svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

หลั่งน้ำตา!จำใจโอนที่นาให้กรมชลแลกเงินชดเชย น้ำท่วมทำอะไรไม่ได้

03 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เกษตรกรศรีสะเกษ หลั่งน้ำตา ลงชื่อโอนที่นาให้กับกรมชลประทาน หลังต่อสู้มายาวนาน กว่า 30 ปี ในกรณีการสร้างเขื่อนหัวนา ส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมไร่นา นับหมื่นแปลง ชาวบ้านเกษตรกรทำกินไม่ได้ เบื้องต้นวันนี้ได้รับการดูแล จ่ายค่าชดเชย 20 แปลง 100 ไร่ๆ ละ 125,000 บาท

3 สิงหาคม 2564 ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ สาขากันทรารมย์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนหัวนา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ซึ่งตอนสร้างเขื่อนงานรับผิดชอบอยู่ในกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรมพลังงาน ซึ่งไม่มีข้อกฎหมายในการจ่ายค่าชดเชยกรณีการสร้างเขื่อนและเกิดน้ำท่วมไร่นาของพี่น้องเกษตรกร แต่ชาวบ้านก็ได้มีการยื่นเรื่องเรียกร้องขอค่าชดเชยต่อสู้มาโดยตลอด จนมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการโอนงานในการสร้างเขื่อนมาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน ซึ่งมีข้อกฎหมายกฎระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน ทำให้เกษตรกรได้มีการยื่นเรื่องขอให้ดูแลช่วยเหลือจ่ายค่าชดเชยในพื้นที่ทำกินที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมด จำนวนกว่า 10,000 ไร่ ทั้งที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ 

 

โดยมีกลุ่มเกษตรกรที่มีการรวมตัวกันยื่นเรื่องอยู่ประมาณ 5 กลุ่ม โดยวันนี้ได้มีการพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินชดเชยกลุ่มแรกจำนวน 20 แปลงพื้นที่ประมาณ 100 ไร่  โดยเกษตรกรต้องมาดำเนินการโอนที่ดินที่ถูกน้ำท่วมให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมชลประธานก่อนจ่ายเงินชดเชย โดยอัตราค่าชดเชยจะจ่ายให้ ไร่ละ 125,000 บาท เกษตรกรจำใจลงชื่อโอนที่ให้กรมชลประทาน แม้จะไม่คุ้มกับพื้นที่ที่สูญเสียไป แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะพื้นที่ถูกน้ำท่วมมาตั้งแต่เขื่อนสร้างเสร็จ หลายคนที่สูญเสียที่ทำกินทั้งหมดต้องนำเงินเหล่านี้ไปหาซื้อที่ทำกินใหม่ ขณะที่หลายคนก็ยังพอมีพื้นที่หลงเหลือทำกินบ้างเล็กน้อย เขาจะได้นำเงินนี้ไปสำรองเป็นทุนใช้จ่ายในครอบครัวในช่วงประสบปัญหาไม่มีรายได้ช่วงโควิดนี้ด้วย

หลั่งน้ำตา!จำใจโอนที่นาให้กรมชลแลกเงินชดเชย น้ำท่วมทำอะไรไม่ได้
 

เกษตรกรรายหนึ่งเล่าให้ผู้สื่อข่าวฟัง ว่า ถ้าว่าคุ้มไหม มันก็ไม่คุ้มหรอก เพราะอย่างน้อยๆ เราก็ยังมีที่ทำกิน แต่ตอนนี้เราไม่มีที่ทำกินแล้ว มันก็ไม่คุ้ม แปลงขอตนก็พอยังมีส่วนที่เหลืออยู่บ้าง ประมาณ 2 ไร่กว่า พอได้ทำกิน

 

เกษตรกรอีกราย เล่าความรู้สึกหลังจากเสร็จโอนที่ดิน ว่า ตอนนี้ตนก็ใจหาย ใจหวิวมาก ๆ  เพราะต้องเสียที่นาไป เสียดายที่ทำกิน เพราะเป็นพื้นที่ทำกินตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อแม่ จนมาถึงปัจจุบัน ใช้ทำกินมา ตลอด พอมาถึงวันนี้ หลังจากเสร็จโอนที่ ตนใจหวิวมาก ตนรู้สึกเสียที่ไร่ที่นาไป เสียดายมาก

หลั่งน้ำตา!จำใจโอนที่นาให้กรมชลแลกเงินชดเชย น้ำท่วมทำอะไรไม่ได้
 

ขณะที่ นายกฤษกร ศิลารักษ์  ที่ปรึกษากลุ่มโนนสังข์ กล่าวว่า เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนหัวนา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ซึ่งตอนสร้างเขื่อนงานรับผิดชอบอยู่ในกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรมพลังงาน ซึ่งไม่มีข้อกฎหมายในการจ่ายค่าชดเชยกรณีการสร้างเขื่อนและเกิดน้ำท่วมไร่นาของพี่น้องเกษตรกร แต่ชาวบ้านก็ได้มีการยื่นเรื่องเรียกร้องขอค่าชดเชยต่อสู้มาโดยตลอด จนมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการโอนงานในการสร้างเขื่อนมาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน ซึ่งกลุ่มที่มาวันนี้คือชุดที่มีเอกสารสิทธิ์ ทางเจ้าพนักงานที่ดินจัดให้มาคิวละ 20 แปลง จากทั้งหมดรอบแรกที่ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ตอนนี้ จาก 82 แปลง เป็นเงิน 50 กว่าล้านบาท ทางรัฐบาลก็ได้ช่วยเหลือมาในราคาไร่ละ 125,000 บาท ที่ได้ทำการโอนสิทธิ์ให้กรมชลประทานในวันนี้ เพราะกรมชลประทานเป็นผู้สัญญาซื้อขายวันนี้ก็เหมือนกับมาทำสัญญาโอนที่ดินให้กับทางชลประทาน เพื่อที่จะได้รับเงินค่าชดเชยนี้ครับ

หลั่งน้ำตา!จำใจโอนที่นาให้กรมชลแลกเงินชดเชย น้ำท่วมทำอะไรไม่ได้

โดย - พงษพัฒน์ ไตรพิพัฒน์
 

logoline