svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

"ทุเรียนกวน" ทางออกผลไม้ปักษ์ใต้ล้นตลาด ชาวสวนต้องช่วยตัวเอง

13 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัญหาผลไม้ล้นตลาดเพราะทั้งถูกกดราคาและการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่ไม่สามารถระบายสินค้าออกไปนอกพื้นที่ได้ ทางออกที่ง่ายที่สุดของชาวสวนผลไม้คือการนำมาแปรรูป

     ปัญหาพืชผลทางการเกษตรของชาวปักษ์ใต้ที่พร้อมใจกันให้ผลผลิตตามวงรอบของฤดูกาลจนล้นตลาดอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะผลไม้ซึ่งมีทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง เป็นต้น ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวสวนรายย่อยเป็นอย่างมาก เพราะมีหลายปัจจัยที่ไม่สามารถระบายสินค้าออกไปนอกพื้นที่ได้ นอกจากจะถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางแล้ว หากจะส่งขายเองทางออนไลน์ก็ติดปัญหาเรื่องการขนส่ง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 หลายบริษัทที่รับส่งสินค้าก็ไม่รับบริการ  บางครั้งผลไม้ที่ส่งจากจังหวัดสงขลาไปยังปลายทากรุงเทพมหานครเกือบ 10 วันแล้วก็ยังไม่ถึงมือผู้รับ ทำให้เกิดการเน่าเสียเพราะผลไม้เหล่านี้ เป็นของชาวสวนจริงๆไม่ได้แช่น้ำยาคงสภาพเอาไว้ เหมือนเช่นล้งรับซื้อผลไม้รายใหญ่ๆที่ทำกันจนเป็นเรื่องปกติ

"ทุเรียนกวน" ทางออกผลไม้ปักษ์ใต้ล้นตลาด ชาวสวนต้องช่วยตัวเอง

    "ทุเรียนกวน" ทางออกผลไม้ปักษ์ใต้ล้นตลาด ชาวสวนต้องช่วยตัวเอง          ทางออกที่ง่ายที่สุดของชาวสวนผลไม้คือการแปรรูป ที่นิยมทำกันมากที่สุดคือ ทุเรียนกวน ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปีหากอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมเช่นในตู้เย็น นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานานพอๆกับทุเรียนต้นแรกกำเนิดขึ้นในภาคใต้ แต่นั่นก็ใช่ว่าจะทำกันได้ทุกครัวเรือน เพราะเบื้องต้นต้องมีทุเรียนเป็นของตัวเองก่อน บางคนที่ไม่มีสวนทุเรียนเองก็ไปหาซื้อทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง หรือไม่ก็ทุเรียนพันธุ์ดีที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ถูกคัดเกรดออกเช่น บางส่วนเน่าเสีย ถูกสัตว์โดยเฉพาะกระรอกกัดกินเหลือสภาพไม่สมบรูณ์ ซึ่งการทำทุเรียนกวนแต่ละครั้งต้องสะสมเนื้อทุเรียนให้ได้มากพอสมควร 3 -5 กิโลกรัมเป็นอย่างน้อย เพราะเมื่อกวนเสร็จเนื้อทุเรียนจะเหลือเพียงประมาณครึ่งเดียว

"ทุเรียนกวน" ทางออกผลไม้ปักษ์ใต้ล้นตลาด ชาวสวนต้องช่วยตัวเอง

"ทุเรียนกวน" ทางออกผลไม้ปักษ์ใต้ล้นตลาด ชาวสวนต้องช่วยตัวเอง

     สมัยก่อนเมื่อครั้งแก๊สหุงต้มยังไม่เข้ามามีบทบาทในครัวเรือน ชาวบ้านจะใช้ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิง ข้อดีอย่างหนึ่งคือช่วยเพิ่มความหอมให้กลิ่นทุเรียนกวน ปัจจุบันคนที่ประกอบอาชีพกวนทุเรียนขายเป็นล่ำเป็นสันในช่วงนี้ จะมีการปรุงแต่งรสชาติเข้าไปด้วย นอกจากจะเติมน้ำตาลทรายลงไปเพิ่มความหวานแล้ว ยังแอบเติมแป้งมันลงไปด้วยเพื่อเพิ่มปริมาณ นับเป็นความไม่ซื่อตรงต่อผู้บริโภคเพราะต้องการแต่ยอดขายเนื่องจาก ทุเรียนกวนมีราคาแพง 300-400 บาทต่อกิโลกรัม และหากนำไปแยกบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ดูสวยงาม สร้างแบรนด์เนมให้น่าสนใจ สามารถเพิ่มมูลค่าเป็นอีกเท่าตัว

"ทุเรียนกวน" ทางออกผลไม้ปักษ์ใต้ล้นตลาด ชาวสวนต้องช่วยตัวเอง
     แต่ถึงอย่างไรไม่ว่าจะใช้แก๊สหุงต้มหรือเตาถ่าน การกวนทุเรียนแต่ละครั้งต้องใช้ไฟอ่อนๆตลอดเวลา และต้องกวนอย่างต่อเนื่องหยุดไม่ได้ เนื้องจากจะทำให้เนื้อทุเรียนไหม้ ดังนั้นต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงจนกว่าเนื้อทุเรียนกวนจะแห้งเป็นก้อนกลมกลิ้งได้ไม่ติดกระทะ กว่าเสร็จสิ้นกระบวนการคนกวนถึงกับเหงื่อตกกันเลยทีเดียว

"ทุเรียนกวน" ทางออกผลไม้ปักษ์ใต้ล้นตลาด ชาวสวนต้องช่วยตัวเอง

ภาพ...จรูญ ทองนวล ( Charoon Thongnual )

logoline