28 สิงหาคม 2564 สืบเนื่องจากกรณี พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล ผู้กำกับโจ้ อดีตผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ กับพวก 7 นาย เป็นผู้ต้องหาในคดี ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาฯ จากกรณีใช้ถุงพลาสติกคลุมหัว ผู้ต้องหาคดียาเสพติดระหว่างสอบสวน เป็นเหตุให้เสียชีวิต เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา
ทนายชัชวาลย์ บำรุงวงศ์ แกนนำกลุ่ม ผู้ร่วมก่อตั้ง“ทนายความใจดี" เปรียบเทียบข้อกฎหมาย กรณี เป็นเจ้าพนักงานกระทำการให้ผู้อื่นเสียชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้
แนวทางการกล่าวหาของพนักงานสอบสวน
มาตรา 288 เจตนาฆ่าผู้อื่น โทษ 5-20ปี ตลอดชีวิต ประหาร
แนวทางการต่อสู้ของผู้ต้องหา
ปฏิเสธ สู้เป็น มาตรา 290 ไม่เจตนาฆ่าแต่ทำร้ายถึงตาย โทษ 3-15 ปี
แนวทางการกล่าวหาของพนักงานสอบสวน
มาตรา 289 (5) ฆ่าโดยทรมาน ทารุณโหดร้าย โทษประหาร
แนวทางการต่อสู้ของผู้ต้องหา
ปฏิเสธมาตรา 289 (5) ตายโดยทรมานโทษ 3- 20 ปี
แนวทางการกล่าวหาของพนักงานสอบสวน
มาตรา 184 ทำลายพยานหลักฐาน โทษ ไม่เกิน 5 ปี ปรับ 1 แสน จำ/ปรับ
แนวทางการต่อสู้ของผู้ต้องหา
รับ แต่สู้เป็น มาตรา 291 ทำโดยประมาทถึงตาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ
แนวทางการกล่าวหาของพนักงานสอบสวน
มาตรา 148 เป็นเจ้าพนักงานขืนใจให้ได้ทรัพย์สินมา โทษ 5-20 ปี ตลอดชีวิต ปรับ1-4 แสน หรือประหาร
แนวทางการต่อสู้ของผู้ต้องหา
ปฏิเสธ ไม่มีหลักฐานพอ
แนวทางการกล่าวหาของพนักงานสอบสวน
มาตรา 157 ปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่ โทษ 1-10 ปี ปรับ 2 หมื่น-2 แสน จำ/ปรับ
แนวทางการต่อสู้ของผู้ต้องหา
ปฏิเสธ ทำเพื่อชาติ เพื่อประชาชน
แนวทางการกล่าวหาของพนักงานสอบสวน
ต่างกรรมต่างวาระ โทษสูงสุด ประหารชีวิต
แนวทางการต่อสู้ของผู้ต้องหา
กรรมเดียวหลายบทลงโทษบทที่หนักสุดคือ 20 ปี ปรับ 2
รับสารภาพ ลดกึ่งนึ่ง 10 ปี 1 แสน
ดุลพินิจศาลอาจรอการกำหนดโทษตามคุณงามความดี/
ประวัติอาชญากร การชดใช้แก่ญาติไม่ติดใจเอาความ
หมายเหตุ ไม่รวมโทษตามกฎหมายฟอกเงิน ป.ป.ช. ภาษี ไล่ออกจากราชการ