svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

วิเคราะห์ “เนเธอร์แลนด์” ต้นแบบป้องกันน้ำท่วม มีดีอย่างไร?

21 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันนี้จะชวนมาศึกษาวิเคราะห์แนวทางการรับมือน้ำท่วม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือเป็นต้นแบบที่ดี ด้วยมีสภาพภูมิประเทศที่ลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศไทยมาก คือเป็นพื้นที่ต่ำ แต่ทำไมทางเนเธอร์แลนด์ จึงมีมาตรการมรการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้อย่างดีมาก ติดตามได้จากรายงานนี้

เนเธอร์แลนด์เจอพิษน้ำท่วมครั้งใหญ่ปี 1953

ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีพื้นที่ 20 เปอร์เซนต์ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล  เนเธอร์แลนด์ เป็น 1 ในประเทศที่มีสถานะเป็น ‘ประเทศแผ่นดินต่ำ’ (Low Countries) เช่นเดียวกันกับ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศส (ทางตอนเหนือ) เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าน้ำทะเล ดังนั้นเมื่อยุคสมัยก่อนจึงมักได้ยินการรายงานข่าวเกี่ยวกับการเกิดอุทกภัยจากประเทศเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง
 

วิเคราะห์ “เนเธอร์แลนด์” ต้นแบบป้องกันน้ำท่วม มีดีอย่างไร?

ย้อนกลับไปเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญ วันที่ 31 มกราคม 1953  เนเธอร์แลนด์ ประเทศแห่งนี้ เคยเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่ ที่มีชื่อว่า ‘The 1953 North Sea Flood’ โดยสาเหตุเกิดจากการรวมกันของน้จำนวนมหาศาล บวกกับลมพายุตะวันตกเฉียงเหนือที่รุนแรงจนทำให้เกิดคลื่นสูง ส่งผลให้เขื่อนพังทลายลง ทำให้พื้นที่ร้อยละ 9 ของประเทศจมอยู่ใต้น้ำ และเหตุการณ์ครั้งนั้นคร่าชีวิตชาวดัตช์ 1,836 คน (หากรวม ประเทศ อื่นๆ ที่โดนพิษจากเหตุการณ์นี้ด้วย จะมียอดจำนวนผู้เสียชีวิตเป็น  2,551 คน)  ประชาชนกว่า 100,000 คนที่กลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย
 

วิเคราะห์ “เนเธอร์แลนด์” ต้นแบบป้องกันน้ำท่วม มีดีอย่างไร?

จากผลของความเสียหายในครั้งนั้น กลายเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ หา วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม ยอมทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาลไปกับโครงการ Delta Project ที่ประกอบด้วยการสร้างคันกั้นน้ำ เขื่อน และสร้างกำแพงกันคลื่นจากลมพายุกว่า 14 แห่งรอบพื้นที่ที่ติดทะเลทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกครั้ง และประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ก็ไม่เคยเจอพิษน้ำท่วม แบบรุนแรงสาหัสอีกเลย

 

โครงการจัดระบบน้ำ Delta Works

เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 1953, ประเทศเนเธอร์แลนด์เล็งเห็น วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม มาก่อนหน้านี้แล้ว และพอมีปัญหากระตุ้นและเร่ง นั่นส่งผลให้ พวกเขาเริ่มโครงการ ‘Delta Works’ ซึ่งจะมาใช้จัดการระบบน้ำทันที

 

สำหรับ โครงการ Delta Works คือโครงการพัฒนาระบบจัดการน้ำ และควบคุมผลกระทบจากภัยพิบัติทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่บริเวณปากแม่น้ำไรน์-เมิส-เชลดา ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินการโดย หน่วยงานจัดการน้ำ Rijkswaterstaat (RWS) ประกอบไปด้วย เขื่อน พนังกั้นน้ำ กำแพงกันคลื่น รวมทั้งสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากอ่าว เพื่อควบคุมน้ำทะเลไม่ให้ทะลักเข้าแม่น้ำ ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมในพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน

 

โดยตามข้อมูล โครงการ Delta Works  การก่อสร้างยาวนานตั้งแต่ปี 1954-1997 โดยใช้งบประมาณกว่า 2.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 0.84 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งประเทศ จากเดิมที่ตั้งไว้เพียง 3.6 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
 

หากจะอธิบายหลักการในแบบรวบรัดที่สุด Delta Works คือ ทำหน้าที่กั้นน้ำทะเลและแม่น้ำออกจากกัน นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อตัวชายฝั่ง เพราะน้ำนั้นถูกเลื่อนให้อยู่ไกลจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประชาชน ส่วนที่อยู่ด้านในเขื่อนก็ยังคงเป็นน้ำจืดไม่มีน้ำเค็มจากทะเลเข้ามาปนเปื้อน สามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้

โดยที่ประตูระบายน้ำไม่ได้ทำหน้าที่ปิดกั้นน้ำทะเลอย่างถาวร แต่จะปิดเฉพาะเวลาที่มีคลื่นลมแรง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำทะเลทะลักเข้ามาในพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประชาชนได้

วิเคราะห์ “เนเธอร์แลนด์” ต้นแบบป้องกันน้ำท่วม มีดีอย่างไร?

 

ถอดบทเรียนจากเนเธอร์แลนด์
 

จากบทเรียนของ เนเธอร์แลนด์ ที่ประสบภัยน้ำท่วม และมีปัญหาเกี่ยวกับระดับพื้นที่ต่ำกว่า ระดับน้ำทะเลด้วยซ้ำ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่จุดประกายให้ทางรัฐบาลหรือผู้บริหารของประเทศไทย ได้หันมาทบทวน หันมาพิจารณาสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมแบบยั่งยืนได้ ในเชิงหลักการและนโยบาย

 

แม้ต้องยอมลงทุนอย่างมหาศาลในเบื้องต้น แต่ในระยะยาวก็จะสามารถช่วยป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่า ประเทศไทย จะต้องก้าวเดินตามรอยของ เนเธอร์แลนด์ทุกฝีก้าว แต่ก็ควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ มากที่สุด เพราะต้องลืมว่ามนุษย์ไม่มีวันควบคุมธรรมชาติได้


ฝนตกทุกครั้ง ไม่ว่าจะหนัก หรือเบา คนในประเทศไทย ก็ยังหวั่นกลัวกับภัยจากน้ำท่วมในทุกครั้งและทุกๆปีเช่นกัน  ขณะที่ เนเธอร์แลนด์ ประเทศที่ 20 เปอร์เซนต์ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล พวกเขาได้สั่งสมองค์ความรู้ การแก้ไขกันมาจากบทเรียนครั้งอดีตนานแล้ว!

วิเคราะห์ “เนเธอร์แลนด์” ต้นแบบป้องกันน้ำท่วม มีดีอย่างไร?

ขอขอบคุณที่มาของข่าว: springnews

logoline