svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ปรากฎการณ์สะท้อนความอัดอั้น"คนปัตตานี" ไม่เอาผู้ว่ามารอเกษียณ

09 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากเหตุการณ์คนปัตตานีแสดงความไม่พอใจ โดยผ่านข้อความบนป้ายไวนิลระบุว่า "ปัตตานีไม่ใช่ที่ให้คนมาเกษียณ" ผลสะท้อนจากการมองข้ามความสำคัญและการมีส่วนร่วมของประชาชน

จากเหตุการณ์เมื่อวันอาทิตย์ที่มีมือมืดแอบติดป้ายไวนิลในย่านศูนย์ราชการเมืองปัตตานี ซึ่งมีข้อความแสดงความไม่พอใจในและไม่เห็นด้วยกับคำสั่งแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดปัตตานี ซึ่งมองว่าส่งบุคคลที่ใกล้เกษียณมาเพื่อรอเวลาเกษียณอายุราชการเท่านั้น

 

ทั้งนี้สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบบัญชีรายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงสังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 28 ราย เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 64 หนึ่งในนั้นคือ นายนิพนธ์ บัวหลวง พ้นจากผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ซึ่งเหลืออายุราชการเพียง 1 ปี

ปรากฎการณ์สะท้อนความอัดอั้น"คนปัตตานี" ไม่เอาผู้ว่ามารอเกษียณ

 

 

โดยป้ายไวนิงระบุว่า "ปัตตานีไม่ใช่ที่ให้คนมาเกษียณ", "เห็นจังหวัดเราเป็นอะไร", "ปัตตานีไม่เอาผู้ว่าฯปีเดียว", "ส่งผู้ว่าให้มาเกษียณที่ตานี อย่าดูถูกคนปัตตานี", "คนปัตตานีก็เสียภาษี แต่ส่งของใกล้หมดอายุมาเป็นผู้ว่าฯ"

ปรากฎการณ์สะท้อนความอัดอั้น"คนปัตตานี" ไม่เอาผู้ว่ามารอเกษียณ

ขณะที่ในโซเชียลอย่างเพจ “Pattani Thai News” ก็ได้โพสต์ข้อความในลักษณะเดียวกันว่า " #saveปัตตานี คนปัตตานีไม่เอาผู้ว่าที่มาเกษียณ 1 ปี หากไม่ทำงาน ไม่ต้องมา อย่าดูถูกคนปัตตานี” ซึ่งในคอมเม้นท์มีการแสดงความคิดเห็นจากชาวปัตตานีกว่าร้อยข้อความในลักษณะเห็นด้วยกับโพสต์ พร้อมขอเรียกร้องให้คนคนรุ่นใหม่เข้าทำงานเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในจังหวัด"

ซึ่งเป็นการสะท้อนความเห็นของคนปัตตานีที่มองว่าการที่ผู้ว่าราชการมาอยู่แค่ 1 ปีมีเวลาน้อยเกินไปในการทำความเข้าใจและพัฒนาจังหวัด โดยผศ.ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี นักวิชาการ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา ระบุว่า

 

ปรากฏการณ์นี้เป็นการเรียกร้องที่สะท้อนความรู้สึกว่าการแก้ไขปัญหาต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชนท้องถิ่น  ซึ่งที่ผ่านมาการส่งผู้ว่าฯมาเป็นผู้ว่าฯในระยะสั้นแค่ปีเดียวเห็นบ่อยจนชาวบ้านทนไม่ได้  ถึงแม้ผู้ว่าฯจะแต่งตั้งจากข้างบนแต่ว่าต้องเป็นคนที่ประชาชนยอมรับ เข้าใจ หรือมีพื้นฐานการทำงานในพื้นที่มาก่อน มีเวลาทำงานนาน ๆอย่างน้อย 2 ปี แต่ว่าถ้ามาแบบรอเกษียณปีเดียวและคนที่อื่นที่ไม่มีประสบการณ์เลยยิ่งทำให้ปัญหาของประชาชนไม่ได้รับการดูแลแก้ไขจริงจัง จริงทำให้เสียงสะท้อนเกิดขึ้นและแรงขึ้น 

 

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

ขณะที่พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ให้ความเห็นในเรื่องนี้โดยเห็นด้วยว่าคนที่จะมาเป็นผู้ว่าฯควรจะเป็นคนในพื้นที่ เพื่อที่จะง่ายต่อการทำงานพร้อมระบุ เท่าที่ทราบคนที่มาเป็นผู้ว่าฯคนใหม่ หรือนายนิพันธ์ บุญหลวง ทำงานในพื้นที่ภาคเหนือมาโดยตลอดจึงรู้สึกเป็นห่วงว่าจะอยู่ในพื้นที่ได้อย่างไร

 

พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ

ทั้งนี้หากนับย้อนไปเป็นเวลากว่า 17 ปีนับตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปี 2564 จังหวัดปัตตานี

 มีผู้ว่าฯที่ดำรงตำแหน่งปีเดียวถึง 8 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปีสุดท้ายก่อนเกษียณ ได้แก่

 

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี คนที่ 39 นายเสนอ จันทรา (1 ต.ค.46 - 30 ก.ย.47)

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี คนที่ 40 นายเชิดพันธ์ ณ สงขลา (1 ต.ค.47 - 30 ก.ย.48)

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี คนที่ 43 นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล (4 ต.ค. 53 - 30 ก.ย.54)

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี คนที่ 44 นายธีระ มินทราศักดิ์ (28 พ.ย.54 - 30 ก.ย. 55)

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี คนที่ 45 นายประมุข ลมุล (1 ต.ค.55 - 30 ก.ย.56)

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี คนที่ 46 นายวิทยา พานิชพงศ์ (1 ต.ค.56 - 30 ก.ย.57)

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี คนที่ 48 นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ (29 มี.ค.59 - 30 ก.ย.59) เท่ากับอยู่ไม่ถึง 1 ปี

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี คนที่ 51 นายราชิต สุดพุ่ม (1 ต.ค.63 ถึงปัจจุบัน)

 

ทั้งนี้ หากนับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา คือ 10 ปีหลังมานี้ มีผู้ว่าฯปัตตานีเพียง 3 คนที่ดำรงตำแหน่งเกิน 1 ปี คือ นายวีรพงค์ แก้วสุวรรณ (3 พ.ย. 57 - 28 มี.ค. 59) นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ (1 ต.ค. 59 - 30 ก.ย. 61) และ นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ (1 ต.ค.61 - 30 ก.ย.63)

 

ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงมาจากผลสะท้อนจากการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะปัตตานี ซึ่งที่ผ่านมามุ่งไปที่ความมั่นคงและด้านการทหาร จนมองข้ามความสำคัญและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเมื่อในระยะหลังเรื่องเมื่อความขัดแย้งได้ลดความรุนแรงลด ประชาชนในพื้นที่จึงคาดหวังกับการแก้ปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจชีวิตความเป็นอยู่จึงได้สะท้อนออกมาเป็นปรากฎการณ์เช่นนี้

logoline