5,355 ราย

 

ตำรวจ เปิดสถิติคดีอาชญากรรมไทยรอบ 1 ปี

ในปีที่ผ่านมาทางสำนักงานแห่งชาติได้มีการสํารวจ ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการป้องกันอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ตํารวจ (PEOPLE POLL) เพื่อปรับรูปแบบการทำงานของตำรวจ โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในรูปแบบโพลล ผ่านกูเกิ้ล ฟอร์ม ซึ่งให้สถานีตํารวจทั่วประเทศทั้ง 1,484 แห่ง สํารวจความคิดเห็นของประชาชนอย่างน้อยสถานีละ 100 คน มีผลการสำรวจตั้งแต่วันที่ 1 – 20 สิงหาคม 2564 มีประชาชนตอบแบบสอบถาม จํานวน 197,860 คน เป็นหญิง ร้อยละ 51.70 ชาย ร้อยละ 48.30 ช่วงอายุที่ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ ช่วงอายุ ตั้งแต่ 20 – 29 ปี ร้อยละ 28.90 ช่วงอายุ 30 – 39 ปี ร้อยละ 25.2 และช่วงอายุ 40 – 49 ปี ร้อยละ 20.30 ถึงความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมจะต้องไม่เกินร้อยละ 40 ในภาพรวมทั้งประเทศ

 

ผลพบว่าประชาชนมีความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม ร้อยละ 32.75 ถือว่าผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กําหนด ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 ประชาชนมีความหวาดกลัว ภัยอาชญากรรม ร้อยละ 39 อย่างไรก็ตามในภาพรวมทั้งประเทศ ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพการป้องกันอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ร้อยละ 77 (ไม่ผ่านเกณฑ์) แต่มีระดับความเชื่อมั่นมากกว่าผลการสํารวจ เมื่อเดือน มิ.ย.64 ซึ่งมีความเชื่อมั่นเพียง ร้อยละ 67.50 และเดือน ก.ค.64 ซึ่งมีความเชื่อมั่น เพียง ร้อยละ 73

 

ตำรวจ เปิดสถิติคดีอาชญากรรมไทยรอบ 1 ปี

สำหรับประเภทความหวาดกลัวในชีวิต ร่างกาย เพศ และทรัพย์สิน ที่ประชาชนหวาดกลัวมากที่สุด ระหว่าง 1-20 สิงหาคม 2564 ประชาชนมีความหวาดกลัวต่อชีวิต ร่างกาย และเพศ มากที่สุดคือ ทำร้ายร่างกาย 59.03%, ฆ่า 44.41%, ข่มขืนกระทำชำเรา 38.59%, ทะเลาะวิวาท 25.92%, การค้ายาเสพติด 24.28%, ไม่มีความหวาดกลัว 23.57%, ก่อความเดือดร้อนรำคาญ 19.06%, ข่มขู่ 18.83%, ล่วงละเมิดทางเพศ 13.59%, อนาจาร 13.07%, แก๊งอันธพาล 11.54%, ลักพาตัว 5.02%, อื่นๆ 3.09%

 

ส่วนความหวาดกลัวในทรัพย์สิน ดังนี้ ลักทรัพย์ 68.83%, ชิงทรัพย์ 53.39%, วิ่งราวทรัพย์ 49.52%, ฉ้อโกง 27%, ทำให้เสียทรัพย์ 24.12%, โจรกรรมจยย. 20.59%, ยักยอก 16.37%, โจรกรรมรถยนต์ 14.36%, รับของโจร 8.79%, วางเพลิง 7.21%, ลักพาเรียกค่าไถ่ 5.38%, อื่นๆ 4.44%

 

ตำรวจ เปิดสถิติคดีอาชญากรรมไทยรอบ 1 ปี

 

ตำรวจ เปิดสถิติคดีอาชญากรรมไทยรอบ 1 ปี