svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

นายอำเภอแจงใช้ภาษาถิ่นในหนังสือราชการสำรวจ "คนจนแจ๊กๆ"

31 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นายอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ชี้แจงหนังสือราชการใช้ภาษาท้องถิ่นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มยากจนในลักษณะ “จนแจ๊กๆ” เพื่อความเข้าใจตรงกันของเจ้าหน้าที่

30 กรกฎาคม 2564 จากกระแสดราม่าหนังสือที่นายสิทธิชัย เทพภูษา นายอำเภอเทพา จ.สงขลาส่งไปยังผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ให้สำรวจรายชื่อประชาชนผู้ยากจนในพื้นที่ของตัวเอง เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา และให้รายงานให้อำเภอทราบภายในวันที่ 2 สิงหาคม 2564  ซึ่งประเด็นที่กลายเป็นดราม่าในหนังสือดังกล่าวก็คือ ด้วยอำเภอเทพามีข้อมูลประชาชนผู้ยากจน ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือแล้วนั้น แต่ยังมีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งยากจนในลักษณะ “จนแจ๊กๆ” จนทำให้เกิดกระแสดราม่าในโลกโซเชียล  เนื่องจากคำว่า “จนแจ๊กๆ” นั้น เป็นภาษาพูดของท้องถิ่นภาคใต้ที่นำมาใช้ในหนังสือราชการ 

นายอำเภอแจงใช้ภาษาถิ่นในหนังสือราชการสำรวจ "คนจนแจ๊กๆ"

         

นายอำเภอแจงใช้ภาษาถิ่นในหนังสือราชการสำรวจ "คนจนแจ๊กๆ"

นายสิทธิชัย กล่าวว่า เนื่องจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา จะเร่งช่วยกลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  

        
“ผมประชุมแล้วคนก็ไม่ค่อยเข้าใจ ผมเลยปรึกษากับอาจารย์ภาษาไทยที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และผู้รู้ทางด้านภาษาท้องถิ่นก็เลยพิมพ์หนังสือฉบับนี้ไป คำว่า “แจ๊กๆ” คนเข้าใจหมดเลย”

 

        

นายสิทธิชัย กล่าวและว่า หนังสือฉบับนี้ยังไม่ค่อยละเอียดเท่าไหร่ เพราะผมต้องรีบดำเนินการ  เพราะกลุ่มคนกลุ่มนี้ยังตกหล่นที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือก็คือกลุ่มที่ “จนแจ๊กๆ” จึงต้องรีบหาคนกลุ่มนี้เพื่อรีบช่วย

นายอำเภอแจงใช้ภาษาถิ่นในหนังสือราชการสำรวจ "คนจนแจ๊กๆ"

         
“ก็เลยต้องใช้ภาษาที่เป็นภาษาชาวบ้านแต่ใส่หนังสือราชการประมาณนี้” นายอำเภอเทพา กล่าว
 

ข่าวโดย..สมชาย  สามารถ

logoline