svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศบค. เผย ไทยฉีดวัคซีนอันดับ 4 อาเซียน กว่า 23 ล้านโดส ลุ้นศบค.คลายล็อกบ่ายนี้

16 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค. เผย ไทยฉีดวัคซีนมากเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน กว่า 23 ล้านโดส สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในลำดับโลกไทยอยู่อันดับที่ 35 ลุ้นบ่ายนี้ ศบค. จ่อเคาะปลดล็อก 4 ธุรกิจในห้างสรรพสินค้า ระบุ ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ 1 เดือนสร้างรายได้ รวม 829 ล้านบาท ติดเชื้อรายใหม่ 21,157 ราย ดับเพิ่ม 182 คน

วันนี้ (16 ส.ค.64) นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 ประจำวันที่ 16 สิงหาคม ว่า  ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 35 ของโลก ผู้ป่วยรายใหม่วันนี้ 21,157 ราย ติดเชื้อในประเทศ 20,493 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 6 ราย จากเรือนจำที่ต้องขัง 658 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 899,451 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 928,314 ราย หายป่วยแล้ว 20,984 ราย หายป่วยสะสม 682,220 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 182 ราย เสียชีวิตสะสม 7,640 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.85% ผู้ป่วยรักษาอยู่ 210,934 ราย ในโรงพยาบาล 55,942 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 154,990 ราย อาการหนัก 5,626 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,161 ราย

ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 35 ของโลก

มีผู้รับวัคซีนฉีดแล้ว 23,592,227 โดส เข็มที่หนึ่งเพิ่มขึ้น 17,620 ราย สะสม 17,996,826 ราย เข็มที่สองเพิ่มขึ้น 35,804 ราย สะสม 5,109,476 ราย เข็มที่สามเพิ่มขึ้น 9,087 ราย สะสม 485,925 ราย

 

พบผู้ติดเชื้อเดินทางจากต่างประเทศ 6 ราย จากอิสราเอล 1 ราย วันที่ 13 สิงหาคม เพศชายอายุ 52 ปีสัญชาติอิสราเอล ผลพบเชื้อไม่มีอาการ แซนด์บ็อกซ์ภูเก็ต โรงพยาบาลเอกชนภูเก็ต จากกัมพูชา 5 ราย วันที่ 13 สิงหาคม ด่านพรมแดนทางบก เพศชาย 2 รายอายุ 26, 28 ปี เพศหญิง 3 ราย อายุระหว่าง 20- 29 ปี สัญชาติไทย 5 ราย อาชีพการตลาด 1 ราย พนักงานออนไลน์ 4 ราย พบเชื้อไม่มีอาการ 4 ราย มีอาการ 1 ราย  LQสระแก้ว โรงพยาบาลอรัญประเทศ

 

ทั้งนี้มีข้อมูลจากกระทรวงการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เผยว่า มีการฉีดวัคซีนรวมทั่วโลก 204,505,679 โดส ในภูมิภาคเอเชีย อินโดนิเซีย เป็นประเทศที่ฉีดวัคซีนมากลำดับที่หนึ่ง จำนวนกว่า 82 ล้านโดส เข็มหนึ่งจำนวน 19.6% เข็มสอง 10.2% มาเลเซียกว่า 27 ล้านโดส เข็มหนึ่ง 51.6% เข็มสอง 31.9% ฟิลิปปินส์กว่า 26 ล้านโดส เข็มหนึ่ง 12.7% เข็มสอง 10.9% และประเทศไทยกว่า 23 ล้านโดส เข็มหนึ่ง 27.0% เข็มสอง 27.7% และเข็มสามจำนวน 0.8% กัมพูชากว่า 16 ล้านโดส เข็มหนึ่ง 54.7% เข็มสอง 44.0% เวียดนามกว่า 13 ล้านโดส เข็มหนึ่ง 12.8% เข็มสอง 21.3% สิงคโปร์กว่า 8 ล้านโดส เข็มหนึ่ง 76.2% เข็มสอง 69.2% ซึ่งมีเพียงประเทศสิงคโปร์เท่านั้น ที่ฉีดวัคซีนเกินกว่า 70% ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ประเทศไทยจะต้องไปให้ถึงเช่นเดียวกัน จึงขอเชิญชวนโดยเฉพาะกลุ่มสูงอายุ ,7 กลุ่มโรคเสี่ยง, หญิงตั้งครรภ์ ให้เข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการเข้าโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยอาการหนักจะได้ลดน้อยลง

