ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ของไต้หวัน ได้รับวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัสที่พัฒนาขึ้นในประเทศเป็นเข็มแรกเมื่อวันจันทร์ ( 23 ส.ค. ) ในการเปิดตัวการนำวัคซีนตัวนี้ออกมา
ฉีดให้กับสาธารณะชน
วัคซีนที่ผลิตโดยบริษัท Medigen Vaccine Biologics Corp. ได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉินจากหน่วยงานกำกับดูแลเมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่้งการใช้ทางลัดเช่นนี้ กระ ตุ้นให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงจากบางส่วนของชุมชนทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ของไต้หวัน
งานนี้หน่วยงานกำกับดูแลของไต้หวัน ได้กระโดดข้ามการศึกษาวิจัยระยะยาวในผู้คนจำนวนมาก ซึ่งตามปกติ จะต้องทำกันในการอนุมัติวัคซีน
แต่พวกเขาใช้วิธีเปรียบเทียบระดับของแอนติบอดีที่วัคซีน " เมดิเจน " สามารถสร้างขึ้นได้ กับวัคซีนของแอสตร้าเซเนกา ซึ่งได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลหลายแห่ง และได้ผ่านการทดลองใช้ครบ 3 ขั้นตอนแล้ว
วัคซีนแบบ protein subunit ของเมดิเจน ซึ่งใช้ฉีด 2 เข็ม ใช้ชิ้นส่วนของไวรัสโคโรนาเพื่อสอนร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อการตอบสนอง
การตัดสินใจอนุมัติวัคซีนตามมาตรฐานใหม่ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวัคซีนตัดสินใจลาออก
นักวิจารณ์บอกว่าการอนุมัติก่อนเสร็จสิ้นการทดลองใช้อย่างเต็มรูปแบบนั้นไม่ได้ให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในโลกแห่งความเป็นจริงสำหรับการปกป้องจากโรคโควิด-19 แม้ว่าผลการศึกษาเบื้องต้นอาจจะให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจก็ตาม
ระดับของแอนติบอดีในเลือด เป็นที่ทราบกันดีว่าสัมพันธ์กับการป้องกันโรค แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่าระดับที่แน่นอนของวัคซีนตัวนี้ว่าเป็นแบบไหนกันแน่
หน่วยงานกำกับดูแลบอกว่าเมดิเจน จะต้องส่งข้อมูลประสิทธิภาพในโลกแห่งความเป็นจริงภายใน 1 ปีหลังจากได้รับการอนุมัติ
พวกเขาบอกว่าตอนที่อนุมัติวัคซีน ข้อมูลที่จัดทำโดยเมดิเจนแสดงให้เห็นว่ามันผลิตแอนติบอดีที่ทำให้เชื้อเป็นกลางในระดับ 3.4 เท่า เช่นเดียวกับวัคซีนแอสตร้าเซเนกา
สำหรับประธานาธิบดี ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกของเธอที่โรงยิมของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันในกรุงไทเป
หากคิดจนถึงวันศุกร์ที่แล้ว 40% ของประชากรไต้หวัน 23 ล้านคน ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อยหนึ่งเข็ม
นโยบายการฉีดวัคซีนของเกาะไต้หวันนั้น ให้ความสำคัญกับการฉีดเข็มแรก โดยมีเพียงกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดเท่านั้นที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม เช่นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์