svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ปศุสัตว์เลยเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เข้มงวดเข้า-ออกฟาร์ม

18 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปศุสัตว์จังหวัดเลย เฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร นำคณะตรวจเยี่ยมฟาร์มสุกรที่มีมาตรฐานเมืองเลย พร้อมกำชับปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ต้องมีการประเมินความเสี่ยงฟาร์ม และตรวจโรค ASF เป็นลบ ก่อนการเคลื่อนย้ายสุกรทุกครั้ง

18 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.30 น. นายสุวัฒน์ มัตราช ปศุสัตว์จังหวัดเลย พร้อมด้วย นายนาวา อักษร หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์สารสนเทศ นายบุญโชค บรรณสาร หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาปศุสัตว์ และนายธีระศักดิ์ สอนอ่อน ปศุสัตว์อำเภอเชียงคาน เข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มสุกร “สุธาสิณีฟาร์ม” หมู่ 3 ต.ปากตม อ.เชียงคาน จ.เลย เพื่อดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(ASF)

 

ปศุสัตว์เลยเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เข้มงวดเข้า-ออกฟาร์ม

ปศุสัตว์จังหวัดเลย กล่าวว่า ฟาร์มสุกร สุธาสิณีฟาร์ม เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองฟาร์มมาตรฐานแล้ว มีการเลี้ยงสุกรขุน จำนวน 800 ตัว เป็นฟาร์มพันธะสัญญากับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) ในการนี้ปศุสัตว์จังหวัดเลย ได้แนะนำการเข้มงวดควบคุมการเข้า-ออกฟาร์ม และการเคลื่อนย้ายสุกร ต้องปฏิบัติตามข้อสั่งการของกรมปศุสัตว์ ให้แก่นายชาญชัย คุ้มบุญ ผู้จัดการฝ่ายผลิตสุกร และเจ้าของฟาร์ม โดยเฉพาะต้องมีการประเมินความเสี่ยงฟาร์ม และตรวจโรค ASF เป็นลบ ก่อนการเคลื่อนย้ายสุกรทุกครั้ง ฟาร์มสุกรที่คณะไปเยี่ยมเป็นครั้งนี้ ฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มสุกร (GAP) เป็นการเลี้ยงในระบบปิด บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปได้ เจ้าของหรือแรงงานผู้เลี้ยงสัตว์จะเข้าภายในฟาร์ม ต้องผ่านระบบห้องอาบน้ำฆ่าเชื้อและเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดปฏิบัติงาน สำหรับการเข้า -ออกทุกครั้ง จึงเป็นฟาร์มที่มีระบบป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดโรคระบาดได้ ครับ เป็นฟาร์มลงทุนค่อนข้างสูง แต่เกษตรบอกว่าคุ้มค่ากับการบงทุน เนื่องจากเป็นลูกเล้าของบริษัทใหญ่ ไม่มีปัญหาเรื่องการตลาด

 

ปศุสัตว์เลยเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เข้มงวดเข้า-ออกฟาร์ม

สำหรับ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นโรคไวรัสติดต่อร้ายแรงที่เกิดกับสัตว์ในตระกูลสุกรทุกชนิด เกิดได้ทุกช่วงอายุ การเกิดโรคมักมีการระบาดรุนแรงทาให้สัตว์ที่ติดเชื้อตายเกือบหมด แต่เชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสูง สุกรที่หายป่วยแล้วยังมีเชื้อไวรัสได้นาน จึงสามารถเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต ทำให้เมื่อมีเกิดโรคขึ้นในประเทศแล้วยากที่จะกำจัดโรคได้หมด ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนเพื่อใช้ป้องกันและควบคุมโรคนี้ทำให้การเกิดโรคระบาดส่งผลกระทบรุนแรงโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมากแม้ว่าเชื้อนี้จะไม่ติดคนก็ตาม โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรจึงเป็นความเสี่ยงใหม่อีกชนิดหนึ่งสาหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงและผลิตสุกรของประเทศไทย เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายสัตว์-ซากสัตว์ภายในภูมิภาค รวมถึงมีโอกาสที่เชื้อจะปนเปื้อนกับคนและอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกเพื่อการบริโภค โดยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคระบาดสัตว์ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม กรมปศุสัตว์จำเป็นต้องดำเนินมาตรการเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อป้องกันมิให้โรคนี้เข้ามาภายในประเทศ ซึ่งมีอุตสาหกรรมการผลิตและเลี้ยงสุกรที่ก้าวหน้าในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ปศุสัตว์เลยเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เข้มงวดเข้า-ออกฟาร์ม

logoline