ขณะที่ 10 ประเทศที่ฉีดมากที่สุดอันดับหนึ่งคือ จีน ฉีดวัคซีนแล้ว 1,844 ล้านโดส อินเดีย 536 ล้านโดสสหรัฐอเมริกา 533 ล้านโดส บราซิล 160 ล้านโดสญี่ปุ่น 108 ล้านโดส เยอรมันนี 97 ล้านโดส สหราชอาณาจักร 87 ล้านโดส ตุรกี 83 ล้านโดส และฝรั่งเศส 80 ล้านโดส

ผู้ป่วยเสียชีวิตวันที่ 16 สิงหาคม จำนวน 182 ราย

สำหรับผู้ป่วยเสียชีวิตวันที่ 16 สิงหาคม จำนวน 182 ราย กรุงเทพมหานคร 64 ราย สมุทรปราการ 11 ราย สมุทรสาคร 10 ราย นครปฐม 9 ราย ปทุมธานี 8 ราย นนทบุรี 2 ราย ยะลา 3 ราย นราธิวาส 2 ราย สงขลา 1 ราย สุราษฎร์ธานี 2 ราย นครศรีธรรมราช 2 ราย ระนอง 1 ราย สตูล 1 ราย หนองคาย 8 ราย ร้อยเอ็ด 6 ราย นครราชสีมา 5 ราย อำนาจเจริญ 2 ราย สุรินทร์ 2 ราย ขอนแก่น 1 ราย มหาสารคาม 1 ราย อุดรธานี 1 ราย ยโสธร 1 ราย ตาก 7 ราย พิจิตร 3 ราย เพชรบูรณ์ 3 ราย กำแพงเพชร 2 ราย อุตรดิตถ์ 1 ราย น่าน 1 ราย ชลบุรี 8 ราย ประจวบคีรีขันธ์ 4 ราย กาญจนบุรี 3 ราย ปราจีนบุรี 3 ราย ฉะเชิงเทรา 1 ราย เพชรบุรี 1 ราย ระยอง 1 ราย สระแก้ว 1 ราย เป็นชาย 104 ราย หญิง 78 ราย เป็น ชาวไทย 176 ราย เมียนมา 6 ราย ค่ากลางอายุ 63 ปี (7 เดือน-101 ปี) อายุ 60 ปีขึ้นไป 106 ราย คิดเป็น 58% อายุน้อยกว่า 60 ปี มีโรคเรื้อรัง 52 ราย คิดเป็น 29% ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 23 ราย คิดเป็น 13%  ทารก 7 เดือน  1 ราย กรุงเทพมหานคร เมียนมา เป็นทาลัสซีเมีย เสียชีวิตที่บ้านไม่มีรายงาน อาศัย ไปในพื้นที่ระบาด 66 ราย รู้จัก 52 ราย ครอบครัว 45 ราย

 

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตโควิด-19 ของประเทศไทยรายสัปดาห์ ตัวเลขอัตราการป่วยตายจากเดิม 1.21% และลดลงมาล่าสุดอยู่ที่ 0.86% และมีแนวโน้มคงตัวตั้งแต่สัปดาห์ที่ 24 เป็นต้นมา ซึ่งมีหลายทฤษฎีที่จะอธิบายคือ

 

  1. วัคซีนกำลังทำงานอยู่หรือไม่จึงทำให้อัตราการเสียชีวิตคงที่อยู่
  2. การที่มีผู้ป่วยหนักได้กระจายออกไปได้รับความช่วยเหลือจากบุคลากรสาธารณสุขในต่างจังหวัด ทำให้คืนชีวิตให้ผู้ป่วยหนักได้ดีขึ้น

 

ผลบวกจากการตรวจด้วย ATK ทั่วประเทศข้อมูลวันที่ 15 ส.ค. มีผลบวก 803 ราย หรือประมาณ 12.27% ซึ่งจะต้องนำเข้ารับการรักษาโดยเร็ว โดยมีการออกแบบระบบ คือการรักษาแยกกักที่บ้าน กับการแยกกักในชุมชุม

 

