svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อุทยานฯ เปิดภาพ "เสือโคร่ง" จากกล้องดักถ่าย ในวันอนุรักษ์เสือโลก

29 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทุก ๆ ปี จะกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม เป็น "วันเสือโคร่งโลก” หรือ "วันอนุรักษ์เสือโลก” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเสือโคร่งในระบบนิเวศ และตระหนักถึงการอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ป่า โดยวันเสือโคร่งโลกถูกกำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2553

ทุก ๆ ปี จะกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม เป็น "วันเสือโคร่งโลก” หรือ "วันอนุรักษ์เสือโลก” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเสือโคร่งในระบบนิเวศ และตระหนักถึงการอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ป่า โดยวันเสือโคร่งโลกถูกกำหนดขึ้นจากการประชุมว่าด้วยเรื่องเสือโคร่งที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ใน พ.ศ. 2553

อุทยานฯ เปิดภาพ "เสือโคร่ง" จากกล้องดักถ่าย ในวันอนุรักษ์เสือโลก

สำหรับประเทศไทย ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตวืป่า และพันธุ์พืช ได้เปิดเผยว่าในปี 2563 ประเทศไทยมีประชากรเสือโคร่งในผืนป่าประมาณ 130 -160 ตัว ส่วนใหญ่พบในบริเวณผืนป่าตะวันตก ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ซึ่งในอดีตเมืองไทยเคยพบเสือโคร่งอาศัยอยู่ตามป่าทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันมีประชากรเสือโคร่งอาศัยอยู่ตามพื้นที่อนุรักษ์ไม่กี่แห่งเท่านั้น

"เสือโคร่ง” เป็นสัตว์กินเนื้อผู้ล่าสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร ทำหน้าที่ควบคุมประชากรสัตว์กินพืชไม่ให้มีมากเกินไป ในอดีตเคยมีเสือโคร่ง อยู่ 8 สายพันธุ์ย่อย แต่สูญพันธ์ไปแล้ว 3 สายพันธุ์ย่อย ปัจจุบัน "เสือโคร่ง" อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ด้วยภัยคุกคามจากการล่าและการทำลายที่อยู่อาศัย

อุทยานฯ เปิดภาพ "เสือโคร่ง" จากกล้องดักถ่าย ในวันอนุรักษ์เสือโลก

การอนุรักษ์เสือโคร่ง จึงไม่ใช่แค่ความพยายามรักษาสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไปเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการรักษาระบบนิเวศของผืนป่าขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาฐานทรัพยากรชีวภาพให้คงอยู่เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประเทศชาติ  อีกทั้งยังแสดงถึงความมุ่งมั่นและประสิทธิภาพในการรักษาทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าของชาติอีกด้วย

ด้านนายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) เปิดเผยว่าวันเสือโคร่งโลก (Global Tiger Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี สำนักบริหารอนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) ร่วมกับ องค์การแพนเทอรา (Panthere) ประเทศไทย และสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน(ZSL) ประเทศไทย ที่ได้รับอนุญาต เข้าร่วมทำการศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการ ในการติดตามสัตว์ตระกูลแมวป่า ในกลุ่มป่าทางทิศใต้ ของผืนป่าตะวันตก ในจังหวัดกาญจนบุรี 6 อุทยานแห่งชาติ 1 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 

อุทยานฯ เปิดภาพ "เสือโคร่ง" จากกล้องดักถ่าย ในวันอนุรักษ์เสือโลก

โดยองค์การ Panthere และสมาคม ZSL ได้ส่งรายงานผลการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติในการสำรวจเสือโคร่งในกลุ่มป่าทางทิศใต้ของผืนป่าตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างเดือน ต.ค 2563 ถึงเดือน มี.ค 2564 ผลการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ สามารถถ่ายภาพสัตว์ผู้ล่าในวงศ์เสือและแมว 5 ชนิด ได้แก่ เสือโคร่ง เสือดาว เสือดำ เสือลายเมฆ เสือไฟ แมวดาว ถ่ายภาพสัตว์ป่าสงวนจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ สมเสร็จ เลียงผา และเก้งหม้อ และ ถ่ายภาพสัตว์ป่าคุ้มครองได้ 38 ชนิด เช่น ช้างป่า วัวแดง หมาใน ชะมดแผงสันหางดำ เป็นต้น

อุทยานฯ เปิดภาพ "เสือโคร่ง" จากกล้องดักถ่าย ในวันอนุรักษ์เสือโลก

นายนิพนธ์ฯ กล่าวว่า จากผลการวิจัยขององค์การPanthera และสมาคม ZSL และผลของการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติเพื่อสำรวจเสือโคร่งในกลุ่มป่าทางทิศใต้ของผืนป่าตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี พบเสือโคร่ง และสัตว์ป่าหายากเพิ่มขึ้น บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และสัตว์ป่า ในกลุ่มป่าทางทิศใต้ ของผืนป่าตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการที่เสือโคร่งและสัตว์ป่าหายาก เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ Smart Patrol การป้องกันและปราบปรามอย่างเข้มข้น ของเจ้าหน้าที่ฯ ไม่เว้นวันหยุด จับจริง ติดคุกจริง เพราะโทษของการล่าสัตว์ป่า ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 มีโทษสูงมาก จำคุกสูงสุดถึง 15 ปี ปรับสูงสุดถึง 1 ล้าน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อุทยานฯ เปิดภาพ "เสือโคร่ง" จากกล้องดักถ่าย ในวันอนุรักษ์เสือโลก

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปสร้างความร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า ทุกมิติ ทุกด้าน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตาม นโยบาย ทส.ยกกำลัง 2 + 4 ของ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

อุทยานฯ เปิดภาพ "เสือโคร่ง" จากกล้องดักถ่าย ในวันอนุรักษ์เสือโลก

logoline