svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ยอดส่งออก "ติหมา" ไปจีนพุ่ง

31 มีนาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ตรัง - ชาววังวนเร่งผลิตติหมาใบจากตรัง ส่งออกประเทศจีนเดือนละกว่า 40,000 ใบ สร้างยอดขายพุ่งหลังโควิด นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆผลิตภัณฑ์จากก้านจาก เสวียนหม้อ โคมไฟ ฝาชี กระเป๋า กระจาด ตะกร้า ฯลฯ ส่งประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ระยะเวลา 3 เดือน / ครั้ง

31 มีนาคม 2564 ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานก้านจาก บ้านนายอดทอง ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรังเร่งผลิตติหมาจากใบจาก หลังต้องปิดดำเนินการมานาน 4 เดือน และสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ขณะนี้จึงมีออเดอร์จากประเทศจีนเดือนละกว่า 40,000 ใบ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยออเดอร์ล้นไปจนถึง 20 เมษายนนี้                ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลวังวน ต่างเร่งผลิตสินค้าติหมาติหมาใบจากตรัง ซึ่งพบว่าตามครัวเรือนต่างๆ ในพื้นที่ได้แบ่งหน้าที่กันในการจัดเตรียมวัตถุดิบ โดยบางรายถนัดในการตัดยอดใบจากแล้วนำมาสับ บางรายนำใบจากที่สับแล้วมาคลี่แล้วม้วนเป็นวงกลมแล้วนำไปตากแดด 

ยอดส่งออก "ติหมา" ไปจีนพุ่ง

                และหลังจากนั้นได้นำตัววัตถุดิบใบจากที่ตากแห้งแล้วส่งทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เพื่อกระจายไปยังสมาชิก มารับเพื่อนำไปทำการแปรรูปเป็นติหมา แล้วหลังจากแปรรูปเป็นติหมาแล้วจะนำมาตรวจมาตรฐานให้ติหมาทุกใบได้คุณภาพ ก่อนนำเข้าตู้อบและตู้ฆ่าเชื้อ ก่อนนำส่งขายทุกใบทุกชิ้นปลายทางประเทศจีนตามออเดอร์       

ยอดส่งออก "ติหมา" ไปจีนพุ่ง


นอกจากนั้นยังมีออเดอร์จากจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดท่องเที่ยวที่กำลังจะเปิดขาย หลังจากสถานการณ์โควิดหลายพื้นที่เริ่มคี่คลาย ทำให้ทางกลุ่มต้องเปิดรับสมาชิกใหม่เพิ่ม โดยเน้นเฉพาะเป็นชาวตำบลวังวนเท่านั้น เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนได้มีรายได้ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ทำจากก้านจาก เช่น เสวียนหม้อ โคมไฟ ฝาชี กระเป๋า กระจาด ตะกร้า ฯลฯ ทั้งหมดจะส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ระยะเวลา 3 เดือน/ครั้ง

ยอดส่งออก "ติหมา" ไปจีนพุ่ง

                  นางสุจินต์ ไข่ริน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานก้านจากบ้านนายอดทอง ต.วังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง บอกว่า ทางกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนมีสมาชิกทั้งหมด 76 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่จะรับงานไปทำที่บ้าน ติหมา มาจากภาษามลายู ซึ่งแปลว่า กระบุง หรือกระบวยตักน้ำ เดิมทำเฉพาะภาชนะรองก้นหม้อ เพื่อป้องกันสีดำติดพื้น เพราะคนสมัยก่อนจะหุงข้าวด้วยไม้ฟืนทำให้สีดำติดพื้นไปทั่ว ก็เลยนำใบจากที่เหลือทิ้งในชุมชนมาเหลาทำเป็นทารองก้นหม้อ และส่วนนำมาทำติหมา สำหรับใช้ตักน้ำในบ่อหรือวิดน้ำในเรือ แต่ขณะนี้นำมาใช้สำหรับใส่อาหารและเครื่องดื่ม                 สำหรับวิธีการทำจะใช้ส่วนของยอดจากตัดออกมาตรงโคนและตรงปลาย เปิดรอยกลีบแล้วม้วนสานเป็นใบต่อใบประมาณ 14-15 ใบ และนำมาผูกทั้ง 2 ด้าน เชือกที่ใช้ผูกก็เป็นก้านจาก ล้วนใช้วัสดุจากธรรมชาติทั้งหมด เมื่อทำเสร็จทดลองใส่น้ำหากไม่มีน้ำรั่วออกมา ถือว่าใช้ได้ หลังจากนั้นนำไปแขวนไว้ในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ 1 วัน ตอนเย็นนำออกมาแล้วนำไปเข้าตู้โอโซนอบเพื่อฆ่าเชื้ออีกหนึ่งคืน       

จากนั้นก็สามารถบรรจุกล่องพร้อมส่ง ในส่วนของรายได้ต่อครอบครัวที่รับไปทำจะมีรายได้ 300-700 บาท ขึ้นอยู่ที่ความขยันด้วย   หากลูกค้าสนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ 089 - 9722465 หรือทางเพจเฟสบุ๊ค ชื่อ กลุ่มจักสานก้านจากบ้านนายอดทอง และชื่อ ติหมาใบจากตรัง หรือสั่งซื่อออนไลน์ผ่านลาซาด้า ช้อปปี้

ยอดส่งออก "ติหมา" ไปจีนพุ่ง

                 ด้านนายโชติพัฒน์ หวังบริสุทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านม.5 ต.วังวน  บอกว่า ชาวตำบลวังวน หมู่บ้านที่ทำยอดจากมากที่สุดก็คือ หมู่ที่ 3 ส่วนม.5 นั้นจะไปนำเศษที่เหลือใช้มาประดิษฐ์มาทำเป็นอาชีพจักสาน หลังจากนี้จะมีการขยายและฝึกงานอาชีพให้แก่ลูกบ้านต่อเนื่องจากที่มีอยู่เดิม จะทำให้มีรายได้สูงมากขึ้น

ยอดส่งออก "ติหมา" ไปจีนพุ่ง

logoline