ในส่วนปริมาณเตียง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 8,322 เตียง ครองเตียง 3,796 ราย คงเหลือ 4,526 เตียง โดยรับผู้ป่วยใหม่วันนี้ 300 ราย ผู้ป่วยสะสม 13,229 ราย จำหน่าย 295 ราย กลับบ้าน 232 ราย ส่งต่อ 63 ราย ไม่มีเสียชีวิต อยู่ระหว่าง CI 3,796 ราย ขณะที่ศูนย์พักคอยอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 5 แห่ง จำนวน 868 เตียง รวมทั้งสิ้นจำนวน 69 แห่ง จำนวน 9,190 เตียง 

ทั้งนี้ในที่ประชุมศปก.ศบค. เมื่อวานนี้ ได้มีการพูดถึงภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ สถิติสะสมระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคมจำนวนนักท่องเที่ยวสะสม 14,055 คน มาจากสหรัฐอเมริกา 1,802 ราย สหราชอาณาจักร 1,558 ราย อิสราเอล 1,455 ราย เยอรมันนี 847 ราย ฝรั่งเศส 839 ราย จำนวนคืนพัก 190,843 คืน รายได้จากค่าที่พัก 282 ล้านบาท ซื้อสินค้าและบริการท่องเที่ยว 194 ล้านบาท ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 175 ล้านบาท บริการทางการแพทย์สุขภาพ 124 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 54 ล้านบาท รวม 829 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 58,982 บาท/ทริป

 

จากการตรวจคัดกรองไม่พบผู้ติดเชื้อ 14,022 ราย สถิติผู้ติดเชื้อสะสม 441 ราย ในประเทศ 409 ราย ต่างประเทศ 32 ราย จำนวนเที่ยวบิน 141 เที่ยวบิน จำนวนพักค้างคืนของผู้เข้าพัก SHA+ ยอดการจองกรกฎาคม- กันยายน จำนวน 309,719 คืน แบ่งเป็นเดือนกรกฎาคม 190,843 คืน เดือนสิงหาคม 109,694 คืน และกันยายน 9,182 คืน

 

ส่วนสถิติระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม-  14 สิงหาคม มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่ม 20,727 ราย การตรวจคัดกรองครั้งที่หนึ่งพบผลติดเชื้อ 27 ราย คิดเป็น 0.13% ตรวจครั้งที่สอง 18 ราย คิดเป็น 0.08% กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 10 คน คิดเป็น 0.05% ตรวจครั้งที่สาม 2 คน คิดเป็น 0.01%

 

สำหรับการติดเชื้อที่อยู่ในโครงการดังกล่าวนี้มีจำนวน 57 ราย คิดเป็น 0.27% ดังนั้นกว่าเดือนครึ่งที่ได้ดำเนินการมา พบผลการติดเชื้อค่อนข้างต่ำ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่จะนำเข้าหารือในที่ประชุมศบค. บ่ายวันนี้ ขณะที่จุดหมายปลายทางยอดนิยมหลังการพำนัก 14 คืนในภูเก็ต  5 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดชลบุรี เฉลี่ยวันพัก 14 วัน จองที่พักล่วงหน้า 16 วัน

 

ทั้งนี้เป็นผลงานของภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกคน รวมถึงประชาชนภูเก็ตที่พยามทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพอย่างดี รวมถึงจังหวัดอื่นที่รับนักท่องเที่ยวจะต้องช่วยกันเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันกับ โควิด-19 ได้

 

เมื่อถามถึงวาระสำคัญในการประชุมศบค. ในช่วงบ่าย นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่า มีเรื่องพิจารณาสำคัญประมาณ 4 เรื่อง คือ

 

  1. แผนการให้บริการวัคซีน
  2. เรื่องรับการช่วยเหลือทางการแพทย์และสาธารณสุขจากต่างประเทศ เช่น กรณีแรกวัคซีน ระหว่างรัฐบาลภูฏานกับรัฐบาลไทย และการรับบริจาคยารักษาโควิด-19 จากกระทรวงสาธารณสุขประเทศเยอรมนี
  3. การประเมินผลการปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อ โควิด-19 มาตรการต่างๆ จะมีการปรับอย่างไร
  4. การเปิดพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตเชื่อมต่อกับจังหวัดนำร่องอื่นๆ (โครงการ7+7)
logoline